อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน (อังกฤษ: Precambrian supereon หรือ อังกฤษ: Pre-Cambrian supereon อักษรย่อ pꞒ) หรือ คริปโตโซอิก (อังกฤษ: Cryptozoic) เป็นส่วนแรกสุดของประวัติของโลก ซึ่งเกิดอยู่ก่อนหน้าบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอภิมหาบรมยุคนี้ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากอยู่ก่อนหน้ายุคแคมเบรียน ซึ่งเป็นยุคแรกของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งตั้งตามแคมเบรีย (Cambria) ซึ่งเป็นชื่อแบบละตินของเวลส์ ที่ซึ่งหินจากยุคนี้ถูกนำมาศึกษาเป็นครั้งแรก โดยอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนคิดเป็นประมาณร้อยละ 88 ของธรณีกาลของโลก

อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน
~4600 – 541.0 ± 1.0 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
การเสนอการแบ่งย่อยดูที่ การเสนอเส้นเวลาของพรีแคมเบรียน
นิรุกติศาสตร์
ชื่อพ้องคริปโตโซอิก
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาอภิมหาบรมยุค
หน่วยลำดับชั้นหินอภิมหาบรมยุค
ความเป็นทางการของช่วงกาลไม่เป็นทางการ
คำนิยามขอบล่างการก่อกำเนิดโลก
ขอบล่าง GSSPN/A
การอนุมัติ GSSPN/A
คำนิยามขอบบนการปรากฏของซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย Treptichnus pedum
ขอบบน GSSPแหล่งฟอร์จูนเฮด รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ประเทศแคนาดา
47°04′34″N 55°49′52″W / 47.0762°N 55.8310°W / 47.0762; -55.8310
การอนุมัติ GSSP1992

อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนเป็นหน่วยอย่างไม่เป็นทางการของธรณีกาล[1] แบ่งออกเป็นสามบรมยุค ได้แก่ บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ของธรณีกาล โดยช่วงของยุคนี้นั้นคือตั้งแต่กำเนิดโลกเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อนจนถึงเริ่มต้นยุคแคมเบรียนเมื่อประมาณ 541 ล้านปีก่อน เมื่อสัตว์เปลือกแข็งปรากฏขึ้นครั้งแรกอย่างแพร่หลาย

ภาพรวม

แก้

อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนนั้นไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แม้ว่าจะกินเวลาของประวัติของโลกกว่าเจ็ดในแปด โดยสิ่งที่เกี่ยวกับยุคนี้ที่รู้จักกันดีส่วนใหญ่ถูกค้นพบตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา สำหรับบันทึกซากดึกดำบรรพ์ของอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนนั้นแย่กว่าบรมยุคฟาเนอโรโซอิกที่อยู่ถัดขึ้นมา และซากดึกดำบรรพ์จากอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน (เช่น สโตรมาโตไลต์) นั้นสามารถใช้งานทางการลำดับชั้นหินตามชีวภาพได้อย่างจำกัด[2] ทั้งนี้ เนื่องจากหินของอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนจำนวนมากนั้นถูกแปรสภาพอย่างหนักหน่วง โดยทำให้บดบังต้นกำเนิดของหินเหล่านั้น ขณะที่หินอื่น ๆ ถูกทำลายโดยการกร่อน หรือถูกฝังไว้อยู่ใต้ชั้นหินของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก[2][3][4]

มีแนวความคิดว่าโลกนั้นรวมตัวกันขึ้นจากวัตถุในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เมื่อประมาณ 4,543 ล้านปีก่อน และอาจถูกดาวเคราะห์อีกดวงนามว่า เทียอา ไม่นานนักหลังจากการก่อตัวพุ่งชน แยกวัตถุออกไปจากโลกไปกำเนิดเป็นดวงจันทร์ (ดู สมมุติฐานการชนครั้งใหญ่) ขณะที่เปลือกโลกที่เสถียรแล้วนั้นอยู่ที่ 4,433 ล้านปีก่อน เนื่องจากผลึกเพทายจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียถูกกำหนดได้ 4,404 ± 8 ล้านปีก่อน[5][6]

