วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/ฝรั่งเศส
คู่มือการเขียน (MoS) |
---|
สารบัญ |
คู่มือในการเขียน (ฝรั่งเศส) เป็นแนวทางในการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศสและภาษาฝรั่งเศส คู่มือนี้เป็นเพียงแนวทางในการเขียน มิใช่กฎที่จะต้องปฏิบัติ
ชื่อบทความ
แก้- ชื่อบทความทั่วไปควรเป็นภาษาไทย
- ชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อสิ่งของ ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก เพื่อสะดวกต่อการค้นหา (สามารถดูจากวิกิพีเดียภาษาอื่นเป็นตัวอย่าง)
- เช่น ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ มิใช่ ชาร์ลส์ อองเดร โฌเซฟ มารี เดอ โกลล์
- เช่น ประตูลา เดฟองซ์ มิใช่ ประตูใหญ่แห่งภราดรภาพ
- ชื่ออื่นที่ไม่เป็นที่นิยมหรือเป็นชื่อทางการควรทำการ เปลี่ยนทาง (Redirect)
- ชื่อบทความควรอยู่ในแนวทางเดียวกัน
เนื้อหา
แก้- ควรใส่แม่แบบกล่องข้อมูล เพื่อในการแบ่งประเภทของบทความนั้น ๆ
เนื้อหาตอนต้น
แก้เนื้อหาตอนต้น แบ่งออกเป็น 6 ส่วนดังนี้
- ชื่อบทความในภาษาไทย
- ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
- ไฟล์การออกเสียง
- สัทอักษรสากล
- วันเกิดและวันตาย
- ข้อมูลคร่าวๆ
รายละเอียด
- 1. ชื่อบทความในภาษาไทย
- ชื่อบทความในภาษาไทยควรเป็นตัวหนา (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้)
- เช่น (จากบทความ ชอร์ช ปงปิดู) ชอร์ช ฌอง เรมงด์ ปงปิดู
- 2. ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
- ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศสควรเป็นตัวเอียง อยู่ภายในวงเล็บ (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้)
- เช่น (จากบทความ รถไฟฟ้าปารีส) รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris)
- 3. ไฟล์การออกเสียง
- ไฟล์การออกเสียงควรอยู่หลังชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส โดยการวางแม่แบบคร่อมวงเล็บชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
- เช่น (จากบทความ ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์) ฟรองซัวส์ โมริส อาเดรียง มารี มิตแตร์รองด์
- 1. ชื่อบทความในภาษาไทย
|
- 4. สัทอักษรสากล
- สัทอักษรสากลควรอยู่ในวงเล็บเหลี่ยม
- เช่น (จากบทความ ฟรองซัวส์ ฟียง) ฟรองซัวส์ ฟียง (François Fillon) [fʁɑ̃.swa fi.jɔ̃]
- 5. วันเกิดและวันตาย
- วันเกิดและวันตายควรอยู่ในวงเล็บ ถ้าเสียชีวิตไปแล้วใช้เครื่องหมาย – ถ้ายังมีชีวิตอยู่ใช้เครื่องหมาย —
- เช่น (จากบทความ แวงซองต์ โอรียอล) ฌูลส์-แวงซองต์ โอรียอล (Jules-Vincent Auriol) (27 สิงหาคม ค.ศ. 1884 – 1 มกราคม ค.ศ. 1966)
- เช่น (จากบทความ อลิเซ) อลิเซ ฌาโกเต (Alizée Jacotey) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1984 — )
- 6. ข้อมูลคร่าว ๆ
- ข้อมูลคร่าวๆ ควรเป็นข้อมูลสถานที่ตั้งและความพิเศษของสถานที่แห่งนั้น (ถ้าเป็นบุคคล ใช้ข้อมูลตำแหน่ง อาชีพหรือผลงานที่โดดเด่น)
- เช่น (จากบทความ คาร์ลา บรูนี) คาร์ลา จิลแบร์ตา บรูนี เตเดสคี (Carla Gilberta Bruni Tedeschi) (23 ธันวาคม ค.ศ. 1967 — ) นักประพันธ์เพลง นักร้อง นางแบบชาวอิตาลีและเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส
- 4. สัทอักษรสากล
วันเดือนปี
แก้- ควรเขียนปีในรูปแบบของคริสต์ศักราช (ค.ศ.) โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข
- เช่น ค.ศ. 2008
- ถ้าพุทธศักราช (พ.ศ.) มีความสำคัญในทางความหมาย ให้เขียนกำกับไว้ข้างหลังปีคริสต์ศักราช ในวงเล็บ
- เช่น ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)
- ทศวรรษ (พุทธทศวรรษ - คริสต์ทศวรรษ) ไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง
- เช่น คริสต์ทศวรรษ 1990
- ศตวรรษ (พุทธศตวรรษ - คริสต์ศตวรรษ) มีคำว่า "ที่" ตามหลัง
- เช่น พุทธศตวรรษที่ 2500