คู่มือในการเขียน (ฝรั่งเศส) เป็นแนวทางในการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศสและภาษาฝรั่งเศส คู่มือนี้เป็นเพียงแนวทางในการเขียน มิใช่กฎที่จะต้องปฏิบัติ

ชื่อบทความ

แก้

เนื้อหา

แก้

เนื้อหาตอนต้น

แก้

เนื้อหาตอนต้น แบ่งออกเป็น 6 ส่วนดังนี้

  1. ชื่อบทความในภาษาไทย
  2. ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
  3. ไฟล์การออกเสียง
  4. สัทอักษรสากล
  5. วันเกิดและวันตาย
  6. ข้อมูลคร่าวๆ

รายละเอียด

1. ชื่อบทความในภาษาไทย
ชื่อบทความในภาษาไทยควรเป็นตัวหนา (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้)
เช่น (จากบทความ ชอร์ช ปงปิดู) ชอร์ช ฌอง เรมงด์ ปงปิดู
2. ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
ชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศสควรเป็นตัวเอียง อยู่ภายในวงเล็บ (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้)
เช่น (จากบทความ รถไฟฟ้าปารีส) รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris)
3. ไฟล์การออกเสียง
ไฟล์การออกเสียงควรอยู่หลังชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส โดยการวางแม่แบบคร่อมวงเล็บชื่อบทความในภาษาฝรั่งเศส
เช่น (จากบทความ ฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์) ฟรองซัวส์ โมริส อาเดรียง มารี มิตแตร์รองด์ (François Maurice Adrien Marie Mitterrand)
    โครงการวิกิประเทศฝรั่งเศส    
โครงการ
สมาชิก
สถานีย่อย
บทความที่ต้องการ
บทความใหม่ล่าสุด
การประเมิน
คู่มือในการเขียน
การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
วิกิพีเดีย:สภาไวน์
บทความประเทศฝรั่งเศส ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
   คัดสรร  3 3
   คุณภาพ  4 4
ดี 39 39
พอใช้ 127 127
โครง 408 408
รายชื่อ 10 10
จัดระดับแล้ว 591 591
ยังไม่ได้จัดระดับ 59 59
ทั้งหมด 650 650

● {{สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส}}
● {{บทความประเทศฝรั่งเศส}} (ติดหน้าพูดคุย)
● {{โครงฝรั่งเศส}} (สำหรับเรื่องที่ยังไม่สมบูรณ์)
● {{User Wikiproject France}} (หน้าผู้ใช้)
4. สัทอักษรสากล
สัทอักษรสากลควรอยู่ในวงเล็บเหลี่ยม
เช่น (จากบทความ ฟรองซัวส์ ฟียง) ฟรองซัวส์ ฟียง (François Fillon) [fʁɑ̃.swa fi.jɔ̃]
5. วันเกิดและวันตาย
วันเกิดและวันตายควรอยู่ในวงเล็บ ถ้าเสียชีวิตไปแล้วใช้เครื่องหมาย – ถ้ายังมีชีวิตอยู่ใช้เครื่องหมาย —
เช่น (จากบทความ แวงซองต์ โอรียอล) ฌูลส์-แวงซองต์ โอรียอล (Jules-Vincent Auriol) (27 สิงหาคม ค.ศ. 1884 – 1 มกราคม ค.ศ. 1966)
เช่น (จากบทความ อลิเซ) อลิเซ ฌาโกเต (Alizée Jacotey) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1984 — )
6. ข้อมูลคร่าว ๆ
ข้อมูลคร่าวๆ ควรเป็นข้อมูลสถานที่ตั้งและความพิเศษของสถานที่แห่งนั้น (ถ้าเป็นบุคคล ใช้ข้อมูลตำแหน่ง อาชีพหรือผลงานที่โดดเด่น)
เช่น (จากบทความ คาร์ลา บรูนี) คาร์ลา จิลแบร์ตา บรูนี เตเดสคี (Carla Gilberta Bruni Tedeschi) (23 ธันวาคม ค.ศ. 1967 — ) นักประพันธ์เพลง นักร้อง นางแบบชาวอิตาลีและเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส

วันเดือนปี

แก้
  • ควรเขียนปีในรูปแบบของคริสต์ศักราช (ค.ศ.) โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข
    • เช่น ค.ศ. 2008
  • ถ้าพุทธศักราช (พ.ศ.) มีความสำคัญในทางความหมาย ให้เขียนกำกับไว้ข้างหลังปีคริสต์ศักราช ในวงเล็บ
    • เช่น ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)
  • ทศวรรษ (พุทธทศวรรษ - คริสต์ทศวรรษ) ไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง
  • ศตวรรษ (พุทธศตวรรษ - คริสต์ศตวรรษ) มีคำว่า "ที่" ตามหลัง

การทับศัพท์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้