วิกิพีเดีย:หุ่นเชิด

นโยบาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
หลักการสากล
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
พฤติกรรม
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายการเขียน
สงครามแก้ไข
ความเป็นเจ้าของบทความ
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
เนื้อหา
มุมมองที่เป็นกลาง
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การพิสูจน์ยืนยันได้
หลักการตั้งชื่อบทความ
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
การลบ
นโยบายการลบ
เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
กฎข้อบังคับ
ผู้ดูแลระบบ
นโยบายการบล็อกผู้ใช้
บอต
นโยบายการล็อก
หุ่นเชิด
ชื่อผู้ใช้
การก่อกวน
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
นโยบายการใช้ภาพ
เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

ปกติเราคาดหมายให้ผู้เขียนแก้โดยใช้บัญชีเดียว เพื่อเพิ่มภาระความรับผิดและเพิ่มความเชื่อมั่นของชุมชน แม้การใช้หลายบัญชีในบางกรณีสมเหตุสมผล แต่การใช้หลายบัญชีในทางมิชอบ (ที่เรียกว่า หุ่นเชิด) อันได้แก่ พยายามหลอกลวงหรือชักจูงให้ผู้เขียนอื่นเข้าใจผิด รบกวนการอภิปราย ทำลายความเห็นพ้อง หลบวิธีการบังคับ เลี่ยงการบล็อก หรือละเมิดมาตรฐานและนโยบายของชุมชน

การเชิดหุ่นมีได้หลายแบบ เช่น

  • ออกจากระบบแล้วใช้ที่อยู่ไอพีลงมือแก้ไขที่มีปัญหา
  • สร้างบัญชีใหม่เพื่อหลบการตรวจพบ
  • ใช้บัญชีของบุคคลอื่น
  • รื้อฟื้นบัญชีเก่าที่เลิกใช้แล้ว แล้วปฏิบัติเหมือนกับเป็นผู้ใช้อีกคน

การใช้หลายบัญชีในทางมิชอบเป็นการละเมิดความเชื่อมั่นของชุมชนอย่างร้ายแรง อาจนำไปสู่

  • การบล็อกบัญชีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • การเปิดเผยบัญชีและเลขที่อยู่ไอพีทั้งหมดที่ใช้ในวิกิพีเดียและโครงการพี่น้อง
  • การเปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งกิจกรรม "โลกจริง" หรือสารสนเทศส่วนบุคคลที่พิเคราะห์แล้วว่าเกี่ยวข้องต่อการป้องกันการเชิดหุ่นในอนาคตหรือการละเมิดอื่น ๆ บางอย่าง (ที่เป็นไปได้)

ผู้เขียนคนใดที่ใช้หลายบัญชีในทางที่ชอบควรแสดงรายการบัญชีอื่นทั้งหมดในหน้าผู้ใช้ของทุกบัญชีพร้อมคำอธิบายวัตถุประสงค์ (ดูข้างล่าง) หรืออีกทางหนึ่ง ให้ผู้ใช้และหน้าคุยของผู้ใช้ของบัญชีอื่นนอกจากบัญชีหลักเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ผู้เขียนที่ใช้บัญชีอื่นที่ไม่เชื่อมโยงกัน หรือแก้ไขเป็นเลขที่อยู่ไอพีแยกจากบัญชีของตนควรเลี่ยงการเปลี่ยนไปมาในบทความหรือหัวข้อ เพราะกิจกรรมไม่อันตรายอย่างการพิสูจน์อักษร การจัดรูปแบบวิกิหรือการลิงก์ อาจถือเป็นการเชิดหุ่นในบางกรณี และเจตนาไม่อันตรายใช้เป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

กรณีที่ห้ามใช้หลายบัญชี

ลงคะแนน
ในวิกิพีเดียใช้หลักการ "หนึ่งคะแนนเสียงต่อหนึ่งคน" จึงไม่สมควรอย่างยิ่งในการสมัครชื่อใหม่และมาทำการโหวตเพื่อสนับสนุนให้ชนะผลการลงคะแนน หรือแสดงความเห็นทำให้การลงคะแนนต้องหยุดหรือเลื่อนออกไป ดังนั้นการลงคะแนนจากไอพีหรือผู้ใช้ใหม่อาจไม่ได้รับการพิจารณา
ร่วมแก้ไขบทความ
ไม่ควรใช้หลายชื่อบัญชีในการแก้ไขบทความเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกชื่อได้เขียนบทความในทิศทางเดียวกัน (โดยผู้เขียนคนเดิม) ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดความเป็นกลางแล้ว ยังทำให้เกิดการสับสนต่อผู้อื่นที่ร่วมแก้ไข
ด้านสว่าง-ด้านมืด
การใช้สองชื่อบัญชีหรือมากกว่านั้น เพื่อแยกการแก้ไขหนึ่งเป็นการแก้ไขที่ดี ส่วนอีกชื่อหนึ่งเป็นการแก้ไขที่เจตนาว่าร้ายผู้อื่น แสดงความคิดเห็นหรือใช้แก้ไขบทความที่ขัดกับนโยบาย กรณีนี้รวมไปถึงผู้ดูแลระบบ ไม่สมควรที่จะมีหลายชื่อบัญชีเพื่อต่อกรกับผู้ก่อกวน
ก่อกวนและกลั่นแกล้ง
การกระทำที่จัดว่าเป็นการก่อกวน ไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อสารานุกรม ผู้เขียน และผู้อ่าน หากคุณอยากช่วยพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เรายินดีต้อนรับเสมอ
เลี่ยงนโยบาย
นโยบายใช้กับบุคคล ไม่ใช่ใช้กับบัญชีเดียว ตัวอย่างเช่น นโยบายสงครามแก้ไขใช้กับการแก้ไขของบุคคล ตัวอย่างเช่น ใช้บัญชีที่สองมาทำสงครามแก้ไขต่อจากบัญชีแรก ในกรณีนี้บทลงโทษใด ๆ ต่อบัญชีที่สองจะมีผลต่อบัญชีหลักด้วย
อภิปรายโดยใช้หลายบัญชี
ห้ามใช้หลายบัญชีเพื่อร่วมการอภิปรายเดียวกันในทางที่ทำให้คนอื่นเข้าใจว่ามีหลายคน
เลี่ยงการตรวจสอบใกล้ชิด
การใช้บัญชีที่สองเพื่อแบ่งประวัติการแก้ซึ่งทำให้ผู้เขียนอื่นไม่สามารถตรวจจับรูปแบบการมีส่วนร่วม