คำว่า "พรีแคมเบรียน" ถูกใช้โดยนักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาสำหรับการอภิปรายโดยทั่วไปที่ไม่ต้องการชื่อบรมยุคที่เจาะจง อย่างไรก็ตาม ทั้งสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐ (USGS)[7] และคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) ถือว่าคำนี้นั้นไม่เป็นทางการ[8] เนื่องจากช่วงยุคที่อยู่ภายในพรีแคมเบรียนนั้นประกอบด้วยสามบรมยุค (ได้แก่ บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก) บางครั้งจึงถูกกล่าวถึงเป็น อภิมหาบรมยุค (supereon)[9][10] แต่ศัพท์นี้ก็ถือว่าไม่เป็นทางด้วย เนื่องจากไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในคู่มือการลำดับชั้นหินตามอายุกาลของคณะกรรมมาธิการการลำดับชั้นหินสากล[11]

คำว่า อีโอโซอิก (Eozoic; มาจากคำว่า eo- หมายความว่า แรกสุด) นั้นเป็นคำพ้องกับคำว่า พรี-แคมเบรียน[12][13] หรือโดยเจาะจงยิ่งขึ้น คือ อาร์เคียน[14]

รูปแบบสิ่งมีชีวิต

แก้

วันที่มีการกำเนิดชีวิตขึ้นนั้นยังไม่มีการกำหนดขึ้น โดยคาร์บอนที่ถูกพบในหินอายุ 3.8 พันล้านปี (บรมยุคอาร์เคียน) จากเกาะบริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันตกของกรีนแลนด์นั้นอาจเป็นจุดกำเนิดของอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากของแบคทีเรียอายุเก่ากว่า 3.46 พันล้านปีที่อยู่ในสภาพถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย[15] โดยยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่คาดว่าน่าจะมีอายุมากกว่า 100 ล้านปีในพื้นที่เดียนกันด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานแสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถวิวัฒนาการได้มามากกว่า 4.280 พันล้านปีก่อนแล้ว[16][17][18][19] ซึ่งประวัติชีวิตของแบคทีเรียนั้นค่อนข้างชัดเจนในตลอดส่วนที่เหลือ (บรมยุคโพรเทอโรโซอิก) ของอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีความซับซ้อนอาจปรากฏขึ้นได้เร็วที่สุดถึง 2,100 ล้านปีก่อน[20] อย่างไรก็ตาม การตีความซากดึกดำบรรพ์โบราณนั้นเป็นปัญหา และ "...คำจำกัดความบางประการของการมีหลายเซลล์ (multicellularity) นั้นครอบคลุมซึ่งทุกสิ่งตั้งแต่แบคทีเรียธรรมดาพื้นฐานไปจนถึงตัวแบดเจอร์"[21] สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ซับซ้อนที่เป็นไปได้อื่นในช่วงต้นนั้น ได้แก่ สาหร่ายสีแดงอายุ 2,450 ล้านปีจากคาบสมุทรโคลา[22] สัญญาณบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตเนื้อสารอินทรีย์ (carbonaceous biosignatures) อายุ 1,650 ล้านปีจากตอนเหนือของประเทศจีน[23] ราฟาทาซเมียอายุ 1,600 ล้านปี[24] และสาหร่ายสีแดงแบงจิโอมาร์ฟาอายุ 1,047 ล้านปีที่เป็นไปได้จากภูมิภาคอาร์คติกแคนาดา[25] โดยซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ซับซ้อนนั้นถูกกำหนดอายุในยุคอีดีแอคารัน[26][27] และยังมีการพบลักษณะสิ่งมีชีวิตที่มีตัวอ่อนนุ่มหลากหลายในหลายสถานที่ทั่วโลก และมีอายุอยู่ระหว่าง 635 ถึง 542 ล้านปี โดยสิ่งเหล่านี้เรียกรวมว่า ชีวชาติยุคอีดีแอคารันหรือเวนเดียน ซึ่งสิ่งมีชีวิตมีเปลือกแข็งได้ปรากฏตัวขึ้นเมื่อสิ้นสุดช่วงกาลดังกล่าว ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ในช่วงกลางของยุคถัดจากแคมเบรียน สัตวชาติต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายนั้นถูกบันทึกอยู่ในหินดินดานเบอร์เจส รวมถึงบางประการซึ่งอาจเป็นตัวแทนของกลุ่มต้นสายของลำดับสมัยใหม่ (modern taxa) โดยความหลากหลายของรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นยุคแคมเบรียนนั้น เรียกว่า การระเบิดของสิ่งมีชีวิตชีวิตยุคแคมเบรียน[28][29]

