อำเภอคำเขื่อนแก้ว

อำเภอในจังหวัดยโสธร ประเทศไทย

คำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร

อำเภอคำเขื่อนแก้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kham Khuean Kaeo
พระธาตุกู่จาน สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือพร้อมกับพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม
พระธาตุกู่จาน สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือพร้อมกับพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม
คำขวัญ: 
เมืองโบราณ ธารสองสาย
ไก่รสเด็ด เมล็ดข้าวหอม
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอคำเขื่อนแก้ว
พิกัด: 15°39′11″N 104°18′32″E / 15.65306°N 104.30889°E / 15.65306; 104.30889
ประเทศ ไทย
จังหวัดยโสธร
พื้นที่
 • ทั้งหมด538.25 ตร.กม. (207.82 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด65,703 คน
 • ความหนาแน่น122.07 คน/ตร.กม. (316.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 35110,
35180 (เฉพาะตำบลแคนน้อย ดงแคนใหญ่ นาแก และนาคำ)
รหัสภูมิศาสตร์3504
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ถนนแจ้งสนิท) ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
พระธาตุกู่จาน ปูชนียสถานที่สำคัญเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดยโสธร และภาคอีสานของประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอคำเขื่อนแก้วมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

 
ปราสาทดงเมืองเตย ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทก่ออิฐ ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว

ประวัติ แก้

อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ บ้านลุมพุก เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองลุมพุกใกล้กับวัดบูรพาราม ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ได้รวมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบ้านลุมพุกจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) เป็นนายอำเภอคนแรก

ในปี พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสว่า นามอำเภอในมณฑลอุบลซึ่งเรียกใช้ในราชการอยู่เวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอเหล่านี้ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ซึ่งนำชื่อของเมืองคำเขื่อนแก้วเดิม อยู่ในฐานะการปกครองของเมืองเขมราฐมาตั้งเป็นนามอำเภอ)

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุไทยยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอลุมพุก[2]
  • วันที่ 7 กันยายน 2467 โอนพื้นที่ตำบลหนองหิน อำเภอลุมพุก ไปขึ้นกับอำเภอยโสธร[3]
  • วันที่ 6 ธันวาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 1,3 และ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลย่อ และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลกระจาย อำเภอลุมพุก ไปขึ้นกับตำบลตาดทอง อำเภอยโสธร[4]
  • วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพนทัน ไปขึ้นกับตำบลสงเปือย[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโพนทัน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลลุมพุก ตั้งตำบลทุ่งมน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลกู่จาน ตั้งตำบลนาคำ แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่ และตำบลกู่จาน[6]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[7]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลลุมพุก[8]
  • วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโคกนาโก แยกออกจากตำบลโพธิ์ไทร[9]
  • วันที่ 1 กันยายน 2509 แยกพื้นที่ตำบลโพธิ์ไทร ตำบลโคกนาโก และตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอป่าติ้ว[10] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลป่าติ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพธิ์ไทร[11]
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็น อำเภอป่าติ้ว[12]
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2515 แยกพื้นที่อำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดยโสธร[13]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งตำบลทุ่งมน ตำบลกู่จาน และตำบลดงแคนใหญ่ เป็นสภาตำบลทุ่งมน สภาตำบลกู่จาน และสภาตำบลดงแคนใหญ่[14] ตามลำดับ
  • วันที่ 24 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนาแก แยกออกจากตำบลนาคำ ตั้งตำบลกุดกุง แยกออกจากตำบลสงเปือย[15]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลเหล่าไฮ แยกออกจากตำบลกู่จาน[16]
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแคนน้อย แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่[17]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลดงเจริญ แยกออกจากตำบลโพนทัน[18]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลลุมพุก (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว) สภาตำบลนาแก สภาตำบลทุ่งมน สภาตำบลย่อ สภาตำบลกุดกุง สภาตำบลสงเปือย สภาตำบลดงแคนใหญ่ สภาตำบลเหล่าไฮ สภาตำบลแคนน้อย และสภาตำบลกู่จาน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย องค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน[19]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลโพนทัน สภาตำบลดงเจริญ และสภาตำบลนาคำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ[20]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว เป็น เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว[21] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ เป็น เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่[22]
 
โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นจากความต้องการของชุมชน โดยคณะกรรมการสภาตำบลโพนทัน
 
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นเอกเทศ ชื่อว่า “โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์” ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาล ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2540

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอคำเขื่อนแก้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ลุมพุก (Lumphuk) 15 หมู่บ้าน
2. ย่อ (Yo) 11 หมู่บ้าน
3. สงเปือย (Song Pueai) 09 หมู่บ้าน
4. โพนทัน (Phon Than) 05 หมู่บ้าน
5. ทุ่งมน (Thung Mon) 09 หมู่บ้าน
6. นาคำ (Na Kham) 06 หมู่บ้าน
7. ดงแคนใหญ่ (Dong Khaen Yai) 13 หมู่บ้าน
8. กู่จาน (Ku Chan) 12 หมู่บ้าน
9. นาแก (Na Kae) 08 หมู่บ้าน
10. กุดกุง (Kud Kung) 07 หมู่บ้าน
11. เหล่าไฮ (Lao Hai) 06 หมู่บ้าน
12. แคนน้อย (Khaen Noi) 07 หมู่บ้าน
13. ดงเจริญ (Dong Charoen) 07 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
  • เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงแคนใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก เฉพาะหมู่ที่ 3–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนทันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่จานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าไฮทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเจริญทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2019-11-16. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2456
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลยางเครือ ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลบึงแก ท้องที่อำเภอฟ้าหยาด และตำบลหนองหิน ท้องที่อำเภอลุมพุก ซึ่งโอนไปขึ้นท้องที่อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 83–84. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2314–2315. วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 731. วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2484
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-18. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-66. วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุมและอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอพิชัย จังหวัดอุตตรดิตถ์ กับอำเภอวารินชำราบ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอพิบูลมังษาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3038–3051. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2501
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2509
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป่าติ้ว กิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (125 ง): 3324–3325. วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510
  12. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอสมเด็จ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอดอนตูม อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอป่าติ้ว พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ก): 225–228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
  13. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (21 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอป่าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (117 ง): 3580–3589. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2521
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (108 ง): 2257–2259. วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2855–2859. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 46-48. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  21. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-21 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  22. "เปลี่ยนฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ เป็น เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555