วิกิพีเดีย:ประพฤติเยี่ยงอารยชน

อารยธรรม เป็นส่วนหนึ่งของจรรณยาบรรณของวิกิพีเดีย และเป็นหนึ่งในห้าเสาหลักของโครงการ นโยบายอารยธรรมอธิบายมาตรฐานที่คาดหมายผู้ใช้และกำหนดวิถีที่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาเมื่อเกิดปัญหาขึ้น กล่าวง่าย ๆ คือ ผู้เขียนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยคิดถึงและเคารพต่อกันเสมอ มุ่งพัฒนาสารานุกรมขณะที่ธำรงบรรยากาศการแก้ไขที่น่าพึงพอใจโดยปฏิบัติตนสุภาพ ใจเย็นและมีเหตุผล แม้ระหว่างการถกเถียงที่ดุเดือด

ความคาดหมายด้านอารยธรรมของวิกิพีเดียใช้กับผู้เขียนทุกคนในทุกการกระทำในวิกิพีเดีย ซึ่งรวมถึงการอภิปรายในหน้าคุยกับผู้ใช้และหน้าพูดคุยของบทความ ในความย่อการแก้ไขและการอภิปรายอื่นใดกับหรือที่พาดพิงถึงชาววิกิพีเดียด้วยกัน

การร่วมมือและอารยธรรม

ความเห็นไม่ลงรอยกันเป็นสิ่งเลี่ยงไม่ได้ในโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือ เมื่ออภิปรายความแตกต่างนี้ ผู้เขียนบางคนอาจดูแข็งกร้าวโดยไม่จำเป็น แม้ว่ากำลังพยายามตรงไปตรงมา ผู้เขียนอื่นอาจดูอ่อนไหวเกินเมื่อมุมมองของเขาถูกท้าทาย ถ้อยคำเขียนแบบไม่เผชิญหน้ากันในหน้าพูดคุยและในความย่อการแก้ไขไม่ถ่ายทอดความแตกต่างเล็กน้อยของการสนทนาวาจาอย่างเต็มที่ จนบางครั้งนำไปสู่การตีความความเห็นของผู้เขียนอย่างผิด ๆ ข้อสังเกตอนารยะสามารถยกการอภิปรายที่ส่งเสริมเป็นการเถียงกันส่วนบุคคลซึ่งไม่มุ่งไปยังปัญหาที่มีอยู่อย่างอัตวิสัยอีกต่อไป การเถียงกันไปมานี้เปลืองความพยายามของเรา และบั่นทอนบรรยากาศการทำงานเชิงบวกและอย่างสร้างสรรค์ของเรา การระงับความเห็นไม่ลงรอยผ่านการอภิปรายอารยะ การไม่เห็นด้วยโดยไม่ถึงกับไม่ปรองดอง การอภิปรายผู้เขียนอื่นควรจำกัดอยู่เฉพาะการอภิปรายอย่างสุภาพเกี่ยวกับการกระทำของเขาเท่านั้น

คาดหมายให้ผู้เขียนร่วมมือกันอย่างมีเหตุผล ละเว้นจากการโจมตีตัวบุคคล ทำงานภายในขอบเขตของนโยบาย และสนองต่อคำถามที่สุจริตใจ พยายามปฏิบัติต่อผู้เขียนด้วยกันเสมือนเพื่อนร่วมงานที่เคารพที่คุณกำลังทำงานด้วยในโครงการสำคัญ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยินดีต้อนรับและอดทนต่อผู้ใช้ใหม่ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ แต่ห้ามปรามผู้มาใหม่ที่ไม่สร้างสรรค์อย่างสุภาพ

สิ่งที่ควรทำและอย่าทำในความย่อการแก้ไข

ทบทวนความย่อการแก้ไขของคุณก่อนบันทึกการแก้ไข ระลึกว่าคุณไม่สามารถย้อนกลับไปเปลี่ยนได้

