ถนนสาทร

ถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก

ถนนสาทร
แผนที่
Sathon Road, July 2017.jpg
ถนนสาทร
ข้อมูลของเส้นทาง
มีขึ้นเมื่อ2431–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ แยกวิทยุ
ปลายทางทิศใต้ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ถนนสาทรเหนือมุมมองจากบริเวณเหนือซอยศึกษาวิทยา เมื่อปี พ.ศ. 2562

กายภาพ

แก้
 
ถนนสาทรในปี 2560

ถนนสาทร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 4 เข้ากับถนนเจริญกรุง และเป็นเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมกับฝั่งธนบุรีโดยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานสาทร) โดยแบ่งได้เป็น 2 ฝั่ง ซึ่งแบ่งโดยใช้คลองสาทร ได้แก่ ฝั่งเหนือคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และฝั่งใต้คือ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร

แนวเส้นทางจะเริ่มจากถนนพระรามที่ 4 บริเวณแยกวิทยุ ต่อเนื่องจากถนนวิทยุ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เลียบคลองสาทรทั้ง 2 ฝั่ง ตัดกับถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และไปสิ้นสุดที่ถนนเจริญกรุง บริเวณท่าเรือสาทรริมแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบกับถนนกรุงธนบุรีที่เขตคลองสานอีกด้วย

ประวัติ

แก้
 
คลองสาทรและถนนสาทรเหนือ ถนนสาทรใต้ เมื่อ พ.ศ. 2489

ถนนสาทรเป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ. 2431 คหบดีชาวจีนที่ชื่อ "เจ้าสัวยม" ได้อุทิศที่ดินระหว่างถนนสีลมและถนนบ้านหวายเพื่อขุดคลอง โดยจ้างกรรมการชาวจีนเพื่อทำการขุด โดยขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปบรรจบกับคลองถนนตรงหรือคลองวัวลำพอง (ปัจจุบันถูกถมเป็นถนนพระรามที่ 4) เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า "คลองเจ้าสัวยม" (คลองสาทรในปัจจุบัน) และได้นำดินที่ขุดคลองมาทำเป็นถนนอีกด้วย ต่อมาเจ้าสัวยมได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "หลวงสาทรราชายุตก์" จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนนี้ว่า "ถนนสาทรราชายุตก์" รวมถึงคลอง คือ "คลองสาทรราชายุตก์" แต่ผู้คนนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สาทร"

ในอดีตถนนสาทรมีต้นมะฮอกกานี ปลูกอยู่ริมคลองสาทรทั้ง 2 ด้าน เดิมเป็นถนนเพียง 1 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ ต่อมาขยายเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ และขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ โดยถนนช่องจราจรที่ 3 ได้กินพื้นที่ของคลองสาทรบางส่วนไปด้วย ทำให้คลองสาทรในปัจจุบันเล็กกว่าเดิมเกือบเท่าตัว ซึ่งการขยายถนนครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน

ในอดีตเคยใช้ตัวสะกดชื่อถนนว่า "สาธร" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "สาทร" ตามคำสะกดที่ถูกต้องเช่นในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ถนนสาทรถือว่าเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญอีกสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ด้วยแวดล้อมไปด้วยบริษัทห้างร้านและอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงคอนโดมิเนียมและอาคารชุด เช่นเดียวกับถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ยกระดับเหนือคลองสาทร โดยสถานีรถไฟฟ้าบนถนนสาทรอยู่ 3 สถานี คือ สถานีเซนต์หลุยส์, สุรศักดิ์ และสะพานตากสิน

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนสาทร ทิศทาง: วิทยุ–เฉลิมพันธ์ (ซ้าย: สาทรใต้ , ขวา: สาทรเหนือ)
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนสาทรเหนือ/ใต้ (วิทยุ–เฉลิมพันธ์)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกวิทยุ เชื่อมต่อจาก:   ถนนวิทยุ
  ถนนพระรามที่ 4 ไปหัวลำโพง   ถนนพระรามที่ 4 ไปคลองเตย
แยกสาทร–นราธิวาส   ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสีลม   ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปจันทร์
แยกสาทร–สุรศักดิ์ เชื่อมต่อจาก:   ถนนสุรศักดิ์
ไม่มี   ทางพิเศษศรีรัช ไปบางโคล่
บางนา - คาวคะนอง
ไม่มี   ถนนเจริญราษฎร์ไปถนนพระรามที่ 3
  ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง
ถนนพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
ไม่มี
  ถนนจรูญเวียง ไม่มี
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
แยกเฉลิมพันธ์   ถนนเจริญกรุง ไปถนนตก   ถนนเจริญกรุง ไปบางรัก
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แก้
 
จุดกลับรถของถนนสาทร บริเวณช่วงหน้าตึกหุ่นยนต์ (ปัจจุบันคือสำนักงานใหญ่ของธนาคารยูโอบี) รูปในปี พ.ศ. 2543 โดยเห็นป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในช่วงนั้น
 
อาคารหอการค้าไทย-จีน

โรงพยาบาลและสถาบันการศึกษา

แก้

ศาสนสถาน

แก้

สถานเอกอัครราชทูต

แก้

ท่าเรือ

แก้

การเดินทาง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • pongsakornlovic (2011-03-08). "CHN_253_ถนนสาทร.flv". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.
  • "11 ทำเลเด่น กรุงเทพฯปริมณฑล ปี 2559". ฐานเศรษฐกิจ. 2016-01-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′14″N 100°31′43″E / 13.720464°N 100.528699°E / 13.720464; 100.528699