โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (อังกฤษ: Mathayomwatsing school) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขึ้นกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 35ก หมู่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ 37 ไร่ ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ | |
---|---|
Mathayomwatsing School | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ว.ส. |
ประเภท | สหศึกษา |
คติพจน์ | เรียนรู้คู่คุณธรรม ล้ำหน้าทางเทคโนโลยี มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล |
สถาปนา | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 |
เขตการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 00103502 |
ผู้อำนวยการ | เทพพร อาจเวทย์ |
สี | ชมพู-เขียว |
ดอกไม้ | ชมพูพันธุ์ทิพย์ |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496 ตั้งอยู่บนเลขที่ 35 ก. หมู่ 3 ถนนเอกชัย ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (ม.ว.ส) แต่เดิมชื่อ โรงเรียนวัดสิงห์ (ว.ส) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม (ส.พ.) เมื่อปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (ม.ว.ส) เมื่อ ปี พ.ศ. 2538
ในปัจจุบันเป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 35 ก. หมู่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 37 ไร่ 100 ตารางวา โดยเช่าที่ดินของวัดสิงห์ (จอมทอง) ส่วนหนึ่ง และเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์อีกส่วนหนึ่ง โดยบริเวณรอบข้างโรงเรียนประกอบไปด้วยสถานที่ราชการสำคัญต่าง ๆ เช่น ศาลแขวงธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 สำนักงานคดีแพ่งธนบุรี สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุดธนบุรี ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนเทียน สถานีตำรวจบางขุนเทียน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นต้น
โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อเกิดขึ้นจากการผลักดันของบุคคลอำเภอบางขุนเทียนที่ต้องการให้มีสถานศึกษาในเขตพื้นที่ทางตะวันตก และพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอบางขุนเทียน เพื่อทดแทนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม (โรงเรียนวัดราชโอรส) ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกของอำเภอบางขุนเทียน และพื้นที่ทางตอนบนของอำเถอบางขุนเทียน และพื้นที่รอบข้างในจังหวัดธนบุรีซึ่งตั้งอยู่ก่อนแล้ว โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อตั้งโดยบุคคลากรสำคัญ ในอำเภอบางขุนเทียนที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลานในอำเภอ ได้แก่ พระครูอุดมสิกขกิจ เจ้าอาวาสวัดสิงห์ในสมัยนั้น นายไข่ บุนปาน ศึกษาธิการอำเภอบางขุนเทียน นายหงิม เก็บไว้ เป็นต้น
โรงเรียนเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เริ่มต้นเปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียน 47 คน ครู 4 คน โดยมี ครูหงิม เก็บไว้ เป็น ครูใหญ่คนแรก ในระยะแรกโรงเรียน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวหลังคามุงจาก จำนวน 1 หลัง การทำกิจกรรมต่าง ๆ จึงต้องอาศัยศาลาโรงทึมที่วัดสิงห์อยู่เสมอซึ่งท่านพระครูฉ่อง (พระครูอุดมสิกขกิจ) เจ้าอาวาสวัดสิงห์ในสมัยนั้นท่านได้ให้ความกรุณา อุปถัมภ์โรงเรียนตลอดมา โรงเรียนได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีการก่อสร้าง อาคาร เรียนเพิ่มเติมหลายหลัง
ในช่วงแรกเริ่ม อาจกล่าวได้ว่าโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ตั้งอยู่ในสวนแถบชานเมืองของจังหวัดธนบุรี รอบบริเวณเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ส้มบางมด ฝรั่งและผลไม้อื่น ๆ สภาพโรงเรียนยังเป็นเรือนไม้ พื้นที่ยังมีลักษณะเป็นสวน ทำนา การเดินทางมาโรงเรียนสมัย ก่อนต้องอาศัยรถไฟ รถราง ซึ่งวิ่งตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่ จนถึงสถานีมหาชัยหรือไม่ฉะนั้นก็เดินทางมาทางเรือโดยมีคลองวัดสิงห์ คลองบางบอน คลองสนามชัยหรือไม่ก็เดินมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2506 มีการสร้างถนนรถยนต์ขึ้น เรียกว่า ถนนเอกชัย ซึ่งตัดถนน ตั้งแต่ถนนจอมทองในจังหวัดธนบุรี (กรุงเทพในปัจจุบัน) ถึงถนนพระรามที่ 2 ช่วงอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บรรดาลูกสิงห์จึงเปลี่ยนความนิยมมาใช้บริการรถยนต์โดยสารกันเป็น ส่วนใหญ่ จึงทำให้มีนักเรียนทั่วพื้นที่ธนบุรี และในพื้นที่มหาชัยในจังหวัดสมุทรสาคร เข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก
ส่วนสภาพพื้นที่ของโรงเรียน ก็ได้รับการปรับปรุงเรื่อยมาจากท้องร่องสวนที่มีน้ำเจิ่งนอง ก็กลายเป็นสนามฟุตบอล กว้างใหญ่ จากทางดินที่เป็นดินโคลน ก็กลายมาเป็นถนนคอนกรีต และได้รับการปรับแต่งบรรยากาศสภาพแวดล้อมมีต้นไม้ ที่ร่มรื่น สวยงาม
อาคารเรียนในปัจจุบัน
แก้เรือนพิมพ์รำลึก
แก้- เรือนไม้สองชั้นทรงไทย ตั้งอยู่ในสระน้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งคุณยายพิมพ์ จันแต้ เป็นผู้บริจาคเงินก่อสร้าง แต่เดิมเป็นห้องดนตรีไทย ปัจจุบันเป็นอาคารรุ่นบุกเบิกอาคารเดียวที่ดำรงคงอยู่ และกลายเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงจิตใจ "ลูกสิงห์" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้
อาคาร 1
แก้- เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นอาคารเรียนแบบตึกหลังแรก ตั้งขวางอยู่กึ่งกลางของพื้นที่ เป็นที่ตั้งของสำนักงานผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ ห้องสมุด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนวิชาบริหารธุรกิจ
อาคาร 2
แก้- เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ริมสระน้ำ เป็นอาคารต่อเชื่อม ระหว่างอาคาร 1 กับอาคาร 3 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส วิชาภาษาจีน วิชาภาษาญี่ปุ่นและห้องเรียน English Program
อาคาร 3 อาคารอุดมสิกขกิจ
แก้- เป็นอาคาร 4 ชั้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นที่ตั้งของสำนักงาน English Program กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสร์ กลุ่มวิชาเกษตรกรรม ห้องแนะแนว และวิชาสุขศึกษา
อาคาร 4 อาคารอุตสาหกรรม
แก้- เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ริมรั้วทางด้านทิศตะวันออกขนานกับอาคาร 2 เป็นที่ตั้งของกลุ่มวิชาอุตสาหกรรมและการออกแบบ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
อาคาร 5
แก้- เป็นอาคาร 2 ชั้น และเป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516–2517 ตั้งอยู่ขนานกับรั้วทางเข้าวัดสิงห์แต่เดิมเป็นอาคารวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
อาคาร 6 อาคารวิบูลวัฒนวิธาน
แก้- เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ตั้งอยู่ริมรั้วติดทางรถไฟขนานกับตึกอุดมสิกขกิจ เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
อาคาร 7
แก้- อาคารวิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 ตั้งอยู่ริมรั้วด้านทิศตะวันออกขนานกับสนามหญ้า เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Gifted education program in science math and english:GEPSME)
เรือนประชาสัมพันธ์
แก้- สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ตั้งอยู่ริมประตูทางเข้าโรงเรียนด้านซอยวัดสิงห์ โดยอาจารย์แสงอรุณ ปานฑุเดช เป็นผู้บริจาคเงินค่าก่อสร้าง ต่อมาได้รับการต่อเติมในปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับเงินบริจาคจากอาจารย์ดิลก เอี่ยมพิภักดิ์ และเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้ทุบและสร้างเรือนประชาสัมพันธ์ขึ้นใหม่
อาคารหอประชุม
แก้- สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อปี 2552 ได้ทำการปรับปรุงทั้งภายใน และภายนอก โดยชั้นล่างเป็นห้องดนตรีสากล และห้องเทควันโด
อาคารอเนกประสงค์ (โรงยิม)
แก้- ตั้งอยู่ริมรั้ว หลังอาคารหอประชุม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นบนเป็นโรงยิม และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ภายในบริเวณโรงเรียน
แก้โรงเรียนมีสนามกีฬามากมาย เช่น สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามเทนนิส สนามเปตอง เป็นต้น มีสระบัวขนาดใหญ่ 2 สระ ที่บริเวณอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ และบริเวณระหว่างสวนธรรมมะ และอาคาร 2 สวนวิทย์ฯ สวนธรรมมะ ลานประดู่ คือบริเวณที่นักเรียน มักจะมาไปพักผ่อน แปลงเกษตร อยู่บริเวณข้างอาคาร 4
รายชื่อผู้บริหารโรงเรียน
แก้ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายหงิม เก็บไว้ | พ.ศ. 2496–2503 |
2 | นายยงยุทธ โคตมะ | พ.ศ. 2503–2505 |
3 | นายจรันต์ เศรษฐบุตร | พ.ศ. 2505–2511 |
4 | นางกตัญญู ยอแสงรัตน์ | พ.ศ. 2511–2512 |
5 | นางกรรณี หังสนาวิน | พ.ศ. 2512–2516 |
6 | นางวรณี ศิริบุญ | พ.ศ. 2516–2520 |
7 | นางประจวบ ชำนิประศาสน์ | พ.ศ. 2520–2526 |
8 | นายสำราญ รัตนวิทย์ | พ.ศ. 2526–2531 |
9 | นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ | พ.ศ. 2531–2539 |
10 | นายครรชิต ตรานุชรัตน์ | พ.ศ. 2539–2543 |
11 | นายประเสริฐ กมลนาวิน | พ.ศ. 2543–2545 |
12 | นายไพโรจน์ สุวรรณภักดี | พ.ศ. 2546–2548 |
13 | นายสมศักดิ์ โคกทอง | พ.ศ. 2548–2555 |
14 | นายประมาณ ชูพิพัฒน์ | พ.ศ. 2555–2558 |
15 | นายสุพจน์ หล้าธรรม | พ.ศ. 2558–2561 |
16 | ดร.บุณยพงศ์ โพธิวัฒน์ธนัต | พ.ศ. 2561–2563 |