ในขณะที่แผ่นดินนั้นดูเหมือนจะไร้ซึ่งพืชและสัตว์ ไซยาโนแบคทีเรียและจุลชีพอื่น ๆ นั้นได้ก่อตัวเป็นเสื่อโพรแคริโอตขึ้นปกคลุมพื้นที่บนบก[30]

และยังมีการพบร่องรอยของสัตว์ที่มีอวัยวะคล้ายขาในโคลนเมื่อ 551 ล้านปีก่อน[31][32]

สภาพแวดล้อมของดาวเคราะห์และมหันตภัยออกซิเจน

แก้
 
หินละลายรูปหมอนที่ผุกร่อนในอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนในเข็มขัดกรีนสโตนเทมากามีของหินฐานทวีปแคนาดา

หลักฐานที่ละเอียดของการเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีและกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานอื่น ๆ ในอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนนั้นถูกเก็บรักษาไว้ได้อย่างไม่ดีนัก โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่าทวีปก่อนเกิด (proto-continents) ขนาดเล็กนั้นปรากฏขึ้นก่อน 4,280 ล้านปีก่อน และแผ่นดินส่วนใหญ่ของโลกได้รวมเข้าด้วยกันเป็นมหาทวีปเดียวเมื่อประมาณ 1,130 ล้านปีก่อน มหาทวีปดังกล่าว เรียกว่า มหาทวีปโรดีเนีย และได้แตกออกจากกันราว 750 ล้านปีก่อน มีการระบุยุคธารน้ำแข็งจำนวนหนึ่งขึ้น ซึ่งย้อนไปได้ถึงสมัยฮูโรเนียนในราว ๆ 2,400–2,100 ล้านปีก่อน โดยหนึ่งในการศึกษาที่ดีที่สุด คือ การเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งสเตอร์เชียน-วารานเจียนประมาณ 850–635 ล้านปีก่อน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะธารน้ำแข็งทุกหนทุกแห่งมาจนถึงเส้นศูนย์สูตร เป็นผลให้เกิด "ปรากฏการณ์โลกก้อนหิมะ"

ชั้นบรรยากาศของโลกในยุคเริ่มแรกนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่าชั้นบรรยากาศขณะนั้น ประกอบด้วย ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สเฉื่อยอื่น ๆ เป็นหลัก และยังไร้ซึ่งออกซิเจนอิสระ อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานว่าชั้นบรรยากาศที่อุดมไปด้วยออกซิเจนนั้นปรากฏมาตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของบรมยุคอาร์เคียนแล้ว[33]

ในปัจจุบัน ยังคงเชื่อกันว่าโมเลกุลของออกซิเจน นั้นไม่ใช่ส่วนสำคัญของชั้นบรรยากาศโลก จนกระทั่งภายหลังจากสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ด้วยแสงได้วิวัฒนาการขึ้น และได้ผลิตออกซิเจนออกมาในปริมาณมากซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึม การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนี้คือจากชั้นบรรยากาศซึ่งเฉื่อยทางเคมีไปสู่การออกซิไดซ์ ทำให้เกิดวิกฤตทางนิเวศวิทยาขึ้น ในบางครั้งเรียกกันว่า เหตุการณ์มหันตภัยออกซิเจน โดยในตอนแรก ออกซิเจนจะรวมตัวกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในเปลือกโลกอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กโดยเป็นนำออกจากชั้นบรรยากาศโลก หลังจากแหล่งออกซิเดชันบนพื้นผิวได้หมดลง ออกซิเจนก็เริ่มเกิดการสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ และบรรยากาศที่มีออกซิเจนเป็นปริมาณมากในปัจจุบันก็ได้พัฒนาขึ้น โดยหลักฐานนี้ปรากฏอยู่ในหินเก่าซึ่งมีการก่อตัวขึ้นของแถบเหล็กขนาดใหญ่ที่มีการวางตัวเป็นเหล็กออกไซด์

