วัดราชสิงขร (กรุงเทพมหานคร)
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วัดราชสิงขร พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 2114 ถนนเจริญกรุง 74แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา
วัดราชสิงขร พระอารามหลวงเป็นวัดโบราณ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พุทธศักราช 2275–2301) ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้ช่างหลวงวังหน้าสร้างพระอุโบสถ มีหลักฐานที่ปรากฏคือใบเสมาหินชนวนที่ฝังไว้กับผนังด้านนอกพระอุโบสถ ซึ่งมีลักษณะ เดียวกันกับวัดชนะสงครามและวัดมหาธาตุ อันเป็นพระอาราม ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ ลักษณะของการใช้ใบเสมานั้นฝังติดกับผนังพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ เป็นพุทธศิลปะที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงโปรดปรานเป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นปรากฏหลักฐาน พระวิหาร สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างไปพร้อม ๆ กันกับการสร้างพระอุโบสถเพื่อประดิษฐาน พระพุทธสุโขทัยหรือหลวงพ่อแดง
พระอุโบสถและพระวิหาร
แก้จากการบันทึกเล่าของวัดว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2374 พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสรพระธิดาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากขุนนางข้าราชการ ตลอดจนพ่อค้า ประชาชน ตามหลักฐานศิลาจารึกที่พบอยู่บนหน้าพระอุโบสถและพระวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) โปรดทำเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และได้นิยมสร้างกันในช่วงยุครัชกาลที่ 3 เท่านั้นกล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องบนของพระอุโบสถและพระวิหารเช่น ส่วนหลังคาได้ถอดเครื่องประดับที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายออกไป และหันมาใช้วัสดุที่คงทนยิ่งขึ้น เช่น ลดช่อฟ้า ใบระกาลง เปลี่ยนเป็นการก่ออิฐถือปูน หน้าบันประดับด้วยตุ๊กตาสิงห์จาน ชาม และกระเบื้องเคลือบลายจีน ลายทับทิม ซุ้มประตูและหน้าต่างลายปูนปั้นลงรักปิดทอง รูปลายดอกไม้อย่างจีนซึ่งได้นำเข้าจากประเทศจีน ปัจจุบันยังมีพอเหลืออยู่บ้าง บางส่วนได้เก็บรักษาไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป ในส่วนของพระอุโบสถ ถึงแม้ว่าจะได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้เห็นเป็นแบบศิลปะราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงฝังใบเสมาติดกับผนังด้านนอกของตัวพระอุโบสถอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่ปรากฏให้เห็นได้ เพราะในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งหลังสุดนี้ ได้โบกฉาบปูนทับไว้ให้เหมือนเดิมทุกประการ แต่ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ถ้าหากไม่พูดถึงคงไม่มีใครทราบได้ว่า ใบเสมาพระอุโบสถวัดราชสิงขรอยู่ ณ ที่ใด หลังไหนเป็นพระอุโบสถหรือพระวิหาร เพราะขนาดและรูปลักษณะของทรวดทรงสูงต่ำเท่ากันและตั้งอยู่ในตำแหน่งคู่ขนานที่ใกล้เคียงกัน ห่างกันแค่ประมาณ 16 เมตร อีกด้วย ดังนั้น จึงไม่ปรากฎให้เห็นใบเสมาตั้งรายรอบพระอุโบสถเหมือนอย่างวัดอื่น ๆ ที่มีพระอุโบสถศิลปะแบบเดียวกัน
พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง พระวิหาร สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างพระวิหารไปพร้อมกันกับการสร้างพระอุโบสถ สร้างขึ้นเป็นแบบดั้งเดิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันเป็นไม้ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อแดง และต่อมาในปีพุทธศักราช 2464 ในสมัยรัชกาลที่ 6ได้มีการบูรณะในส่วนหลังคาพระวิหาร แต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้บูรณะ
ในปีพุทธศักราช 2470 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการบูรณะส่วนล่างของพระวิหาร มีหลักฐานเป็นแผ่นศิลาจารึกรายชื่อและปีที่บูรณปฏิสังขรณ์ ฝังติดอยู่ที่ผนังด้านนอกระหว่างประตูทั้งสองด้านของพระวิหารสถูปพระเจดีย์ พระองค์เจ้าหญิงพิกุลทอง และพระองค์เจ้าหญิงเกสร ได้สร้างสถูปพระเจดีย์ 2 องค์ประดิษฐานอยู่ทางมุมขวาและซ้ายด้านหลังพระอุโบสถและพระวิหาร
ประวัติพระพุทธสุโขทัย หลวงพ่อแดง