ควรทำ
  • เขียนสิ่งที่คุณทำชัดเจน เพื่อให้ผู้เขียนอื่นประเมินได้อย่างรวดเร็ว
  • ใช้ภาษาเป็นกลาง
  • ใจเย็น
อย่าทำ
  • เขียนความเห็นดูหมิ่น
  • เขียนข้อสังเกตส่วนบุคคลเกี่ยวกับผู้เขียนอื่น
  • ก้าวร้าว

ความอนารยะ

ความอนารยะประกอบด้วยการโจมตีตัวบุคคล ความหยาบคายและความเห็นที่ไม่เคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระทำอย่างก้าวร้าว การกระทำเช่นนี้มักก่อความเป็นปรปักษ์กับผู้เขียนและรบกวนโครงการผ่านสิ่งกระตุ้นความเครียดและความขัดแย้งที่ไม่สร้างสรรค์ แม้ว่าเหตุการณ์ความอนารยะเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่กี่ครั้งซึ่งไม่มีใครบ่นอาจไม่ใช่ปัญหาน่ากังวล แต่รูปแบบความอนารยะต่อเนื่องนั้นรับไม่ได้ ในกรณีการก่อกวนและการโจมตีบุคคลอย่างเลวซ้ำ ๆ เช่นนั้นผู้ทำผิดอาจถูกบล็อก การแสดงความอนารยะรุนแรงเพียงครั้งเดียวอาจส่งผลให้ถูกบล็อกได้ เช่น การละเมิดทางวาจาสุดขั้วหรือกักขฬะครั้งเดียวต่อผู้เขียนอื่น หรือการข่มขู่บุคคลอื่น

โดยทั่วไป ทำความเข้าใจและไม่ตอบโต้ในการรับมือกับความอนารยะ หากผู้อื่นอนารยะ อย่าสนองอย่างเดียวกัน พิจารณาเพิกเฉยต่อตัวอย่างความอนารยะเดี่ยว ๆ และเพียงแต่เดินหน้าต่อเรื่องปัญหาเนื้อหา หากจำเป็น ให้ชี้อย่างสุภาพว่าคุณคิดว่าความเห็นนั้นอาจถือว่าอนารยะ และแสดงให้ชัดเจนว่าคุณต้องการเดินหน้าต่อและมุ่งไปยังปัญหาเนื้อหา ระลึกว่าผู้เขียนนั้นอาจไม่คิดว่าตัวกำลังอนารยะ เพราะวิกิพีเดียมีคนจากพื้นเพหลากหลาย และมีมาตรฐานต่างกัน ดำเนินการระงับข้อพิพาท (ดูด้านล่าง) เฉพาะเมื่อมีปัญหาเรื้อรังที่คุณระงับไม่ได้

นโยบายนี้มิใช่อาวุธที่จะใช้ต่อผู้เขียนอื่น การยืนกรานให้ผู้เขียนถูกลงโทษสำหรับเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ แยกกัน การหยิบยกความอนารยะในอดีตหลังบุคคลเปลี่ยนแนวทางของเขาแล้ว หรือการปฏิบัติต่อการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ว่าเป็นการโจมตี อาจถือว่าเป็นการรบกวนในตัวมันเอง และอาจส่งผลให้ถูกเตือนหรือถูกบล็อกได้หากทำซ้ำ ๆ

อย่าว่าร้ายผู้อื่น

ผู้ใช้วิกิพีเดียถูกคาดหวังว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการว่าร้ายผู้อื่น ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีผลบังคับต่อผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนอย่างเสมอกัน การว่าร้ายผูอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะวิกิพีเดียสนับสนุนให้เป็นประชาคมออนไลน์ในด้านบวก ระลึกไว้เสมอว่า ทุกคนสามารถผิดพลาดได้ แต่พวกเขาจะสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงแนวทางดำเนินงานของตน การว่าร้ายผู้อื่นเป็นการปฏิบัติอันตรงกันข้ามกับหลักการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการสร้างสารานุกรม และอาจลงเอยด้วยการบล็อกผู้ใช้

