เปลือกโลกภาคพื้นทวีป

เปลือกโลกภาคพื้นทวีป เป็นชั้นของหินอัคนี หินตะกอน หินแปรที่ก่อตัวขึ้นเป็นทวีปและไหล่ทวีป บางครั้งชั้นนี้ว่าชั้นไซอัลเพราะประกอบด้วยซิลิกาและอะลูมิเนียมเป็นจำนวนมาก เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นต่ำกว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร ชั้นไม่ต่อเนื่องของคอนราดเป็นชั้นระหว่างเปลือกโลกภาคพื้นทวีป (เปลือกโลกชั้นบน) และ เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (เปลือกโลกชั้นล่าง)[1] ทำให้สามารถวัดความลึกของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปโดยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน

ความหนาของเปลือกโลก (กม.)

เปลือกโลกภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นหลายชั้น ส่วนมากประกอบหินประเภทอินเทอมีเดียท (SiO2 wt% = 60.6[2]) มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.83 กรัม/ซม.3 [3] หนาแน่นน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่มีความหนาแน่นประมาณ 2.9 กรัม/ซม.3 และอัตราเมฟิกที่เป็นส่วนประกอบในเนื้อโลกที่มีความหนาแน่นประมาณ 3.3 กรัม/ซม.3 เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาอยู่ที่ 25–70 กิโลเมตร หนากว่าเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรที่มีความหนาประมาณ 7–10 กิโลกเมตร ครอบคลุม 40% พื้นผิวโลก[4] และมีปริมาตรคิดเป็น 70% ของเปลือกโลกทั้งหมด[5]

เปลือกโลกภาคพื้นทวีปส่วนมากเป็นพื้นที่ดินเหนือระดับน้ำทะเล ยกเว้นแต่ทวีปซีแลนเดียที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกกว่า 94%[6] โดยนิวซีแลนด์เป็นพื้นที่ 93% ของพื้นที่ ๆ อยู่เหนือผิวน้ำ

ความสำคัญ แก้

เนื่องจากเปลือกโลกภาคพื้นทวีปทอดตัวเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้สิ่งมีชีวิตบนบกวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตในทะเล การมีอยู่ของพื้นดินทำให้เกิดทะเลภายในและไหล่ทวีป ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเหตุการ์ณแคมเบรียน เอ็กโพลชั่นช่วงมหายุคพาลีโอโซอิก[7]

กำเนิด แก้

เปลือกโลกทั้งหมดเกิดจากการแข็งตัวของหินหลอมละลายในเนื้อโลกที่ผ่านการตกผลึกลำดับส่วนของหินบะซอลต์ กับการหลอมและขึ้นรูปใหม่ของเปลือกโลกที่มีอยู่เดิม การสร้างเปลือกโลก 2 กระบวนการนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่คาดกันว่าการตกผลึกลำดับส่วนน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ[8] กระบวนการเหล่านี้มักเกินในบริเวณภูเขาไฟรูปโค้งที่เป็นเขตมุดตัวของเปลือกโลก

20% ของเปลือกโลกปัจจุบันก่อตัวขึ้นเมื่อ 3.0 พันล้านปีก่อน[9] หลักฐานตัวอย่างของเปลือกโลกที่มีอายุมากกว่า 3.5 พันล้านปีมีน้อยมาก[10] ช่วง 3.0 ถึง 2.5 พันล้านปีที่แล้วมีการก่อตัวอย่างรวดเร็วของหินฐานทวีป[10] ทำให้ช่วงเวลานี้เกิดการก่อตัวเปลือกโลกเป็นปริมาตรประมาณ 60% ของปัจจุบัน[9] ส่วนอีก 20% ก่อตัวขึ้นในช่วง 2.5 พันล้านปีที่แล้ว

อ้างอิง แก้

  1. สง่า ตั้งชวาล. (2541). ธรณีวิศวกรรมขั้นพื้นฐาน,(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 974-638-227-6
  2. Rudnick, R.L.; Gao, S. (1 January 2014). "Composition of the Continental Crust". Treatise on Geochemistry (ภาษาอังกฤษ). pp. 1–51. doi:10.1016/B978-0-08-095975-7.00301-6. ISBN 9780080983004.
  3. Christensen, Nikolas I.; Mooney, Walter D. (1995). "Seismic velocity structure and composition of the continental crust: A global view". Journal of Geophysical Research: Solid Earth (ภาษาอังกฤษ). 100 (B6): 9761–9788. Bibcode:1995JGR...100.9761C. doi:10.1029/95JB00259. ISSN 2156-2202.
  4. Cogley 1984
  5. Hawkesworth et al. 2010
  6. Mortimer, Nick; Campbell, Hamish J. (2017). "Zealandia: Earth's Hidden Continent". GSA Today. 27: 27–35. doi:10.1130/GSATG321A.1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2017.
  7. Ben Waggoner; Allen Collins. "The Cambrian Period". University of California Museum of Paleontology. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  8. Klein, Benjamin; Jagoutz, Oliver (1 January 2018). "On the importance of crystallization-differentiation for the generation of SiO2-rich melts and the compositional build-up of arc (and continental) crust". American Journal of Science (ภาษาอังกฤษ). 318 (1): 29–63. Bibcode:2018AmJS..318...29J. doi:10.2475/01.2018.03. ISSN 1945-452X. S2CID 134674805.
  9. 9.0 9.1 McCann, T. (editor) (2008). The Geology of Central Europe: Volume 1: Precambrian and Palaeozoic. London: The Geological Society. p. 22. ISBN 978-1-86239-245-8. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. 10.0 10.1 Hart, P. J., Earth's Crust and Upper Mantle, American Geophysical Union, 1969, pp. 13–15 ISBN 978-0-87590-013-1

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้