แก้หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดราชสิงขร เนื้อสำริด ปางมารวิชัยศิลปะแบบอยุธยาที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ได้อัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยา ทางแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับหลวงพ่อทองคำและหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ในระยะเวลาก่อนที่จะเสียกรุง ขณะที่ล่องมาใกล้จะถึงวัดราชสิงขรด้วยกระแสน้ำไหลเชี่ยวเพราะเป็นฤดูน้ำหลาก จึงทำให้การควบคุมแพเป็นไปอย่างยากลำบาก แพได้เสียหลักและแตกหักพัง ทำให้หลวงพ่อแดงจมลงในน้ำ ณ ที่ฝั่งตรงกันข้าม กับวัดราชสิงขรพอดี ณ ครั้งนั้นผู้คนชาวฝั่งธนบุรีได้ลือและแตกตื่น แม้จะได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลวงพ่อแดงโดยประการใด ๆ ก็ตามไม่สามารถนำหลวงพ่อแดง ขึ้นจากน้ำได้ ต่อมาจะด้วยสิ่งดลใจหรือปาฏิหาริย์ผู้คนฝั่งวัดราชสิงขร (กรุงเทพ) ทราบข่าวเหตุการณ์จึงได้ไปขอเจรจาขออัญเชิญหลวงพ่อแดง มาประดิษฐานไว้ ณ วัดราชสิงขรเป็นที่สำเร็จตามคำขออัญเชิญในฤดูน้ำลด เหตุขนานนามว่า หลวงพ่อแดง เนื่องจากได้อัญเชิญขึ้นฝั่งวัดราชสิงขรเป็นผลสำเร็จแล้วได้ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งและได้ทำความสะอาดชำระคราบโคลนตมและตะไคร่น้ำออกแล้ว ปรากฏว่าเกิดเป็นสีสนิมแดงจับทั่วทั้งองค์พระอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านฝั่งวัดราชสิงขรจึงได้พากันนิยมขนานนามว่าหลวงพ่อแดง สืบต่อกันมาตราบทุกวันนี้
สำนักเรียนวัดราชสิงขร
แก้เมื่อ พ.ศ.2506 พระพิสณฑ์ปริยัติวิธาน ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระครูบวรพัฒนโกศลได้รับมอบหมายจากผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมขึ้น โดยเปิดสอนนักธรรมชั้นตรี - โท - เอก และธรรมศึกษาต่อมา พ.ศ.2510 ได้จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น และต่อมา พ.ศ. 2520 ได้จัดการศึกษาพระประยัติธรรมแผนกบาลีขึ้น โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นบาลีไวยากรณ์ ถึงชั้นเปรียญธรรม 7 ประโยค ต่อมามหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 18/2532 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2532 อนุมัติให้สำนักศาสนศึกษาวัดราชสิงขร เป็นสำนักเรียนวัดราชสิงขร และได้ทำการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดราชสิงขร
แก้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โรงเรียนวัดราชสิงขร เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไป ตั้งอยู่เลขที่ 2114 ถนนเจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพระครูศรีวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ บริหารงานโดยคณะสงฆ์วัดราชสิงขร และ คณะครูโรงเรียนวัดราชสิงขร เปิดทำการสอนทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 08.30 – 14.00 น.
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดราชสิงขร เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2552โดยกระทรวงศึกษาธิการและกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีนโยบาย 1 อำเภอ 1 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ให้วัดเป็นศูนย์กลางด้านการให้การศึกษาด้านจริยธรรม คุณธรรม แก่นักเรียน ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีนโยบายด้านการศึกษาอย่างเด่นชัดที่ต้องการให้เยาวชนมีความรู้ คู่คุณธรรม จึงให้การสนับสนุนวัดที่มีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่สำนักงานเขตที่ยังไม่มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
ลำดับเจ้าอาวาสวัดราชสิงขร
แก้ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน วัดราชสิงขรมีเจ้าอาวาสและรักษาการแทนเจ้าอาวาส 11 รูปได้แก่[1]
ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มและสิ้นสุดวาระ |
---|---|---|---|
1. | พระอธิการเดช (ไม่ทราบฉายา) | เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
2. | พระอธิการขำ (ไม่ทราบฉายา) | เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
3. | พระอธิการดี (ไม่ทราบฉายา) | เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
4. | พระอธิการแดง (ไม่ทราบฉายา) | เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
5. | พระอาจารย์ยี่ (ไม่ทราบฉายา) | รก.เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
6. | พระอธิการอั้น (ไม่ทราบฉายา) | รก.เจ้าอาวาส | ไม่ทราบ พ.ศ. |
7. | พระอธิการอ่อนศรี พุทฺธวํโส | เจ้าอาวาส | ไม่ทราบพ.ศ. - 2505 |
8. | พระครูปลัดสมนึก (วัดพระเชตุพนฯ)** | รก.เจ้าอาวาส | พ.ศ 2506 - พ.ศ. 2514 |
9. | พระพิสณฑ์ปริยัติวิธาน (วรพงษ์ คุณปวโร) | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2515 - พ.ศ. 2550 |
10. | พระปริยัติธรรมสุนทร (ชวลิต สีลเตโช) | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2551 - พ.ศ. 2554 |
11. | พระวชิรานุวัตร (สัมพันธ์ สุเมโธ) | เจ้าอาวาส | พ.ศ.2555 - ปัจจุบัน |
**พระครูปลัดสมนึก (วัดพระเชตุพนฯ) มอบหมายให้พระครูธรรมธรวรพงษ์ (พระพิสณฑ์ปริยัติวิธาน) บริหารแทน
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0