การแบ่งย่อย

แก้

ศัพทวิทยาได้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อครอบคลุมในช่วงปีเริ่มแรกที่โลกเกิดขึ้น โดยการหาอายุจากการวัดสมบูรณ์ทำให้สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับรูปแบบและลักษณะเฉพาะ[34] โดยอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนถูกแบ่งย่อยออกเป็นสามบรมยุค ได้แก่ บรมยุคเฮเดียน (4,600–4,000 ล้านปีก่อน) บรมยุคอาร์เคียน (4,000–2,500 ล้านปีก่อน) และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก (2,500–541 ล้านปีก่อน) (ดูที่ เส้นเวลาของอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน)

  • บรมยุคโพรเทอโรโซอิก บรมยุคนี้เป็นช่วงเวลาจากขอบล่างของยุคแคมเบรียนเมื่อ 541 ล้านปีก่อน ย้อนกลับไปถึง 2,500 ล้านปีก่อน แรกเริ่มถูกใช้เป็นชื่อพ้องสำหรับชื่อ "พรีแคมเบรียน" ด้วยเหตุนี้จึงหมายรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ก่อนหน้ายุคแคมเบรียน โดยบรมยุคโพรเทอโรโซอิกแบ่งออกเป็นสามมหายุค ได้แก่ มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก และ มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก
    • มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก เป็นมหายุคทางธรณีกาลที่อายุน้อยที่สุดของบรมยุคโพรเทอโรโซอิก เริ่มต้นจากขอบล่างของยุคแคมเบรียน (541 ล้านปีก่อน) ย้อนลงไปถึง 1,000 ล้านปีก่อน โดยมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิกนั้นสอดคล้องกับหินพรีแคมเบรียนซี (Precambrian Z) ของการลำดับชั้นหินอเมริกาเหนือเดิม
      • ยุคอีดีแอคารัน เป็นยุคทางธรณีกาลที่อายุน้อยที่สุดในมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก โดยใน "ธรณีกาลฉบับปี 2555" นั้นระบุว่ามีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 541 ถึง 635 ล้านปีก่อน ในยุคนี้นั้นชีวชาติยุคอีดีแอคารันได้ปรากฏขึ้น
      • ยุคไครโอเจเนียน เป็นยุคที่อยู่ตอนกลางในมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก มีช่วงอายุระหว่าง 635 ถึง 720 ล้านปีก่อน
      • ยุคโทเนียน เป็นยุคแรกสุดของมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก มีช่วงอายุระหว่าง 720 ถึง 1,000 ล้านปีก่อน
    • มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก เป็นมหายุคที่อยู่ตอนกลางของบรมยุคโพรเทอโรโซอิก มีช่วงอายุระหว่าง 1,000 ถึง 1,600 ล้านปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหินพรีแคมเบรียนวาย (Precambrian Y) ของการลำดับชั้นหินอเมริกาเหนือเดิม
    • มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก เป็นมหายุคที่เก่าที่สุดของบรมยุคโพรเทอโรโซอิก มีช่วงอายุระหว่าง 1,600 ถึง 2,500 ล้านปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหินพรีแคมเบรียนเอ็กซ์ (Precambrian X) ของการลำดับชั้นหินอเมริกาเหนือเดิม
  • บรมยุคอาร์เคียน มีช่วงอายุระหว่าง 2,500 ถึง 4,000 ล้านปีก่อน
  • บรมยุคเฮเดียน มีช่วงอายุระหว่าง 4,000 ถึง 4,600 ล้านปีก่อน โดยคำนี้มีจุดประสงค์แรกเริ่มเพื่อให้ครอบคลุมช่วงเวลาก่อนที่หินใด ๆ จะถูกเก็บรักษาอยู่รอดมาได้ แม้ว่าจะมีผลึกเพทายบางส่วนจากช่วงอายุประมาณ 4,400 ล้านปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของเปลือกโลกในบรมยุคเฮเดียน ส่วนบันทึกอื่น ๆ จากช่วงเวลาในบรมยุคเฮเดียนนั้นมาจากดวงจันทร์และอุกกาบาต[35][36]

