แขวงดาวคะนอง

แขวงในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ดาวคะนอง เป็นชื่อแขวงและย่านในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวมอญที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดกลางดาวคนอง จึงมีการสันนิษฐานว่าคำว่า คะนอง มาจาก คะน็อง หรือ ฮน็อง ในภาษามอญ

แขวงดาวคะนอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Dao Khanong
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงตลาดดาวคะนอง
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงตลาดดาวคะนอง
แผนที่เขตธนบุรี เน้นแขวงดาวคะนอง
แผนที่เขตธนบุรี เน้นแขวงดาวคะนอง
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตธนบุรี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด1.289 ตร.กม. (0.498 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด16,581 คน
 • ความหนาแน่น12,863.46 คน/ตร.กม. (33,316.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10600
รหัสภูมิศาสตร์101506
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
วัดดาวคนอง
วัดกลางดาวคนอง

ชื่อและประวัติ

แก้

สันนิษฐานว่าย่านดาวคะนองเป็นชุมชนมอญเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีตลาดน้ำวัดคลองดาวคะนอง[3] ย่านนี้ยังมีวัดกลางดาวคนองตั้งอยู่ใกล้กับปากคลองดาวคะนอง พบพระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย อุโบสถที่มีเค้าสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[4] เดิมชื่อวัดคือ วัดกลาง เนื่องจากทางทิศใต้ของวัดติดต่อกับคลองบ้านกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวมอญ ต่อมาวัดได้เพิ่มคำว่า "ดาวคนอง" เข้าไปตามสถานที่ตั้งของวัดในระหว่าง พ.ศ. 2493–2512[5]

คำว่า คะน็อง (ခှံင်) หรือ ฮน็อง (သၞံၚ်) เป็นภาษามอญมีความหมายว่า "ดาว" ดาวคะนองจึงมีความหมายว่า "ดาวดาว"[6] ตามทฤษฎีคำซ้อน 2 ภาษา ยังมีการสันนิษฐานว่า ชื่ออาจมาจากการที่จระเข้มาอาละวาด[7] นิทานกลอนเรื่อง ไกรทอง โดยบุศย์ รจนา ระบุว่า ท้าวโคจรจากเมืองพิจิตรลงมาปราบจระเข้สองพี่น้อง ท้าวพันตาและพระยาพันวัง โดยแผลงฤทธิ์ฟาดน้ำกันที่ย่านนี้[8] ดาวคะนองยังได้รับการเอ่ยถึงใน นิราศเมืองแกลง วรรณกรรมต้นยุครัตนโกสินทร์ของสุนทรภู่[9]

ดาวคะนองยังได้รับการตั้งชื่อเป็นภาพยนตร์ กำกับโดยอโนชา สุวิชากรพงศ์ เพราะผู้สร้างเห็นว่า เมื่อขับรถขึ้นไปทางด่วนมักจะเห็นป้ายดาวคะนองเสมอ จึงเปรียบดาวคะนองเป็นเหมือนทางผ่าน และอีกนัยยะหนึ่ง หมายถึงคน ซึ่งทุกคนก็เป็นดาวในตัวเอง[10] โยคีเพลย์บอยก็แต่งเพลงชื่อ "ดาวคะนอง"[11] ดาวคะนองยังอยู่ในสูตรท่องจำพยัญชนะไทย "ส เสือดาวคะนอง"[12]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแขวงพื้นที่แขวงในเขตธนบุรี เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2540 แขวงดาวคะนองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้[13]

ประชากรศาสตร์

แก้

จากข้อมูลรายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 แขวงดาวคะนองมีบ้าน 11,881 หลัง และมีประชากรทั้งหมด 17,392 คน แบ่งเป็นชาย 8,059 คน หญิง 9,333 คน[2]

แขวงดาวคะนองมีชุมชนแออัด 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนมะนาวหวาน ชุมชนวัดดาวคะนอง ชุมชนเจริญนคร 66 ชุมชนโกวบ๊อพัฒนา และชุมชนตรอกสะพานยาว[14]

สถานที่

แก้
  • บิ๊กซี ดาวคะนอง
  • ตลาดดาวคะนอง
  • ท่าเรือดาวคะนอง
  • ศาลเจ้าพ่อเหลาปิงเถ้ากง
  • ศาลเจ้าแม่ทับทิม ดาวคะนอง
  • มูลนิธิตงฮั้วการแพทย์
  • โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง
  • วัดกลางดาวคนอง
  • วัดดาวคนอง

การคมนาคม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. 2.0 2.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1015&rcodeDesc=เขตธนบุรี 2566. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒๘. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง. ศิลปกรรม. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ประวัติวัดกลางดาวคนอง". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องฯ “บางกะเจ้า เมืองพระประแดง ปากทางอ่าวสยาม”. 24 กันยายน 2561. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 32.50. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite AV media}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "จระเข้ในวัฒนธรรมไทย". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. สุจิตต์ วงษ์เทศ (2 ธันวาคม 2561). ""เมืองพระประแดง" แรกสุด และตำนานจระเข้พระประแดง ต้นตระกูลชาละวัน พิจิตร". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "นิราศเมืองแกลง". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "ดาวคะนอง มิติชีวิต เป้ อารักษ์ ฉะ! เรื่องจริง, ร้าย, ลวง". ไทยรัฐ. 17 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. Yanabhus Suriyajai (12 มีนาคม 2562). "เซอร์ไพรส์! Yokee Playboy ร่วมงานกับ Blackhead ในซิงเกิ้ลล่าสุด 'ดาวคะนอง'". fungjaizine. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. กำภู ภูริภูวดล. "ธรรมะมหานคร เล่ม 2". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. "ประกาศกรุงเทพมหานคร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  14. "ข้อมูลประกอบการพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่เขตธนบุรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-03. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)