เขตบางขุนเทียน

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลบางขุนเทียน)

บางขุนเทียน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) ยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่

เขตบางขุนเทียน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Khun Thian
ถนนพระรามที่ 2 ถ่ายจากหน้าเซ็นทรัลพระรามที่ 2 มองไปทิศตะวันออก
ถนนพระรามที่ 2 ถ่ายจากหน้าเซ็นทรัลพระรามที่ 2 มองไปทิศตะวันออก
คำขวัญ: 
หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางขุนเทียน
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางขุนเทียน
พิกัด: 13°39′39″N 100°26′9″E / 13.66083°N 100.43583°E / 13.66083; 100.43583
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด120.687 ตร.กม. (46.598 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด185,159[1] คน
 • ความหนาแน่น1,534.21 คน/ตร.กม. (3,973.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10150
รหัสภูมิศาสตร์1021
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 164 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangkhunthian
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตบางขุนเทียนตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย คลองวัดสิงห์ คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองบางเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์ แก้

อำเภอบางขุนเทียน เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งใน พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดใน พ.ศ. 2508

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ

ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองใน พ.ศ. 2532 และเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เขตบางขุนเทียนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
5.
ท่าข้าม Tha Kham
84.712
62,677
739.88
 
7.
แสมดำ Samae Dam
35.975
122,482
3,404.64
ทั้งหมด
120.687
185,159
1,534.21

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตจอมทองและเขตบางบอน

ประชากร แก้

การคมนาคม แก้

 
ถนนพระรามที่ 2 ในเขตบางขุนเทียน

ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่

  • ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่คลองบางมด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางมด เขตทุ่งครุต่อไป
  • ถนนพระรามที่ 2 เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากคลองวัดกก แขวงท่าข้าม ต่อเนื่องมาจากแขวงบางมด เขตจอมทอง และไปสิ้นสุดที่เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่ท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครต่อไป
  • ถนนบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขต เข้าสู่ท้องที่เขตจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2
  • ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของเขต เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ และไปสิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์ซึ่งตัดออกสู่ท้องที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ส่วนถนนสายรองและทางลัด ได้แก่

สถานที่สำคัญ แก้

 
เซ็นทรัลพระราม 2

วัด แก้

แขวงท่าข้าม แก้

แขวงแสมดำ แก้

สถานศึกษา แก้

มหาวิทยาลัย แก้

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 แก้

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร แก้

โรงพยาบาล แก้

คลอง แก้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. "ข่าวฟ้ายามเย็น". ฟ้าวันใหม่. 12 September 2014. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.
  3. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้