หินละลายรูปหมอน

หินละลายรูปหมอน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปหมอน มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นการที่ลาวาโผล่พ้นน้ำแล้วมีการเย็นตัวลง หินละลายรูปหมอนนี้จัดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ ซึ่งมีหลายขนาด อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้มากถึง 1 เมตร

หินละลายรูปหมอนที่เพิ่งก่อตัวในฮาวาย
หินละลายรูปหมอนในมหายุคพรีแคมเบรียนที่ค่อนข้างผุพังไปแล้ว

องค์ประกอบ แก้

หินละลายรูปหมอน มีองค์ประกอบเหมือนกับหินบะซอลท์ทั่วไป ลักษณะที่เกิดเป็นพวก komatiite, picrite, basaltic andesite, andesite หรือกระทั่ง dacite ที่รู้ๆกัน โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งส่วนประกอบมีความเป็น andesite มากขึ้นมักจะเกิดเป็นรูปหมอนได้ขนาดที่ใหญ่กว่า เนื่องมาจากความหนืดของลาวาเพิ่มขึ้น

การเกิด แก้

หินละลายรูปหมอนนั้นจะเกิดในบริเวณที่มีลาวาสีเข้มถึงลาวาสีกลาง (mafic to intermediate) ปะทุขึ้นมาใต้ผิวน้ำ เช่นบริเวณที่มีจุดร้อนปะทุขึ้นมา และสัมพันธ์กับขอบเขตโครงสร้างของเทือกเขากลางสมุทร เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรเกิดขึ้นใหม่ จะเกิดหินละลายรูปหมอนขึ้นหนามาก ซึ่งปะทุขึ้นมาตรงจุดศูนย์กลางการกระจายตัว ซึ่งเกิดจากการที่พวก dyke แทรกตัดเข้ามาในตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่กะเปาะแมกม่า (magma chamber) หินละลายรูปหมอนเกิดขึ้นสัมพันธ์กับ sheeted dyke complex ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำดับหิน ophiolite เมื่อมีบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรเกยซ้อนทับแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป

การปรากฏของหินละลายรูปหมอนที่แก่ที่สุดในพวกหินภูเขาไฟพบที่ Isua and Barberton greenstone belts เป็นการแสดงว่าเคยมีน้ำปริมาณมหาศาลบนพื้นผิวของโลกในบรมยุคอาร์เคียน หินละลายรูปหมอนนี้แสดงว่ามีกิจกรรมของภูเขาไฟที่เกิดใต้น้ำในบริเวณแถบการแปรสภาพ

หินละลายรูปหมอนอาจพบร่วมกับสภาวะภูเขาไฟกึ่งธารน้ำแข็ง (Subglacial Volcanoes) ในลำดับแรกของการเกิดระเบิด ซึ่งถูกค้นพบด้วย Gabriel A. Doudine และเพื่อน ๆ ของเขา

การก่อตัว แก้

หินละลายรูปหมอนเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีแมกม่าดันตัวมาถึงพื้นผิว และสิ่งที่สำคัญคือต้องมีความแตกต่างกันอย่างมากในส่วนของอุณหภูมิ นั่นคืออุณหภูมิระหว่างลาวาและน้ำ เมื่อมีการโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเจอความเย็นอย่างรวดเร็ว จะเกิดปฏิกิริยาบนผิวของลาวานั้นก่อน หลังจากนั้นลาวาจะขยายตัวออกไป ด้วยปริมาณที่มากขึ้นก็จะเกิดเป็นพู (lobe) จนกระทั่งความดันของแมกม่านั้นเพียงพอที่จะทำให้บริเวณผิวของลาวาแตกออก และเริ่มการปะทุอีกครั้งในบริเวณที่เป็นช่องว่างที่ใกล้ๆกัน กระบวนการนี้เป็นการสร้างรูปร่างที่เป็นพูออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรูปร่างคล้ายหมอน บริเวณผิวของมันจะมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วกว่าภายในตัวหินละลายรูปหมอนทำให้ได้เนื้อที่ค่อนข้างละเอียด และมีลักษณเป็นเนื้อแก้ว ส่วนลาวาที่อยู่ด้านใน ที่เย็นตัวช้ากว่า จะมีเนื่อที่หยาบกว่าบริเวณผิวของมัน

ในประเทศไทยตัวอย่างหินละลายรูปหมอนนี้ พบอยู่ทั่วไปในแถบสถานีรถไฟแม่เมาะ และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

อ้างอิง แก้

  • ปัญญา จารุศิริและคณะ (2545).หินละลายรูปหมอน.ธรณีวิทยากายภาพ,192.กรุงเทพฯ:บริษัทพลัสเพลส จำกัด