การระบุความอนารยะ

บางครั้งการตัดสินว่าอะไรอนารยะหรือไม่อย่างหนักแน่นรวดเร็วนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนควรนำปัจจัยต่าง ๆ มาพิจารณา เช่น (1) ความรุนแรงและบริบทของภาษา/พฤติกรรม (2) พฤติกรรมนั้นเกิดในโอกาสเดียว หรือเกิดบ่อยครั้งหรือเป็นประจำ (3) มีการขอให้หยุดพฤติกรรมนั้นหรือไม่ และคำขอนั้นเพิ่งมีเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ (4) พฤติกรรมนั้นถูกยั่วยุหรือไม่ และ (5) ขอบเขตซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติต่อพฤติกรรมของผู้อื่นในขณะเดียวกัน

พฤติกรรมต่อไปนี้อาจประกอบสิ่งแวดล้อมอนารยะ ได้แก่

1. ความหยาบคายโดยตรง

  • (ก) ความหยาบคาย การดูหมิ่น การตั้งฉายา (name-calling) ความกักขฬะอย่างเห็นได้ชัดหรือการแสดงความอนาจาร
  • (ข) การโจมตีตัวบุคคล ซึ่งรวมถึงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เรื่องเพศ ความพิการ เพศและศาสนา และการพาดพิงดูแคลนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชนชาติทางสังคมหรือสัญชาติหนึ่ง ๆ
  • (ค) การกล่าวหาความไม่เหมาะสมอย่างสะเพร่า
  • (ง) การเหยียดหยามผู้เขียนด้วยกัน ซึ่งรวมการใช้ความย่อการแก้ไขหรือโพสต์หน้าพูดคุยเชิงตัดสิน (เช่น "นี่เป็นสิ่งที่โง่เง่าที่สุดที่ฉันเคยเห็น", "สวะจริง ๆ")

2. พฤติกรรมอนารยะอื่น

  • (ก) ยั่วยุหรือหลอกล่อ คือ จงใจผลักดันผู้อื่นจนถึงจุดที่ละเมิดอารยธรรมแม้ว่าดูไม่ละเมิดด้วยตัวเอง ผู้เขียนทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในกรณีหลอกล่อ ผู้ใช้ที่ถูกล่อไม่ถูกกล่าวโทษหากเขาโจมตีตอบโต้ และผู้ใช้ที่หลอกล่อไม่ถูกกล่าวโทษจากการกระทำของตนจากความจริงที่ว่าผู้ใช้อื่นติดเหยื่อล่อนั้น
  • (ข) การก่อกวน ซึ่งรวมถึงการไล่ล่าผู้เขียนในหน้าต่าง ๆ (Wikihounding) อันธพาล การขู่บุคคลหรือทางกฎหมาย การโพสต์สารสนเทศส่วนบุคคล การโพสต์อีเมลหรือสเปซผู้ใช้ซ้ำ ๆ
  • (ค) การคุกคามทางเพศ
  • (ง) การโกหก
  • (จ) การยกคำพูดของผู้เขียนอื่นนอกบริบทเพื่อให้ความประทับใจว่าเขามีมุมมองที่เขาไม่ได้มี หรือเพื่อใส่ร้ายเขา

สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ

นอกเหนือจากว่าคุณมีหลักฐานที่หนักแน่นและชัดเจน ให้คุณตั้งสมมุติฐานไว้เสมอว่า บุคคลทั้งหลายที่เข้ามาในวิกิพีเดียมีความต้องการที่จะปรับปรุงวิกิพีเดีย ไม่ใช่ทำลายมันลง ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ และส่วนใหญ่แล้ว การตักเตือนกันตามปกติก็จะสามารถแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้ แต่เมื่อเกิดความไม่เห็นด้วยที่เต็มไปด้วยความยุ่งยาก คุณก็ควรที่จะเชื่อว่าไม่มีใครไม่สุจริตใจอยู่เช่นกัน

ความพยายามที่จะเชื่อในส่วนที่ดีของชาววิกิพีเดียจะเป็นการกำจัดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากชาววิกิพีเดียทั้งหมดสื่อสารกันผ่านทางตัวอักษร โดยที่ไม่ได้ยินเสียงหรือสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ในการพูดคุยกันต่อหน้า

