เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร

เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดที่เป็นฐานแก่มหาสมุทร แบ่งเป็น เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรชั้นบน ประกอบด้วยหินละลายรูปหมอนและผนังที่ซับซ้อน กับ เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรชั้นล่าง ประกอบด้วยหินทรอกโทไลต์ หินแกบโบรและหินคูมูเลต[1][2] เปลือกโลกทอดตัวอยู่เหนือเนื้อโลกชั้นบนที่มีลักษณะแข็ง เปลือกโลกและชั้นเนื้อโลกแข็งรวมกันเป็นธรณีภาค

เฉดสีแสดงอายุของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร สีแดงเป็นแผ่นเปลือกโลกอายุน้อยสุดไล่ไปตามสเกลจนถึงสีม่วงที่มีอายุมากสุด

เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินเมฟิกและหินไซมาที่อุดมไปด้วยเหล็กและแมกนีเซียม เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรบางกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมาก โดยทั่วไปมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 กิโลเมตร มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 3.0 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มากกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร[3][4]

อ้างอิง

แก้
  1. Gillis et al (2014). Primitive layered gabbros from fast-spreading lower oceanic crust. Nature 505, 204-208
  2. Pirajno F. (2013). Ore Deposits and Mantle Plumes. Springer. p. 11. ISBN 9789401725026.
  3. Cogley 1984
  4. Rogers, N., บ.ก. (2008). An Introduction to Our Dynamic Planet. Cambridge University Press and The Open University. p. 19. ISBN 978-0-521-49424-3.