จุดร้อน
จุดร้อน (อังกฤษ: Hotspot) ในทางธรณีวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลกที่คาดว่าอยู่ห่างจากขอบเขตการแปรสัณฐานของเปลือกโลก และเป็นปรากฏการณ์ทางภูเขาไฟอย่างหนึ่งซึ่งเกิดเนื่องมาจาก Mantle plume
เนื้อหา
ลักษณะแก้ไข
J. Tuzo Wilson ในปี ค.ศ. 1963 ได้เกิดนึกถึงลักษณะของเกาะภูเขาไฟบริเวณแถบฮาวาย ว่าเป็นผลมาจากการการเคลื่อนที่ของธรณีแปรสัณฐานอย่างช้าๆ เมื่อมีการคิดสาเหตุของการเกิดจุดร้อนเหล่านี้ขึ้นมา โดยคิดว่าเกิดจากการไหลแคบๆของแมกม่าจากเนื้อโลกซึ่งร้อน ได้มีการหมุนเวียนขึ้นมาจากบริเวณรอยต่อของแกนโลกและเนื้อโลก ทำให้เกิดเป็น Mantle plume ขึ้น แม้ว่านักธรณีวิทยาบางคนจะให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนกระแสแมกม่าในตอนบนของชั้นเนื้อโลกมาก แต่ก็มีบางคนที่กล่าวอ้างว่าจุดร้อนเหล่านี้เป็นผลมาจากพวกอุกกาบาตขนาดใหญ่
นักธรณีวิทยาได้มีการวิเคราะห์จุดร้อนทั่วโลกอยู่ 40-50 จุด ซึ่งพบว่าในบริเวณ Hawaii, Reunion, Yellowstone และ Iceland ที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวของจุดร้อนเหล่านี้อยู่
จุดร้อนเหล่านี่ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลท์ เพราะว่ามันปะทุขึ้นมากจาชั้นธรณีฐานมหาสมุทร (เช่นที่ Hawaii และ Tahiti) จุดร้อนเหล่านี้เกิดจากการระเบิดน้อยกว่าการเกิดภูเขาไฟอันเนื่องมาจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction zone) ในบริเวณที่มีน้ำอยู่ใต้เปลือกโลกที่สำคัญ เมื่อจุดร้อนเกิดขึ้นใต้แผ่นเปลือกโลกทวีป แมกม่าที่มีองค์ประกอบเหมือนหินบะซอลท์จะเข้าไปในบริเวณที่เปลือกโลกทวีปนั้นมีความหนาแน่นน้อย ซี่งมันจะร้อนและทำให้เกิดการหลอมเหลว จึงทำให้เกิดเป็นหิน โดยที่หินไรโอไลท์เหล่านี้มีความร้อนพอสมควรและทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง ทั้งๆที่มีปริมาณน้ำอยู่น้อย ยกตัวอย่างเช่นที่ภูเขาไฟ Yellowstone ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ทรงพลังมากที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา อย่างไรก็ตามเมื่อแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นไรโอไลท์ระเบิดอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดแล้วก็จะได้ก็จะได้การระเบิดของแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์ตามมา ผ่านไปตามแนวที่เปราะบางของชั้นแผ่นเปลือกโลก ตัวอย่างในกรณีนี้คือ Ilgachuz Range ในโคลัมเบีย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเกิดเป็น Trachyte และไรโอไลท์ แต่ในระยะเวลาต่อมาเกิดการปะทุขึ้นของลาวาทีมีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์
ร่องรอยแก้ไข
ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแผ่นเปลือกโลกทวีปหรือพื้นทะเลเคลื่อนผ่าน mantle plume จุดร้อนภูเขาไฟเหล่านี้เป็นหลักฐานอย่างดีที่จะยืนยันได้ว่าบริเวณนั้นได้มีมีการเคลื่อนผ่านจริงๆ ในกรณีจุดร้อนที่ฮาวายซึ่งเป็นเกาะที่แสดงหลักฐานของส่วนที่เหลือจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลซึ่งอยู่เหนือจุดร้อนในชั้นเนื้อโลก จุดร้อน Yellowstone ในที่ราบสูงโคลัมเบีย Deccan traps ในอินเดียเป็นผลมาจากการที่จุดร้อนโผล่มาใต้เกาะ Reunion ซึ่งป็นตัวปิดชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก
การเปรียบเทียบกับหมู่เกาะภูเขาไฟ (Island arc)แก้ไข
จุดร้อนนี้ไม่ควรนำมาสับสนกับหมู่เกาะภูเขาไฟ เพราะว่าจุดร้อนเป็นการเรียงต่อๆกันของเกาะภูเขาไฟ ส่วนหมู่เกาะภูเขาไฟนั้นเกิดมาจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก เมื่อมีแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรแผ่นหนึ่งเจอกับอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจะมีแรงดันลงไปถึงร่องทะเลลึกแผ่นที่ถูกมุดลงไป มีการปล่อยน้ำลงสู่ฐานของแผ่นที่อยู่ด้านบน และน้พส่วนนี้เป็นสาเหตุให้หินเกิดการหลอม และเป็นตัวที่ทำให้เกิดภูเขาไฟขึ้น อย่างเช่นที่ เกาะAleutian ใกล้กับรัฐอะลาสกา
ร่องรอยจุดร้อนที่มีชื่อเสียงแก้ไข
- จุดร้อนฮาวาย
- จุดร้อนหลุยส์วิลลี่
- จุดร้อนทริสตัน
- จุดร้อนโบวี่
- จุดร้อนค็อบ
- จุดร้อนนิวอิงแลนด์
- จุดร้อนอนาฮิม
- จุดร้อนแมกเคนซี่
รายชื่อจุดร้อนต่าง ๆ ทั่วโลกแก้ไข
- จุดร้อนอะฟรา
- จุดร้อนอนาฮิม
- จุดร้อนแอสเซนเชียน
- จุดร้อนอะโซเรส
- จุดร้อนบัลเลนี่
- จุดร้อนเบอมิวด้า
- จุดร้อนบูเว็ท
- จุดร้อนโบวี่
- จุดร้อนแคเมอรูน
- จุดร้อนคานารี่
- จุดร้อนเคพ เวิร์ด
- จุดร้อนแคโรลีน
- จุดร้อนค็อบ
- จุดร้อนโคโมรอส
- จุดร้อนโครเซ็ท
- จุดร้อนดาร์เฟอร์
- จุดร้อนดิสคอฟเวอรี่
- จุดร้อนออสเตรเลียตะวันออก
- จุดร้อนอีสเทอร์
- จุดร้อนอีเฟล
- จุดร้อนเฟอร์นันโด
- จุดร้อนกาลาปากอส
- จุดร้อนกอช
- จุดร้อนกัวดาลูป
- จุดร้อนฮาวาย
- จุดร้อนเฮิร์ด
- จุดร้อนฮอคเกอร์
- จุดร้อนไอซแลนด์
- จุดร้อนฮวน เฟอร์นานเดส
- จุดร้อนเคอร์กูเลน
- จุดร้อนลอร์ด โฮวี่
- จุดร้อนหลุยส์วิลลี่
- จุดร้อนแมคโดนัลด์
- จุดร้อนมาเดร่า
- จุดร้อนมาริออน
- จุดร้อนมาร์เควสแซส
- จุดร้อนเมททีออร์
- จุดร้อนจุดร้อนนิว อิงแลนด์
- จุดร้อนพิทคาร์น
- จุดร้อนเรตอน
- จุดร้อนรีวเนียน
- จุดร้อนเซนต์เฮเลนา
- จุดร้อนเซนต์พอล
- จุดร้อนซาเมา
- จุดร้อนซาน ฟีลิกซ์
- จุดร้อนโชน่า
- จุดร้อนตาฮิติ
- จุดร้อนโซคอร์โร่
- จุดร้อนแทสมานิด
- จุดร้อนไทเบสติ
- จุดร้อนทรินเดด
- จุดร้อนทริสตัน
- จุดร้อนเวม่า
- จุดร้อนเยลโล่สโตน