อุกกาบาต (อังกฤษ: meteorite) คือ หินอวกาศที่ตกลงมาสู่ผิวโลกหรือผิวดาวเคราะห์แล้ว ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) หรือสะเก็ดดาว (Meteoriod) พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที เกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆ ลุกไหม้เป็นแสงสว่างเรียกว่า ดาวตก (Meteor) จวบจนลงถึงพื้นแล้วจึงเรียกอุกกาบาต อุกกาบาตขนาดเล็กคือหินอวกาศที่ถูกเผาไหม้จนเกือบหมด แต่สำหรับอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่นั้นคือหินอวกาศที่ไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกลงมาบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต (Crater)

ภาพอุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐ
ชนิดของอุกกาบาต

ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้

  1. C-type อุกกาบาตคาร์บอนมีสีคล้ำ มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอน
  2. S-type อุกกาบาตหิน มีองค์ประกอบเป็นซิลิกา
  3. M-type อุกกาบาตโลหะ มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและนิเกิล

นอกจากอุกกาบาตจะเกิดขึ้นจากสะเก็ดดาวเคราะห์น้อยแล้ว ยังมีอุกกาบาตบนพื้นโลกที่มาจากดวงจันทร์และดาวอังคาร ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการค้นพบอุกกาบาต ALH84001 ซึ่งเป็นสะเก็ดของดาวอังคารที่ตกลงบนน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติก ใน 65 ล้านปีที่ผ่านมา อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลกที่ ซิคซูลูบ คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก ทำให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้