วงศ์เต่านา
วงศ์เต่านา | |
---|---|
เต่าหับ (Cuora amboinensis) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์นี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Testudines |
อันดับย่อย: | Cryptodira |
วงศ์ใหญ่: | Testudinoidea |
วงศ์: | Geoemydidae Theobald, 1868 |
สกุล & ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์เต่านา (อังกฤษ: Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae[1]) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี
เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้
เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น
โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง[2][3]
การจำแนก
แก้- วงศ์ย่อย Geoemydinae[1]
- สกุล Batagur (6 ชนิด, รวมถึงสกุล Kachuga)
- สกุล Cuora, เต่าหับเอเชีย (10 ชนิด) (รวมถึงสกุล Cistoclemmys)
- สกุล Cyclemys (7 ชนิด)
- สกุล Geoclemys (มีเพียงชนิดเดียว)
- สกุล Geoemyda (2 ชนิด)
- สกุล Hardella (มีเพียงชนิดเดียว)
- สกุล Heosemys, เต่าป่า, เต่าบึง (อดีตจัดอยู่ในสกุล Geoemyda)
- สกุล Leucocephalon (อดีตจัดอยู่ในสกุล Geoemyda และ Heosemys)
- สกุล Malayemys, เต่านา (2 ชนิด)
- สกุล Mauremys, เต่าบึง (รวมถึงสกุล Annamemys, Cathaiemys และ Emmenia)
- สกุล Melanochelys (2 ชนิด)
- สกุล Morenia (2 ชนิด)
- สกุล Notochelys (ชนิดเดียว)
- สกุล Orlitia (ชนิดเดียว)
- สกุล Pangshura (4 ชนิด) (อดีตจัดอยู่ในสกุล Kachuga)
- สกุล Sacalia, เต่าตา
- สกุล Siebenrockiella (2 ชนิด, 1 สกุลย่อย Panyaenemys, อดีตจัดอยู่ในสกุล Heosemys)
- สกุล Vijayachelys, เต่าอ้อย (อดีตจัดอยู่ในสกุล Geoemyda และ Heosemys)
- วงศ์ย่อย Rhinoclemmydinae
- สกุล Rhinoclemmys, เต่าป่านีโอทรอปิคอล
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Turtle Taxonomy Working Group [van Dijk , P.P., Iverson, J.B., Shaffer, H.B., Bour, R., and Rhodin, A.G.J.]. 2012. Turtles of the world, 2012 update: annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution, and conservation status. Chelonian Research Monographs No. 5, pp. 000.243–000.328, doi:10.3854/crm.5.000.checklist.v5.2012, [1].
- ↑ วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 363-364 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ จากเว็บไซต์ บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