มีการเสนอกันว่าอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน ควรถูกแบ่งออกเป็นบรมยุคและสมัยต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงขั้นตอนของการวิวัฒนาการของดาวเคราะห์โลก มากกว่าที่จะแบ่งกันเช่นปัจจุบันซึ่งขึ้นกับอายุเชิงตัวเลข ระบบดังกล่าวนี้สามารถอาศัยเหตุการณ์ในบันทึกการลำดับชั้นหินและอาศัยการกำหนดโดยจุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก (GSSP) โดยอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 บรมยุค "ตามธรรมชาติ" โดยมีลักษณะดังนี้[37]

  1. บรมยุคการพอกสะสมและการเปลี่ยนสภาพ (Accretion and differentiation) เป็นยุคตั้งแต่การก่อกำเนิดดาวเคราะห์ไปจนถึงเหตุการณ์การชนครั้งใหญ่ที่ก่อให้เกิดดวงจันทร์
  2. บรมยุคเฮเดียน (Hadean) เป็นยุคที่เต็มไปด้วยการระดมชนหนักจากประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน (อาจรวมถึงช่วงยุคการเย็นตัวช่วงแรกของโลกด้วย) ไปจนถึงสิ้นสุดยุคการระดมชนหนักครั้งหลัง
  3. บรมยุคอาร์เคียน (Archean) เป็นยุคที่กำหนดขึ้นโดยการก่อตัวขึ้นของเปลือกโลกชั้นแรก (เข็มขัดกรีนสโตนอีซัว) ไปจนถึงการสะสมตัวของการเกิดแถบเหล็กเนื่องจากปริมาณออกซิเจนในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น
  4. บรมยุคเปลี่ยนผ่าน (Transition) เป็นยุคที่มีการเกิดแถบเหล็กอย่างต่อเนื่องไปจนถึงชั้นหินแดงทวีปแรก
  5. บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) เป็นยุคของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคยุคใหม่ไปจนถึงสัตว์ตัวแรก

มหาทวีปพรีแคมเบรียน

แก้
 
แผนที่ของมหาทวีปเคนอร์แลนด์เมื่อ 2.5 พันล้านปีก่อน
 
แผนที่ของมหาทวีปเคนอร์แลนด์ที่แตกออกเมื่อ 2.3 พันล้านปีก่อน
 
มหาทวีปโคลัมเบียเมื่อประมาณ 1.6 พันล้านปีก่อน
 
ตำแหน่งของแผ่นดินใกล้กับจุดสิ้นสุดของอภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน

การเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาคของโลก ทำให้เกิดการก่อตัวและการแตกออกของทวีปเมื่อเวลาผ่านไป รวมไปถึง การก่อตัวเป็นมหาทวีปซึ่งรวมเอาแผ่นดินทั้งหมดไว้ด้วย มหาทวีปแรกสุดที่รู้จัก คือ วาลบารา โดยก่อตัวขึ้นจากทวีปก่อนเกิดและกลายเป็นมหาทวีปเมื่อ 3.636 พันล้านปีก่อน วาลบาราแตกออกจากกันเมื่อประมาณ 2.845 ถึง 2.803 พันล้านปีก่อน มหาทวีปเคนอร์แลนด์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 2.72 พันล้านปีก่อนและแตกออกในบางช่วงก่อน 2.45–2.1 พันล้านปีก่อนเป็นหินฐานธรณีทวีปก่อนเกิด เรียกว่า ลอเรนเชีย บอลติกา ยิลการ์น และ คาลาฮารี มหาทวีปโคลัมเบียหรือนูนา ก่อตัวขึ้นเมื่อ 2.1–1.8 พันล้านปีก่อนและแตกออกเมื่อประมาณ 1.3–1.2 พันล้านปีก่อน[38][39] มหาทวีปโรดิเนีย คาดกันว่าก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 1,300 ถึง 900 ล้านปีก่อน โดยได้รวบรวมทวีปส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของโลกไว้ และแยกออกเป็นแปดทวีปเมื่อราว 750 ถึง 600 ล้านปีก่อน[40]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Gradstein, F.M.; Ogg, J.G.; Schmitz, M.D.; Ogg, G.M., บ.ก. (2012). The Geologic Timescale 2012. Vol. 1. Elsevier. p. 301. ISBN 978-0-44-459390-0.
  2. 2.0 2.1 Monroe, James S.; Wicander, Reed (1997). The Changing Earth: Exploring Geology and Evolution (2nd ed.). Belmont: Wadsworth Publishing Company. p. 492. ISBN 9781285981383.
  3. Levin, Harold L. (2010). The earth through time (9th ed.). Hoboken, N.J.: J. Wiley. pp. 230–233. ISBN 978-0470387740. Outlined in Gore, Pamela J.W. (25 October 2005). "The Earliest Earth: 2,100,000,000 years of the Archean Eon".
  4. Davis, C.M. (1964). "The Precambrian Era". Readings in the Geography of Michigan. Michigan State University.
  5. "Zircons are Forever". Department of Geoscience. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-18. สืบค้นเมื่อ 28 April 2007.
  6. Cavosie, Aaron J.; Valley, John W.; Wilde, Simon A. (2007). "Chapter 2.5 The Oldest Terrestrial Mineral Record: A Review of 4400 to 4000 Ma Detrital Zircons from Jack Hills, Western Australia". Developments in Precambrian Geology. 15: 91–111. doi:10.1016/S0166-2635(07)15025-8. ISBN 9780444528100.
  7. U.S. Geological Survey Geologic Names Committee (2010), "Divisions of geologic time – major chronostratigraphic and geochronologic units", U.S. Geological Survey Fact Sheet 2010–3059, United States Geological Survey, p. 2, สืบค้นเมื่อ 20 June 2018
  8. Fan, Junxuan; Hou, Xudong (February 2017). "Chart". International Commission on Stratigraphy. International Chronostratigraphic Chart. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
  9. Senter, Phil (1 April 2013). "The Age of the Earth & Its Importance to Biology". The American Biology Teacher. 75 (4): 251–256. doi:10.1525/abt.2013.75.4.5. S2CID 85652369.
  10. Kamp, Ulrich (6 March 2017). "Glaciations". International Encyclopedia of Geography: People, the Earth, Environment and Technology: 1–8. doi:10.1002/9781118786352.wbieg0612. ISBN 9780470659632.
  11. "Stratigraphic Guide". International Commission on Stratigraphy. Table 3. สืบค้นเมื่อ 9 December 2020.{{cite web}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  12. Hitchcock, C. H. (1874). The Geology of New Hampshire. p. 511. The name Eozoic seems to have been proposed by Dr. J.W. Dawson, of Montreal, in 1865. He did not fully define the limits of its application at that time; but it seems to have been generally understood by geologists to embrace all the obscurely fossiliferous rocks older than the Cambrian.
  13. Bulletin. Vol. 767. U.S. Government Printing Office. 1925. p. 3. [1888] Sir J. W. Dawson prefers the term “Eozoic” [to Archean], and would have it include all the Pre-Cambrian strata.
  14. Salop, L.J. (2012). Geological Evolution of the Earth During the Precambrian. Springer. p. 9. ISBN 978-3-642-68684-9. a possibility of dividing the Precambrian history into two eons: the Eozoic, embracing the Archean Era only, and the Protozoic, comprising all the remaining Precambrian Eras.
