ตำบลรุ่งระวี

ตำบลในอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

รุ่งระวี เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ตั้งของสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี และยังเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พบป่าสนสองใบ

ตำบลรุ่งระวี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rung Rawi
สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี
สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบแหล่งสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี
ประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอน้ำเกลี้ยง
พื้นที่
 • ทั้งหมด37.58 ตร.กม. (14.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด8,312 คน
 • ความหนาแน่น221.18 คน/ตร.กม. (572.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33130
รหัสภูมิศาสตร์331505
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี
อบต.รุ่งระวีตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
อบต.รุ่งระวี
อบต.รุ่งระวี
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี
พิกัด: 14°53′07.6″N 104°31′28.8″E / 14.885444°N 104.524667°E / 14.885444; 104.524667
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอน้ำเกลี้ยง
พื้นที่
 • ทั้งหมด37.58 ตร.กม. (14.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด8,312 คน
 • ความหนาแน่น221.18 คน/ตร.กม. (572.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06331506
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ที่ 12 ตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ 33130
เว็บไซต์rungravee.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
แท่งน้ำประปาหมู่บ้านโนนโพธิ์ (เดิม) ซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาที่ใช้อุปโภค-บริโภคของชาวบ้านที่สำคัญของหมู่บ้านโนนโพธิ์ ตำบลรุ่งระวี

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลรุ่งระวี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ แก้

เดิมพื้นที่ "รุ่งระวี" เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีเดียวกัน โดยในขณะนั้นรุ่งระวียังมีฐานะเป็นหมู่บ้านหนึ่งในท้องที่ตำบลละเอาะ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จึงได้แยกตัวเป็นตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง โดยรวมเอาหมู่บ้านของตำบลเขินและตำบลละเอาะ ตั้งเป็นตำบลรุ่งระวี[3] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 และมีผลในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกันชื่อตำบลรุ่งระวีได้มาโดยมีปลัดในสมัยนั้นชื่อนายอุดม ได้เสนอชื่อเพื่อเลือก 3 ชื่อ ดังนี้

  • "สวนป่า" เนื่องจากพื้นที่มีป่าสงวนแห่งชาติป่าสนละเอาะ ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
  • "ลำระวี" ซึ่งเป็นลำห้วยธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่ มีต้นกำเนิดอยู่ที่เขตตำบลไพร อำเภอขุนหาญ
  • "รุ่งระวี" โดยใช่ชื่อหมู่บ้านรุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลละเอาะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ มารวมกับชื่อลำห้วยในพื้นที่ กลายเป็นชื่อมงคลนาม และคนในพื้นที่ซึ่งนิยมเรียกชื่อหมู่บ้านรุ่งที่อยู่ติดห้วยระวีว่า "บ้านรุ่งระวี"

และได้ร่วมกันลงมติตั้งชื่อตำบลว่า "ตำบลรุ่งระวี" และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ขึ้นเป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[4] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้ตำบลรุ่งระวี กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ เข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันเป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอน้ำเกลี้ยง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

ตำบลรุ่งระวีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านสบายใต้ (Ban Sabai Tai) หมู่ 14 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน0
หมู่ 2 บ้านสบาย (Ban Sabai) หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน0
หมู่ 3 บ้านสบาย (Ban Sabai) หมู่ 3 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน
หมู่ 4 บ้านโนนงาม (Ban Non Ngam) หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ0
หมู่ 5 บ้านหนองพะแนง (Ban Nong Phanaeng) หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ
หมู่ 6 บ้านรุ่ง (Ban Rung) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ
หมู่ 7 บ้านหนองระไง (Ban Nong Ra-ngai) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน
หมู่ 8 บ้านหนองแคน (Ban Nong Khaen) หมู่ 12 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน
หมู่ 9 บ้านหนองแลง (Ban Nong Laeng) หมู่ 13 (เดิม) โอนมาจากตำบลเขิน
หมู่ 10 บ้านโนนโพธิ์ (Ban Non Pho) หมู่ 11 (เดิม) โอนมาจากตำบลละเอาะ
หมู่ 11 บ้านโนนไชยงาม (Ban Non Chai-ngam) -
หมู่ 12 บ้านหนองสบาย (Ban Nong Sabai) -
หมู่ 13 บ้านกลาง (Ban Klang) -
หมู่ 14 บ้านสบายเหนือ (Ban Sabai Nuea) -
หมู่ 15 บ้านรุ่งเหนือ (Ban Rung Nuea) -

