นิราศเมืองแกลง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกของเขาที่ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2349 มีใจความกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือเพื่อไปยังเมืองแกลง โดยมีศิษย์ 2 คนร่วมโดยสารไปด้วยกัน คือ น้อยกับพุ่ม และมีผู้นำทางชื่อนายแสง เป้าหมายการเดินทางของสุนทรภู่ไม่ปรากฏแน่ชัด บ้างว่าเขาต้องการไปบวชกับบิดา บ้างว่าเขาเดินทางไปขอเงินเพื่อกลับมาแต่งงาน นักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าสุนทรภู่กลับไปทำไม แต่ทางจังหวัดระยองได้นำเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เมืองแกลง

นิราศเมืองแกลง
กวีพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ประเภทกลอนนิราศ
คำประพันธ์กลอนสุภาพ
ยุครัชกาลที่ 1
ปีที่แต่งพ.ศ. 2349
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง

แก้

ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า

จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน กันอย่า
วดสสอ้นผืใ ปื

เป็นอันว่าสุนทรภู่ถูกใช้ไปราชการด่วนจนถึงกับไม่มีเวลาไปบอกลาแม่จันได้เลย เหตุที่ว่าสุนทรภู่ต้องไปด้วยราชการก็เนื่องจากความท่อนหนึ่งว่า

จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา

ผู้ร่วมทางของสุนทรภู่ในการเดินทางคราวนี้ ได้แก่ นายแสง เป็นผู้นำทาง และน้อยกับพุ่ม ศิษย์น้องสองคน ทั้งหมดล่องเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะคลองบางนาไปออกมาแม่น้ำบางปะกงแล้วลงสู่ทะเล เลียบริมทะเลไปขึ้นฝั่งที่บริเวณหาดบางแสน จากนั้นจึงเดินเท้าต่อ สุนทรภู่ได้แวะพักที่บ้านขุนรามอยู่เป็นหลายวัน ก่อนจะออกเดินทางต่อไปเมืองแกลง ซึ่งในเวลานั้นเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนอยู่ในป่าทึบ หนทางจะไปถึงนั้นแสนกันดารและเต็มไปด้วยอันตราย ทั้งคณะเดินทางกันต่อจนไปถึงเมืองระยอง ถึงตรงนี้ นายแสงมิได้ร่วมเดินทางต่อไปด้วย

สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนครศรีอยุธยาของบันชา

หมุดกวี

แก้

จังหวัดระยองมีการทำหมุดกวี มีลักษณะเป็นป้ายหินอ่อนตั้งอยู่ในตำแหน่งของสถานที่ที่ถูกกล่าวถึงในนิราศเมืองแกลง มีการสร้างจำนวน 28 หมุด ตามตำแหน่งที่กล่าวถึงในนิราศ 28 จุด ตั้งแต่บางไผ่จนถึงแหลมแม่พิมพ์[1]

อ้างอิง

แก้
  1. กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, ภีร์ เวณุนันทน์. "รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประวัติวัฒนธรรมและธรรมชาติเมืองระยอง" (PDF). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้