การจัดการกับความอนารยะ

การลบความเห็นอนารยะ

เมื่อการแก้ไขของคุณได้รับการพิจารณาว่าไม่เป็นอารยะ คุณสามารถลดผลกระทบของมันลงได้โดย:

  • เมื่อผู้ใช้คนอื่นไม่เข้าใจ และรุกรานความเห็นของคุณ ซึ่งไม่มีใครเจตนานั้น ให้คุณอธิบายให้ชัดเจนด้วยความใจเย็น
  • ขีดฆ่าความเห็นของคุณออก (โดยใช้เครื่องหมายขีดฆ่า <s>...</s>) เพื่อแสดงให้ส่วนรวมเห็นว่าคุณได้เก็บคำพูดของคุณแล้ว
  • ลบความเห็นของคุณออกอย่างเงียบ ๆ หรือแก้ไขการเขียนของคุณให้เป็นอารยะมากขึ้น - ซึ่งเปิดความคิดที่ดีถ้าคุณสามารถแก้ไขมันก่อนที่ผู้ใช้คนอื่นจะเข้าใจเช่นนั้น แต่ถ้าหากมีผู้ใช้คนอื่นได้มาพบเห็นความเห็นอันไม่เป็นอารยะของคุณแล้ว คุณควรจะยอมรับในความย่อการแก้ไขว่าคุณได้เปลี่ยนแปลงความเห็นของคุณไปเรียบร้อยแล้ว
  • กล่าวขอโทษอย่างง่าย ๆ ทางเลือกนี้ไม่เคยทำให้ใครต้องรู้สึกแย่ลง และอาจเป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ใช้คนอื่นอีกด้วย ถึงแม้ว่าคุณจะเชื่อมั่นว่าความเห็นของคุณเป็นการถูกต้องแล้ว หรือแม้กระทั่งเมื่อมีผู้ใช้เข้าใจผิดความหมายของคุณ คุณก็ยังคงสามารถกล่าวขอโทษ เพื่อเป็นการยุติการกระทำผิดใด ๆ ได้

ส่วนในกรณีที่เป็นความหยาบคาย หรือความไม่สุภาพในส่วนที่เป็นของผู้ใช้คนอื่น โดยปกติแล้ว การพูดคุยกับผู้ใช้คนนั้นในประเด็นเกี่ยวกับการใช้คำเป็นการกระทำที่เหมาะสม และขอให้ผู้ใช้คนนั้นเปลี่ยนแปลงคำของตน สำหรับบางส่วน การเอาใจใส่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ทว่าในความพยายามที่จะไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปมากกว่านี้ คุณอาจจะแก้ไขหรือลบการแก้ไขของผู้ใช้คนนั้น แต่ไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ยกเว้นแต่ว่าเป็นการย้อนการก่อกวนที่เห็นได้ชัดเจน หรือเมื่อความเห็นนั้นปรากฏอยู่ในหน้าพูดคุยของคุณเอง

การกล่าวขอโทษ

ข้อพิพาท หรือแม้กระทั่งความไม่เข้าใจระหว่างกัน สามารถนำไปสู่สถานการณ์ซึ่งเกิดความบาดหมางระหว่างกัน การกล่าวขอโทษเป็นหนึ่งในรูปแบบของการคืนดีกันระหว่างคู่กรณี

สำหรับคนบางกลุ่มแล้ว มันอาจเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้รับคำขอโทษจากผู้ที่รุกรานก่อน ความต้องการคำขอโทษนี้เกือบจะไม่มีประโยชน์และมักจะขยายสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลายออกไปหลายครั้ง ถึงแม้ว่าการร้องขอความสุภาพ และเจตนาที่ดีในการกล่าวขอโทษนี้จะเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ก็ตาม การเสนอคำขอโทษเป็นสิ่งที่ดีกว่า และสามารถเป็นหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้ คำขอโทษเป็นการมอบโอกาสให้กับการเริ่มต้นใหม่ และทำลายบรรยากาศอันไม่ดีในวิกิพีเดียไปเสีย