17 | นายเทพพร อาจเวทย์ | พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน |
เหตุการณ์บุกรุกโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ปี พ.ศ. 2562
แก้เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เกิดเหตุการณ์วัยรุ่นจำนวนมาก ได้บุกรุกเข้าไปในโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ระหว่างดำเนินการสอบ GAT-PAT ทำให้ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก มีการทำร้ายร่างกายครู นักเรียน และ บุคลากรจำนวนหนึ่ง รวมทั้งยังมีการกระทำอนาจารกับนักเรียนหญิงด้วย สาเหตุที่ก่อเหตุคือไม่พอใจ ที่ทางโรงเรียนขอความร่วมมือไม่ให้เปิดเพลงเสียงดังในงานบวช กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวจึงก่อเหตุอุกอาจ เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ที่ไม่พอใจที่ถูกห้ามไม่ให้เปิดเพลง กอปรกับการดื่มสุราด้วย[1]
ในวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ศาลอาญาธนบุรีอนุมัติหมายจับ ซึ่งรายชื่อบุคคลตามหมายจับ มีดังนี้
- นายวัลลภ นุชแฟง อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.108/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายจีรศักดิ์ นีละเสวี อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.109/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายสมชาย แก้วสิมมา อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.110/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายชัชศิริ แซ่โง้ว อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.111/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายธวัช สดำพงษ์ อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.112/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายณัฐพงศ์ นุชแฟง อายุ 18 ปีเศษ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.113/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายมนตรี พูลทรัพย์ อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 114/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายวรภัทร พินิจปรีชา อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.115/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายอนุกูล สังข์ศรี อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 116/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายจิรายุทธ อาจอาสา อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.117/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายธิติ ไวยสุกรี อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 118/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายเมืองแมน นิลโพธิ์ทอง อายุ 18 ปีเศษ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.119/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายชาติสยาม จันทรวิภาค อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.120/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายวิโรจน์ คำชาย อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 121/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายดลราม เก่งวิชา อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.122/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายขวัญชัย สุขเสมอ อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ 123/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายศรายุทธ นุชแฟง อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.124/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายเอกลักษณ์ พูลทรัพย์ อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.125/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายไน้ท จ้อยเจริญ อายุ 20 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.126/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- นายชนะชัย ใจหล้า อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.127/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562[2]
โดยทั้งหมดถูกออกหมายจับในความผิดฐาน ”ร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป”
ในวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คน โดยแบ่งเป็นผู้ต้องหาทั่วไป 20 คน และ ผู้ต้องหาเยาวชน 4 คน โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการทั้งหมด 6 ข้อหา เช่น
- ร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
- ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
- ร่วมกันทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
- ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลในวัด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[3][4]
ในส่วนของผู้ต้องหาที่ถูกผู้เสียหายชี้ตัวในคดีลวนลามจะถูกแจ้งข้อหากระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด หรือใช้กำลังประทุษร้ายโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ตำรวจจะทำการสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อสืบหาผู้ต้องหาที่ได้กระทำผิดต่อไป
ผลสืบเนื่อง
แก้ในเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากผู้ปกครองของนักเรียนสาวที่ถูกลวนลามนั้นเป็นสมาชิกกลุ่มใจถึงพึ่งได้ของวัน อยู่บำรุง โดยสองสกุลอดีตศิษย์เก่าโรงเรียนเป็นผู้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นดังกล่าว และต่างต้องการกลับมาชิงอำนาจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น สกุลม่วงศิริ (พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย) สกุลอยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) ซึ่งต่างเป็นอริทางการเมืองกันอยู่แล้ว และยังมีผู้ลงสมัครพรรคภูมิใจไทยเขตบางคอแหลมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้การลงชิงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี และจังหวัดสมุทรสาครนั้นดุเดือดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางบอน เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตทุ่งครุ และจังหวัดสมุทรสาคร
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- สายบันเทิง
- รุ่งรัตน์ เหม็งพานิช (ไข่มุก) นักร้อง
- พรชนก เลี่ยนกัตวา (ปิ่น) รองชนะเลิศเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 12
- กิติพัฒน์ พิมพ์เกษมโสภณ (เพียว) พิธีกรรายการ ช่อง 9 การ์ตูน และรายการ Mcot kids club
- ฌิน ศุรศิริน (ชิน) อดีตพิธีกรรายการ OIC แชมป์แข่งขันคณิตศาสตร์ รายการไอคิว 180
- ศรายุทธ ลูกอิน นักร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์
- ภวัต โอภาสสิริโชติ (เบนซ์) นักร้องนำ/กีตาร์ วง Dept
- นันทกร พันธ์วุ้น (เกม) มือเบส วง Blackbeans
- วรพัทธ์ การะเกตุ (พี) มือกีตาร์ วง Yew และนักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์
- อักษร เบ็ญจนิรัตน์ (ใบเตย) ผู้เข้าประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2022 ตัวแทนมิสแกรนด์สตูล
- สายข้าราชการและนักการเมือง
- พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ (บิ๊กบี้) ผู้บัญชาการทหารบก
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- อาจารย์ ลำเนา อยู่บำรุง ภรรยาของร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีตที่ปรึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร
- นวรัตน์ อยู่บำรุง อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม
- สัก กอแสงเรือง อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- อุดมศักดิ์ นิติมนตรี อดีตประธานกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, อดีตรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งและพาณิชย์
- ประเสริฐ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
- กำนัน ประพันธ์ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางบอน
- สุเทพ ม่วงศิริ ประธานสภาวัฒนธรรมเขตบางบอน
- วันทิพย์ เครือคล้าย ประธานสภาวัฒนธรรมเขตจอมทอง
- นิธิกร บุญยกุลเจริญ (ปาล์ม) ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เขตบางบอน
- ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย
- สายกีฬา
- นาวาเอก ประพันธ์ ด้วงชะอุ่ม นักมวยสากลสมัครเล่น เหรียญทองรุ่นไลท์ฟลายเวท กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ คนแรกของประเทศไทย
- เถลิง อยู่บำรุง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บอสส์ บ๊อกซิ่ง 2000 จำกัด และ กรรมการผู้จัดการเวทีมวยสยามอ้อมน้อย
- ณัฐกร โพธิ์ขาว (ปลากัด ป.พีณภัทร) แชมป์มวยรอบฟุกเทียนกรุ๊ป ครั้งที่ 12
- นิคม น้อยพันธ์ (เพชร ลูกมะขามหวาน) อดีตแชมป์รุ่นมินิมั่มเวต 105 ป. เวทีมวยราชดำเนิน, อดีตแชมป์ S-1 World Championship วันทรงชัย รุ่นไลท์ฟลายเวท 108 ป., อดีตแชมป์รุ่นแบนตั้มเวท 118 ป. เวทีมวยสยามอ้อมน้อย, อดีตแชมป์รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท 122 ป. ช่อง 7 สี
- ภาคภูมิ ศรีหาวงศ์ (นิล ลูกมะขามหวาน) อดีตแชมป์ Max Muay Thai รุ่น 61 กิโลกรัม
- ไผทมาส เหมือนวงศ์ นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภททีมหญิงและทีมชาย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ณ ประเทศเวียดนาม
- นันทกานต์ ยอดไพสง นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภททีมหญิงและทีมชาย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ณ ประเทศเวียดนาม