ALH 84001 (ชื่อเต็ม Allan Hills 84001[1]) คือ อุกกาบาต ที่ค้นพบที่แอลลันฮิลล์ทวีปแอนตาร์กติกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยคณะนักล่าอุกกาบาตชาวสหรัฐฯ ของโครงการ ANSMET en:ANSMET เช่นเดียวกับอุกกาบาตในกลุ่มของอุกกาบาตดาวอังคาร SNCs (shergottite, nakhlite, chassignite), จึงคาดการณ์ว่า ALH 84001 มาจากดาวอังคาร มวล ณ จุดค้นพบอุกกาบาตก้อนนี้มีน้ำหนัก 1.93 กิโลกรัม แต่มาเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเมื่อ พ.ศ. 2539 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ประกาศว่าปรากฏมีฟอสซิลขนาดเล็กมากของแบคทีเรียดาวอังคารอยู่ในก้อนอุกกาบาต

อุกกาบาต ALH84001 จากดาวอังคารที่พบในแถบขั้วโลกใต้

ประวัติ แก้

รูปแบบชีวิตที่อาจเป็นไปได้ แก้

ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2539[2] อุกกาบาต ALH 84001 ได้ตกเป็นข่าวใหญ่เมื่อมีการประกาศว่าได้มีการค้นพบซากที่เป็นของสิ่งมีชีวิตของดาวอังคารซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชื่อ "วิทยาศาสตร์" โดย ดร. เดวิด แมกเคย์ แห่งองค์การนาซา[3][4]

 
The electron microscope revealed chain structures in meteorite fragment ALH84001

จากการสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน ได้พบโครงสร้างที่แสดงให้เห็นซากสิ่งมีชีวิตในรูปคล้ายฟอสซิลของแบคที่เรีย โครงสร้างที่พบในอุกกาบาต ALH 84001 มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-100 นาโนเมตร เป็นขนาดของ นาโนแบคทีเรียเชิงทฤษฎี แต่เล็กกว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวทุกชนิดที่ได้ค้นพบมาแล้ว หากโครงสร้างฟอสซิลนี้เป็นของสิ่งมีชีวิตจริงก็จะเป็นหลักฐานที่หนักแน่นที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่ไม่ได้เกิดจากการแปดเปื้อนนั้นมีจริง[5]

การประกาศความเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกครั้งนี้ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง จึงเป็นการเปิดทางให้เกิดความสนใจในการสำรวจดาวอังคารมากขึ้น การประกาศการค้นพบครั้งนี้ทำให้เกิดการคาดเดาว่าอุกกาบาตก้อนนี้คือหลักฐานจริงที่เป็นการยืนยันว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกมีจริง แม้แต่ประธานาธิบดีบิล คลินตันก็ยังได้ออกรายการโทรทัศน์ประกาศการค้นพบนี้อย่างเป็นทางการ[6]

ได้มีการตรวจสอบสารอินทรีย์ในอุกกาบาตนี้อีกหลายครั้งได้พบกรดอะมิโนและโพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbon -PAH) ในนั้นด้วย การโต้เถียงว่าโมเลกุลอินทีย์ที่พบในอุกกาบาตนั้นอาจเกิดจากกระบวนการที่ไม่ใช่ชีววิทยา หรือเกิดจากการแปดเปื้อนจากน้ำแข็งขั้วโลกใต้ก็ยังคงดำเนินกันอยู่ต่อไป[7][8]

นับถึง พ.ศ. 2549 ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ยังถกเถียงกันว่าฟอสซิลจิ๋วไม่ใช่ตัวบ่งชี้การมีชีวิตแต่เกิดจากการแปดเปื้อนของไบโอฟิล์มของโลก ยังไม่มีการสรุปได้อย่างแน่นนอนว่ารูปแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ในห้องปฏิบัติการทดลองพบว่ารูปลักษณะดังกล่าวสามารถทำขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตให้เข้ามามีส่วนในกระบวนการ[2] แต่อย่างไรก็ดี หลักฐานสนับสนุนว่านาโนแบคที่เรียมีความเป็นจริงกำลังเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ยังมีข้อกังขาโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ[9] (จากแนวคิดที่ว่าอนุภาคมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะบรรจุ RNA ไว้ในตัวได้)

เอกสารอ่านเพิ่มเติม แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Meteoritical Bulletin Database: Allan Hills 84001".
  2. 2.0 2.1 Crenson, Matt (2006-08-06). "After 10 years, few believe life on Mars". space.com. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2006-08-06.
  3. McKay, David S., et al (1996) "Search for Past Life on Mars: Possible Relic Biogenic Activity in Martian Meteorite ALH84001". Science, Vol. 273. no. 5277, pp. 924 - 930. URL accessed March 18, 2006.
  4. McKay D. S., Gibson E. K., ThomasKeprta K. L., Vali H., Romanek C. S., Clemett S. J., Chillier X. D. F., Maechling C. R., Zare R. N. (1996). "Search for past life on Mars: Possible relic biogenic activity in Martian meteorite ALH84001". Science. 273: 924–930. doi:10.1126/science.273.5277.924. PMID 8688069.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. McSween HY (1997). "Evidence for life in a martian meteorite?". GSA Today. 7 (7): 1–7. PMID 11541665.
  6. Clinton, Bill (1996-08-07). "President Clinton Statement Regarding Mars Meteorite Discovery". NASA. สืบค้นเมื่อ 2006-08-07.
  7. Bada J. L., Glavin D. P., McDonald G. D., Becker L. "A search for endogenous amino acids in martian meteorite ALH 84001". Science (279): 1998.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Becker L., Glavin D. P., Bada J. L. (1997). "Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) in Antarctic Martian meteorites, carbonaceous chondrites, and polar ice". Geochimica et Cosmochimica Acta. 61: 475–481. doi:10.1016/S0016-7037(96)00400-0.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Cisar J, Xu D, Thompson J, Swaim W, Hu L, Kopecko D (2000). "An alternative interpretation of nanobacteria-induced biomineralization". Proc Natl Acad Sci U S A. 97 (21): 11511–5. doi:10.1073/pnas.97.21.11511. PMID 11027350. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-08-06.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้