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่ตำบลรุ่งระวี มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรุ่งระวีทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลรุ่งระวี ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2533[3] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวีในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[5] จนถึงปัจจุบัน

 
บริเวณสามแยกหมู่บ้านสบาย ตำบลรุ่งระวี ซึ่งเป็นทางแยกไปตัวอำเภอน้ำเกลี้ยง รวมถึงอำเภอกันทรารมย์ อำเภอศรีรัตนะ และอำเภอเบญจลักษ์

ประชากร แก้

พื้นที่ตำบลรุ่งระวีประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 15 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,312 คน แบ่งเป็นชาย 4,212 คน หญิง 4,100 คน (เดือนธันวาคม 2564)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในอำเภอน้ำเกลี้ยง

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2564[6] พ.ศ. 2563 [7] พ.ศ. 2562[8] พ.ศ. 2561[9] พ.ศ. 2560[10] พ.ศ. 2559[11] พ.ศ. 2558[12]
หนองพะแนง 1,135 1,128 1,114 1,108 1,111 1,103 1,094
รุ่งเหนือ 846 827 832 819 820 809 796
หนองแคน 697 683 681 699 687 691 688
สบาย (หมู่ 2) 692 680 684 673 669 666 675
รุ่ง 608 611 618 622 615 615 608
หนองสบาย 590 588 591 579 586 589 573
สบายเหนือ 571 584 588 590 592 580 579
หนองแลง 562 553 546 543 542 539 526
โนนงาม 535 535 541 529 527 514 507
หนองระไง 503 505 505 502 505 505 499
โนนไชยงาม 464 462 454 456 451 455 448
สบายใต้ 356 361 361 369 380 380 389
โนนโพธิ์ 285 288 288 290 287 284 284
กลาง 244 243 242 240 240 238 235
สบาย (หมู่ 3) 224 226 229 228 232 231 232
รวม 8,312 8,274 8,274 8,247 8,244 8,199 8,133

สถานที่สำคัญ แก้

สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา แก้

 
ต้นสนสองใบอยู่ภายในพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ตำบลรุ่งระวี ซึ่งเป็นป่าสนที่มีอายุมากกว่า 200 ปี

ตั้งอยู่ที่พื้นที่หมู่ 5 บ้านหนองพะแนง ตำบลรุ่งระวี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสนละเอาะ สังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) สำนักการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับหน่วยป้องกันรักษาที่ ศก.5 (ห้วยขะยุง - หนองม่วง) เป็นป่าสนสองใบบริเวณที่ราบผืนสุดท้ายของจังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่รับผิดชอบ 800 ไร่ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม[13] ปีเดียวกัน

ต่อมาได้มีประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 423 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้ยกพื้นที่ป่าสน ในท้องที่ ตำบลละเอาะ ตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลตูม ตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม[14] ปีเดียวกัน เนื่องจากป่าแห่งนี้มีไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้พะยอม ไม้ประดู่ ไม้พะยุง ไม้ตะเคียน ไม้สน และไม้ชนิดอื่นซึ่งมีค่าจำนวนมาก และมีของป่ากับทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย สมควรกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้

การเดินทางไปสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทานี้ สามารถเดินทางจากจังหวัดศรีสะเกษ ไปตามทางหลวงหมายเลข 221 จังหวัดศรีสะเกษ ไปอำเภอกันทรลักษ์ ตรงกิโลเมตรที่ 28 - 29 ก็จะถึงสถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ถนนหลวงจะผ่านพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา ที่ทำการสถานีห่างจากถนนใหญ่เพียง 200 เมตรเท่านั้น ปัจจุบันมีเส้นทางเดินชมพื้นที่ป่าสนสองใบที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ มีข้อมูลของพันธุ์ไม้ต่างๆ ให้ศึกษา และมีสวนสาธารณะเจริญจิต ตั้งอยู่ภายในพื้นที่สถานีวนวัฒนวิจัยห้วยทา

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเขตตำบลรุ่งระวี เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23. วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 75-79. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 164–165. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-02-19. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  6. 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  13. "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าสน ในท้องที่ตำบลตำแย ตำบลละเอาะ และตำบลน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตูมและตำบลศรีแก้ว อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๔๙๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (72 ก): 802–804. วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491
  14. "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๒๓ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าในท้องที่ตำบลสนละเอาะ ในท้องที่ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลละเอาะ อำเภอกันทรารมย์ ตำบลตำแย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และตำบลศรีแก้ว ตำบลตูม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (46 ก): 539–540. วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2512