การบล็อกเหตุอนารยะ

การบล็อกเหตุอนารยะสามารถกระทำได้เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการรบกวนการสร้างสารานุกรม อย่างไรก็ดีนโยบายเกี่ยวกับการประพฤติเยี่ยงอารยชนไม่มีความประสงค์จะให้เป็นผลร้าย และการบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะไม่ควรเป็นสิ่งแรกที่พึงกระทำ เว้นแต่ในบางกรณี ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้

  1. ให้คำนึงถึงประวัติการแก้ไขทั้งปวงโดยรอบด้าน หลีกเลี่ยงการมองภาพรวมกว้าง ๆ โดยมิได้ทำความเข้าใจกับภูมิหลังต่อสถานการณ์
  2. พิจารณาข้อดีในการเลือกใช้หนทางอื่น ๆ ก่อนเลือกบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะ การลงโทษโดยอาศัยเหตุอนารยะควรใช้เมื่อหมดหนทางอื่นแล้ว เนื่องจากการบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะโดยไม่คำนึงให้ดีก่อนจะทำให้ข้อพิพาทแย่ลงและทำให้การรบกวนปรากฎมากขึ้น พึงระลึกว่าการลงโทษสามารถอาศัยเหตุผลอื่น เช่น รบกวนการสร้างสารานุกรม ให้ร้ายผู้อื่น แก้ไขโดยไม่เป็นกลาง หรือก่อให้เกิดความรำคาญ ได้
  3. การบล็อกด้วยเหตุอนารยะควรเป็นกรณีที่ชัดแจ้ง ไม่เป็นข้อพิพาทว่าได้มีการกระทำการอันอนารยะ เป็นต้นว่าผู้แก้ไขกระทำการเกินเลยเกินไปจนผู้แก้ไขคนอื่นเห็นได้ว่าเป็นเช่นนั้น หากในกรณีที่อาจไม่เป็นเช่นว่า หรือในกรณีที่ว่าการใช้เครื่องมีอผู้ดูแลระบบกับผู้อนารยะนั้นจะก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ให้มีการพูดคุยกันก่อนผ่านทางหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบก่อนที่จะมีการลงโทษใด ๆ ทั้งนี้พึงชั่งน้ำหนักว่าระหว่างความเป็นไปได้ในการรบกวนจากผู้แก้ไขในระหว่างการพิจารณาคำขอทบทวนการบล็อกหรือปลดบล็อก กับผลประโยชน์จากการบล็อกที่ยาวนานหรืออาจเป็นประเด็นพิพาทในประเด็นว่าด้วยความไม่เป็นอารยชน อย่างใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
  4. ผู้ใช้เช่นว่าควรได้รับการเตือนโดยลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะถูกบล็อกเหตุอนารยะ และควรเปิดโอกาสให้มีเวลาเพื่อถอนคำพูดหรืออภิปรายการกระทำที่ไม่เป็นอารยชนดังกล่าว แม้ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก็ไม่ควรถูกบล็อกโดยไม่ต้องเตือนก่อน เว้นแต่ว่าผู้ใช้เช่นว่าจะได้กระทำการละเมิดหรือข่มขู่อย่างชัดแจ้ง หรือผู้ใช้ได้รับการเตือนหลายครั้งแล้ว กรณีดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีการเตือน

ข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิได้หมายความว่าการบล็อกเหตุอนารยะไม่ควรเกิดขึ้นหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย แต่การบล็อกโดยทันทีจะใช้ในกรณีซึ่งอนารยะอย่างชัดแจ้ง ทำให้เกิดการรบกวนการสร้างสารานุกรมอย่างชัดเจน การให้ร้ายผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญ อนึ่ง เช่นเดียวกับการบล็อกประเภทอื่น การบล็อกโดยเหตุดังกล่าวนี้ควรเป็นการบล็อกเพื่อการป้องกันความเสียหาย มิใช่บล็อกเพื่อลงโทษ

ดูเพิ่ม