ธรรม
ธรรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ธรรมนั้นคือความเที่ยงธรรม ยุติธรรม ในหลักธรรมนั้น
พระธรรมในศาสนาพุทธ
แก้ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ไม่มุ่งเน้นความสบาย พระพุทธศาสนาสอนให้มุ่งเน้นในส่วนที่โลกกำลังดำเนินอยู่ เกี่ยวพัน เกี่ยวข้องกับระบบทั้งมวล เราอยู่ในจักรวาล ก็ย่อมดำเนินตามระบบของจักรวาล เราอยู่ในโลกก็ย่อมดำเนินตามระบบของโลก ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือระบบ ทุกอย่างพัวพันกับระบบ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักระบบ และอยู่บนระบบได้อย่างเป็นสุข รู้ทันระบบ ดำเนินอยู่ในระบบได้อย่างเป็นสุข ไม่ระแวงกับระบบ แต่สามารถอยู่ในขณะที่ระบบกำลังกลั่นแกล้งเราได้ อยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างเป็นสุข รู้ทางพ้นจากทุกข์ หรือพ้นจากระบบได้ในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม นี่คือ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาจะพบคำว่า ธรรมและวินัย ควบกันไปเช่นพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า [1]
อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
คำว่า ธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และหลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า คือ[2]
- ธรรมชาติ
- กฎของธรรมชาติ
- หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
- การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