  15. Brun, Yves; Shimkets, Lawrence J. (January 2000). Prokaryotic development. ASM Press. p. 114. ISBN 978-1-55581-158-7.
  16. Dodd, Matthew S.; Papineau, Dominic; Grenne, Tor; slack, John F.; Rittner, Martin; Pirajno, Franco; O'Neil, Jonathan; Little, Crispin T. S. (2 March 2017). "Evidence for early life in Earth's oldest hydrothermal vent precipitates". Nature. 543 (7643): 60–64. Bibcode:2017Natur.543...60D. doi:10.1038/nature21377. PMID 28252057.
  17. Zimmer, Carl (1 March 2017). "Scientists Say Canadian Bacteria Fossils May Be Earth's Oldest". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.
  18. Ghosh, Pallab (1 March 2017). "Earliest evidence of life on Earth 'found'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.
  19. Dunham, Will (1 March 2017). "Canadian bacteria-like fossils called oldest evidence of life". Reuters. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
  20. Albani, Abderrazak El; Bengtson, Stefan; Canfield, Donald E.; Bekker, Andrey; Macchiarelli, Roberto; Mazurier, Arnaud; Hammarlund, Emma U.; Boulvais, Philippe; Dupuy, Jean-Jacques; Fontaine, Claude; Fürsich, Franz T.; Gauthier-Lafaye, François; Janvier, Philippe; Javaux, Emmanuelle; Ossa, Frantz Ossa; Pierson-Wickmann, Anne-Catherine; Riboulleau, Armelle; Sardini, Paul; Vachard, Daniel; Whitehouse, Martin; Meunier, Alain (July 2010). "Large colonial organisms with coordinated growth in oxygenated environments 2.1 Gyr ago". Nature. 466 (7302): 100–104. Bibcode:2010Natur.466..100A. doi:10.1038/nature09166. PMID 20596019. S2CID 4331375.
  21. Donoghue, Philip C. J.; Antcliffe, Jonathan B. (July 2010). "Origins of multicellularity". Nature. 466 (7302): 41–42. doi:10.1038/466041a. PMID 20596008. S2CID 4396466.
  22. Rozanov, A. Yu.; Astafieva, M. M. (1 March 2013). "A unique find of the earliest multicellular algae in the Lower Proterozoic (2.45 Ga) of the Kola Peninsula". Doklady Biological Sciences. 449 (1): 96–98. doi:10.1134/S0012496613020051. PMID 23652437. S2CID 15774804.
  23. Qu, Yuangao; Zhu, Shixing; Whitehouse, Martin; Engdahl, Anders; McLoughlin, Nicola (1 January 2018). "Carbonaceous biosignatures of the earliest putative macroscopic multicellular eukaryotes from 1630 Ma Tuanshanzi Formation, north China". Precambrian Research. 304: 99–109. doi:10.1016/j.precamres.2017.11.004.
  24. Bengtson, Stefan; Sallstedt, Therese; Belivanova, Veneta; Whitehouse, Martin (14 March 2017). "Three-dimensional preservation of cellular and subcellular structures suggests 1.6 billion-year-old crown-group red algae". PLOS Biology. 15 (3): e2000735. doi:10.1371/journal.pbio.2000735. PMC 5349422. PMID 28291791.
  25. Gibson, Timothy M; Shih, Patrick M; Cumming, Vivien M; Fischer, Woodward W; Crockford, Peter W; Hodgskiss, Malcolm S.W; Wörndle, Sarah; Creaser, Robert A; Rainbird, Robert H; Skulski, Thomas M; Halverson, Galen P (2017). "Precise age of Bangiomorpha pubescens dates the origin of eukaryotic photosynthesis" (PDF). Geology. 46 (2): 135–138. doi:10.1130/G39829.1.
  26. Laflamme, M. (9 September 2014). "Modeling morphological diversity in the oldest large multicellular organisms". Proceedings of the National Academy of Sciences. 111 (36): 12962–12963. Bibcode:2014PNAS..11112962L. doi:10.1073/pnas.1412523111. PMC 4246935. PMID 25114212.
  27. Kolesnikov, Anton V.; Rogov, Vladimir I.; Bykova, Natalia V.; Danelian, Taniel; Clausen, Sébastien; Maslov, Andrey V.; Grazhdankin, Dmitriy V. (October 2018). "The oldest skeletal macroscopic organism Palaeopascichnus linearis". Precambrian Research. 316: 24–37. Bibcode:2018PreR..316...24K. doi:10.1016/j.precamres.2018.07.017.
  28. Fedonkin, Mikhail A.; Gehling, James G.; Grey, Kathleen; Narbonne, Guy M.; Vickers-Rich, Patricia (2007). The Rise of Animals: Evolution and Diversification of the Kingdom Animalia. JHU Press. p. 326. doi:10.1086/598305. ISBN 9780801886799.
