เปลือกดาว
เปลือกดาว (อังกฤษ: crust) คือเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างดาวเคราะห์หิน ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระและดาวบริวาร ซึ่งมักจะถูกสร้างขึ้นมาจากเนื้อดาวที่อยู่ภายใต้ตามกระบวนการทางเคมี อย่างไรก็ตามกรณีเปลือกดาวของดาวจันทร์น้ำแข็งนั้นจะเป็นการก่อตัวขึ้นในอีกรูปแบบหนึ่ง
เปลือกดาวของโลก, ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ไอโอ, ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เกิดขึ้นจากกระบวนการก่อตัวของหินอัคนี ต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโดยกระบวนการการกร่อนและการพุ่งชนของอุกกาบาต การปะทุของภูเขาไฟและการตกตะกอน
ดาวเคราะห์หินส่วนใหญ่มีเปลือกโลกที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่สำหรับโลกนั้นมีเปลือกโลก 2 แบบคือเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันนอกจากนั้นยังก่อตัวขึ้นจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันด้วย
ชนิด
แก้นักธรณีวิทยาดาวเคราะห์แบ่งเปลือกโลกออกเป็นสามประเภทโดยพิจารณาจากวิธีการและเวลาที่ก่อตัว[1]
เปลือกดาวปฐมภูมิ
แก้โดยเริ่มแรงดาวเคราะห์หลังการก่อกำเนิดนั้นจะปกคลุมด้วยมหาสมุทรลาวาทั่วทั้งดาว เมื่อผิวดาวที่เป็นมหาสมุทรลาวาเริ่มเย็นและแข็งตัวก็จะกลายเป็นเปลือกดาวปฐมภูมิ[2] ดังนั้นเปลือกดาวปฐมภูมิคือเปลือกดาวดังเดิมของดาวเคราะห์ เปลิอกดาวชนิดนี้น่าจะถูกทำลายจากผลกระทบขนาดใหญ่ อย่างการก่อตัวขึ้นของเปลือกดาวใหม่และการพุ่งชนอย่างหนักของอุกกาบาตในแต่ละสมัย[3]
ธรรมชาติของเปลือกดาวปฐมภูมิยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะเราไม่ทราบคุณสมบัติทางเคมี แร่ธาตุ ลักษณะทางกายภาพเพราะเป็นการยากมากที่จะศึกษาเนื่องจากไม่มีตัวอย่างเปลือกดาวปฐมภูมิของโลกหลงเหลืออยู่เลย[4] การก่อเกิดเปลือกโลกใหม่ทำให้เกิดการทำลายหินทั้งหมดที่มีอายุมากกว่า 4 พันล้านปีร่วมถึงเปลือโลกปฐมภูมิที่เคยมี
อย่างไรก้ตามนักธรณีวิทยาสามารถศึกษาข้อมูลของเปลือกดาวปฐมภูมิโดยการศึกษาบนดาวเคราะห์หินดวงอื่น พื้นที่ภูเขาบนดาวพุธอาจเป็นตัวแทนของเปลือกดาวปฐมภูมิแม้ว่าจะมีการถกเถียงกันอยู่ก็ตาม[5] ภูเขาหินอะนอร์โทไซต์บนดวงจันทร์เป็นเปลือกดาวปฐมภูมิซึ่งก่อตัวจากแพลจิโอเคลสตกผลึกจากมหาสมุทรหินหนืดของดวงจันทร์และลอยขึ้นมาด้านบน[6] แต่ถึงอย่างนั้นรูปแบบของโลกและดวงจันทร์ก็ไม่เหมือนกันอยู่ดีเนื่องจากโลกมีน้ำ[7] อุกกาบาตจากดางอังคาร เอแอลเอช 84001อาจเป็นตัวอย่างของเปลือกดาวปฐมภูมิของดาวอังคาร แต่เรื่องนี้ก็ยังเป้นที่ถกเถียงกันอยู่เช่นกัน[5] และเหมือนกันกับโลกดาวศุกร์มีการเปลี่ยนแปลงเปลือกดาวตลอดเวลา [8]
เปลือกดาวทุติยภูมิ
แก้เปลือกดาวทุติยภูมิเกิดจากการหลอมเหลวบางส่วนของวัสดุซิลิเกตในเนื้อดาวและมักจะมีหินบะซอลต์เป็นองค์ประกอบ[1]
เปลือกโลกประเภทนี้พบมากที่สุดในระบบสุริยะ พื้นผิวส่วนใหญ่ของดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคารและบนจันทรสมุทรจะเป็นเปลือกโลกประเภททุติยภูมิ โดยบนโลกของเรานั้นเปลือกโลกทุติยภูมิส่วนใหญ่ก่อตัวที่เทือกเขากลางสมุทรที่ ๆ ซึ่งมีหินหนืดจากเนื้อโลกซึมออกมา