การใช้หลายบัญชีที่ยอมรับได้

ถึงแม้ว่าทางวิกิพีเดียจะไม่สนับสนุนการใช้งานหุ่นเชิด บางกรณียอมรับได้ เช่น

  • ทดสอบ: สร้างชื่อบัญชีใหม่เพื่อทดสอบระบบการต้อนรับผู้ใช้ใหม่ และการตอบสนองจากชุมชน
  • แบ่งการแก้ไขของตนเอง โดยผู้ใช้บางคนที่ต้องการมีชื่อบัญชีมากกว่าหนึ่งชื่อ เพื่อเข้าร่วมในสองโครงการหรือมากกว่าอย่างแยกกันต่างหาก เช่นการร่วมเขียนบทความ และการร่วมพัฒนาโครงการ ทางวิกิพีเดียแนะนำว่าให้ทำลิงก์เชื่อมโยงทั้งสองบัญชีนั้นแสดงว่าผู้ใช้คนนี้เป็นคนเดียวกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดตามมาทีหลังได้
  • ความปลอดภัย: สร้างชื่อผู้ใช้ใหม่ในกรณีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรืออินเทอร์เน็ตคาเฟ่ โดยไม่ได้ใช้ชื่อบัญชีหลักเพื่อป้องกันการขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน บัญชีดังกล่าวควรเชื่อมถึงบัญชีหลักสาธารณะ หรือใช้ชื่อที่ระบุได้ง่าย เช่น ผู้ใช้:ตัวอย่าง และ ผู้ใช้:ตัวอย่าง (สำรอง)
  • บอต เป็นโปรแกรมกึ่งอัตโนมัติที่แก้ไขวิกิพีเดีย

การสังเกตและจัดการหุ่นเชิด

หุ่นเชิดในวิกิพีเดีย
นโยบายเกี่ยวกับหุ่นเชิด
แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด
หน้าแจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด
การจัดการด้วยวิธีอื่น
รายงานการก่อกวนโดยทั่วไปรายงานการก่อกวนต่อเนื่องยาวนานตรวจสอบผู้ใช้แจ้งผู้ดูแลระบบอนุญาโตตุลาการ
ดูเพิ่ม
หมวดหมู่

หุ่นเชิดมักจะมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายหลายอย่างเช่น คุ้นเคยกับคำสั่งวิกิพีเดียหรือแม้แต่เขียนคำอธิบายอย่างย่อ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับบทความที่กำลังเป็นที่ถกเถียงหรือกำลังเป็นที่แก้ไขได้ทันที รวมไปถึงการออกความเห็นหรือร่วมโหวตในส่วนของ บทความคัดสรร บทความคุณภาพ และภาพคัดสรร

หุ่นเชิดนอกจากแสดงความเห็นสนับสนุนของตัวคนเชิดแล้ว บางครั้งยังอาจแสดงความเห็นขัดแย้งอย่างแรงเพื่อให้เจ้าของหุ่นเชิด แสดงความเห็นคัดค้านที่โดดเด่นและเป็นที่ประทับใจได้ หุ่นเชิดประเภทนี้มักจะระบุได้ยาก เพราะมักจะมาแสดงความเห็นเพียงหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง และจะไม่ทำการล็อกอินอีกต่อไป

แม้กระนั้นก็มีผู้ใช้หลายคนที่ศึกษาวิกิพีเดียมาเป็นเวลาหนึ่ง หรือมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียภาษาอื่น แต่ไม่เคยมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียไทย อาจจะเข้ามาแก้ไขบทความที่กำลังเป็นที่นิยม หรือกำลังเป็นที่โต้เถียงอย่างรุนแรง ซึ่งผู้ใช้กลุ่มนี้อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นหุ่นเชิดได้

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ เรียงความเรื่อง "จุดสังเกตของหุ่นเชิด" (อังกฤษ)

การจัดการ

ถ้าโดนก่อกวนให้รายงานชื่อผู้ใช้งานและตัวหุ่นเชิดได้ ที่ด้านล่างของหน้านี้ ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยผู้ใช้อื่นหรือทางผู้ดูแลระบบ ถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงทางหน่วยงานวิกิมีเดียสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูลได้ ซึ่งไม่ขัดแย้งกับ นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

ถ้าคุณถูกแจ้งว่าเป็นหุ่นเชิดของคนอื่น อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเวลาและผลงานของคุณจะเป็นเครื่องพิสูจน์เอง

ชื่อบัญชีที่เป็นตัวหุ่นเชิดควรถูกบล็อกอย่างไม่มีกำหนดและห้ามใช้งานอีกต่อไป สำหรับชื่อผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของหุ่นเชิดนั้นอาจถูกบล็อกหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ดูแลระบบ เลขที่อยู่ไอพีที่ใช้เชิดหุ่นอาจถูกบล็อกด้วย

รายงานหุ่นเชิด

เมื่อพบหุ่นเชิดให้รายงานไว้ที่ หน้าแจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด

ดูเพิ่ม