  29. Dawkins, Richard; Wong, Yan (2005). The Ancestor's Tale: A Pilgrimage to the Dawn of Evolution. Houghton Mifflin Harcourt. pp. 673. ISBN 9780618619160.
  30. Selden, Paul A. (2005). "Terrestrialization (Precambrian–Devonian)" (PDF). Encyclopedia of Life Sciences. John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1038/npg.els.0004145. ISBN 978-0470016176.
  31. Scientists discover 'oldest footprints on Earth' in southern China dating back 550 million years The Independent
  32. Chen, Zhe; Chen, Xiang; Zhou, Chuanming; Yuan, Xunlai; Xiao, Shuhai (June 2018). "Late Ediacaran trackways produced by bilaterian animals with paired appendages". Science Advances. 4 (6): eaao6691. Bibcode:2018SciA....4.6691C. doi:10.1126/sciadv.aao6691. PMC 5990303. PMID 29881773.
  33. Clemmey, Harry; Badham, Nick (1982). "Oxygen in the Precambrian Atmosphere". Geology. 10 (3): 141–146. Bibcode:1982Geo....10..141C. doi:10.1130/0091-7613(1982)10<141:OITPAA>2.0.CO;2.
  34. "Geological Society of America's "2009 GSA Geologic Time Scale."". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-04.
  35. Harrison, T. Mark (27 April 2009). "The Hadean Crust: Evidence from >4 Ga Zircons". Annual Review of Earth and Planetary Sciences. 37 (1): 479–505. Bibcode:2009AREPS..37..479H. doi:10.1146/annurev.earth.031208.100151.
  36. Abramov, Oleg; Kring, David A.; Mojzsis, Stephen J. (October 2013). "The impact environment of the Hadean Earth". Geochemistry. 73 (3): 227–248. Bibcode:2013ChEG...73..227A. doi:10.1016/j.chemer.2013.08.004.
  37. Bleeker, W. (2004) [2004]. "Toward a "natural" Precambrian time scale". ใน Felix M. Gradstein; James G. Ogg; Alan G. Smith (บ.ก.). A Geologic Time Scale 2004. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-78673-7. also available at Stratigraphy.org: Precambrian subcommission
  38. Zhao, Guochun; Cawood, Peter A.; Wilde, Simon A.; Sun, M. (2002). "Review of global 2.1–1.8 Ga orogens: implications for a pre-Rodinia super-continent". Earth-Science Reviews. 59 (1): 125–162. Bibcode:2002ESRv...59..125Z. doi:10.1016/S0012-8252(02)00073-9.
  39. Zhao, Guochun; Sun, M.; Wilde, Simon A.; Li, S.Z. (2004). "A Paleo-Mesoproterozoic super-continent: assembly, growth and breakup". Earth-Science Reviews (Submitted manuscript). 67 (1): 91–123. Bibcode:2004ESRv...67...91Z. doi:10.1016/j.earscirev.2004.02.003.
  40. Li, Z. X.; Bogdanova, S. V.; Collins, A. S.; Davidson, A.; De Waele, B.; Ernst, R. E.; Fitzsimons, I. C. W.; Fuck, R. A.; Gladkochub, D. P.; Jacobs, J.; Karlstrom, K. E.; Lul, S.; Natapov, L. M.; Pease, V.; Pisarevsky, S. A.; Thrane, K.; Vernikovsky, V. (2008). "Assembly, configuration, and break-up history of Rodinia: A synthesis" (PDF). Precambrian Research. 160 (1–2): 179–210. Bibcode:2008PreR..160..179L. doi:10.1016/j.precamres.2007.04.021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Valley, John W., William H. Peck, Elizabeth M. King (1999) Zircons Are Forever, The Outcrop for 1999, University of Wisconsin-Madison Wgeology.wisc.edu เก็บถาวร 2012-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนEvidence from detrital zircons for the existence of continental crust and oceans on the Earth 4.4 Gyr ago Accessed Jan. 10, 2006
  • Wilde, S. A.; Valley, J. W.; Peck, W. H.; Graham, C. M. (2001). "Evidence from detrital zircons for the existence of continental crust and oceans on the Earth 4.4 Gyr ago". Nature. 409 (6817): 175–178. doi:10.1038/35051550. PMID 11196637.
  • Wyche, S.; Nelson, D. R.; Riganti, A. (2004). "4350–3130 Ma detrital zircons in the Southern Cross Granite–Greenstone Terrane, Western Australia: implications for the early evolution of the Yilgarn Craton". Australian Journal of Earth Sciences. 51 (1): 31–45. doi:10.1046/j.1400-0952.2003.01042.x.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้