เปลือกดาวตติยภูมิ
แก้เปลือกโลกแบบตติยภูมิมีการปรับปรุงทางเคมีมากกว่าทั้งเปลือกดาวแบบปฐมภูมิและเปลือกดาวแบบทุติยภูมิ สามารถก่อตัวได้หลายวิธี:
- กระบวนการเกิดหินอัคนี: การหลอมบางส่วนของเปลือกโลกทุติยภูมิควบคู่ไปกับการเปลี่ยนสภาพหรือการคายน้ำ[5]
- การกร่อนและการตกตะกอน เป็นตะกรอนที่มาจากปลือดาวแบบปฐมภูมิ เปลือกดาวแบบทุติยภูมิและเปลือกดาวแบบตติยภูมิ
เปลือกโลก
แก้เป็นเปลือกบาง ๆ ที่อยู่ชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีมวลน้อยกว่า 1% ของมวลโลกทั้งหมด มันเป็นชั้นนอกสุดของธรณีภาค[9]
เปลือกดวงจันทร์
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Hargitai, Henrik (2014). "Crust (Type)". Encyclopedia of Planetary Landforms (ภาษาอังกฤษ). Springer New York. pp. 1–8. doi:10.1007/978-1-4614-9213-9_90-1. ISBN 9781461492139.
- ↑ Chambers, John E. (2004). "Planetary accretion in the inner Solar System". Earth and Planetary Science Letters. 223 (3–4): 241–252. Bibcode:2004E&PSL.223..241C. doi:10.1016/j.epsl.2004.04.031.
- ↑ Taylor, Stuart Ross (1989). "Growth of planetary crusts". Tectonophysics. 161 (3–4): 147–156. Bibcode:1989Tectp.161..147T. doi:10.1016/0040-1951(89)90151-0.
- ↑ Earth's oldest rocks. Van Kranendonk, Martin., Smithies, R. H., Bennett, Vickie C. (1st ed.). Amsterdam: Elsevier. 2007. ISBN 9780080552477. OCLC 228148014.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 5.2 1925–, Taylor, Stuart Ross (2009). Planetary crusts : their composition, origin and evolution. McLennan, Scott M. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0521841863. OCLC 666900567.
{{cite book}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Taylor, G. J. (2009-02-01). "Ancient Lunar Crust: Origin, Composition, and Implications". Elements (ภาษาอังกฤษ). 5 (1): 17–22. doi:10.2113/gselements.5.1.17. ISSN 1811-5209.
- ↑ Albarède, Francis; Blichert-Toft, Janne (2007). "The split fate of the early Earth, Mars, Venus, and Moon". Comptes Rendus Geoscience. 339 (14–15): 917–927. Bibcode:2007CRGeo.339..917A. doi:10.1016/j.crte.2007.09.006.
- ↑ Venus II—geology, geophysics, atmosphere, and solar wind environment. Bougher, S. W. (Stephen Wesley), 1955–, Hunten, Donald M., Phillips, R. J. (Roger J.), 1940–. Tucson, Ariz.: University of Arizona Press. 1997. ISBN 9780816518302. OCLC 37315367.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Robinson, Eugene C. (January 14, 2011). "The Interior of the Earth". U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.