ถนนพระรามที่ 3 (อักษรโรมัน: Thanon Rama III) เป็นถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่สะพานกรุงเทพในพื้นที่แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนเจริญกรุง (แยกถนนตก) ข้ามคลองวัดจันทร์ในเข้าสู่พื้นที่แขวงบางโคล่ ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเจริญราษฎร์ (แยกเจริญราษฎร์) ข้ามคลองบางมะนาว ตัดกับถนนรัชดาภิเษก (แยกพระรามที่ 3-รัชดา) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์ (แยกสาธุประดิษฐ์) โค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองใหม่เข้าสู่พื้นที่แขวงช่องนนทรี ไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนยานนาวา (แยกพระรามที่ 3-ยานนาวา) ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส หรือแยกช่องนนทรี) และถนนนางลิ้นจี่ (แยกนางลิ้นจี่) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟเก่าสายแม่น้ำเข้าสู่พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย และไปสิ้นสุดที่แยก ณ ระนอง (จุดตัดกับถนนสุนทรโกษา ถนนรัชดาภิเษก และถนน ณ ระนอง)

ถนนพระรามที่ 3
Rama III Road and Terminal 21 Rama III.jpg
ถนนพระรามที่ 3 ช่วงที่ผ่านหน้าศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 พระราม 3
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว12.000 กิโลเมตร (7.456 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก สะพานกรุงเทพ ในเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนรัชดาภิเษก ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ถนนพระรามที่ 3 ในปัจจุบัน มีระบบขนส่งมวลชนขนาดรองพาดผ่านถนนสายนี้ คือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า บีอาร์ที (BRT) โดยพาดผ่านถนนพระรามที่ 3 ตั้งแต่ทางแยกพระรามที่ 3-นราธิวาส ถึง เชิงสะพานพระราม 3 ฝั่งพระนคร

ประวัติ

แก้

ถนนพระรามที่ 3 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้วางแผนให้ถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แทนที่ถนนสีลม ซึ่งประสบปัญหาแออัดและการจราจรติดขัดมาก ในช่วงนั้นเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ ที่ จึงมองว่าเป็นทำเลทองแห่งใหม่ บางธนาคารและบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ถนนพระรามที่ 3 แห่งนี้ รัฐบาลได้วางนโยบายพร้อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค พร้อมขยายถนนจาก 4 ช่องทางจราจรไปและกลับ เป็นถนน 8 ช่องจราจรไปและกลับ พร้อมกับถมคลองที่ขนานกับถนน ซึ่งก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อว่าถนนพระรามที่ 3

ถนนพระรามที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นชื่อถนนที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514 เป็นชื่อถนนในโครงการตัดถนนใหม่ของถนนวงแหวนรอบใน นอกจากนี้ ถนนพระรามที่ 3 (ช่วงตั้งแต่แยกถนนสาธุประดิษฐ์ ยาวไปถึง แยกนางลิ้นจี่) มีมาแต่เดิมแล้ว โดยมีชื่อเป็นทางการว่า ถนนนางลิ้นจี่ หรือประชาชนจะนิยมเรียกว่า ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อมีโครงการทำถนนวงแหวนรอบใน จึงมีการตัดถนนเพิ่มเติม (แยกสาธุประดิษฐ์ ยาวไปถึงแยกถนนตก) ใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก เมื่อมีโครงการสร้างถนนเศรษฐกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อถนนใหม่เป็น ถนนพระรามที่ 3

ซึ่งถนนพระรามที่ 3 เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ตั้งชื่อว่า ถนนพระรามที่ 3 เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยและทรงพระปรีชาสามารถในด้านการค้าตั้งแต่ยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีตมีเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าล่องในลำน้ำช่วงนี้มาจอดเป็นแถวตั้งแต่ถนนตกจนถึงหน้าพระบรมมหาราชวัง และแม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคงป็นที่จอดเรือสินค้าและเป็นที่ขนถ่ายสินค้า จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนพระรามที่ 3" ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมเพราะวางแผนให้ถนนแห่งนี้เป็นถนนเศรษฐกิจการค้า

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนพระรามที่ 3 ทิศทาง: สะพานกรุงเทพ – สะพานพระราม 3 – แยก ณ ระนอง
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนพระรามที่ 3 (สะพานกรุงเทพ – สะพานพระราม 3 – แยก ณ ระนอง)
กรุงเทพมหานคร บางคอแหลม 0+000   สะพานกรุงเทพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
0+366 แยกถนนตก   ถนนเจริญกรุง ไปสาทร   ถนนตก ไปท่าเรือถนนตก
0+795   สะพานพระราม 3 (ช่องทางหลัก) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
2+000 แยกเจริญราษฎร์   ถนนเจริญราษฎร์ ไปสาทร ไม่มี
ยานนาวา 3+300 แยกพระรามที่ 3-รัชดา   ถนนรัชดาภิเษก ไม่มี
4+500 แยกสาธุประดิษฐ์   ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปถนนจันทน์   ถนนสาธุประดิษฐ์ ไปท่าเรือสาธุประดิษฐ์
7+000 แยกยานนาวา   ถนนยานนาวา ไปถนนสาธุประดิษฐ์ ไม่มี
7+700 แยกพระรามที่ 3-สะพานภูมิพล 1 และ สะพานภูมิพล 2   สะพานภูมิพล ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ไปถนนปู่เจ้าสมิงพราย-ถนนสุขสวัสดิ์, ถนนกาญจนาภิเษก ไม่มี
8+800 แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส เชื่อมต่อจาก:   ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ จากสุรวงศ์, สาทร
9+600 แยกนางลิ้นจี่   ถนนนางลิ้นจี่ ไปถนนสวนพลู ไม่มี
11+000 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายแม่น้ำ
คลองเตย 12+000 แยก ณ ระนอง   ถนนสุนทรโกษา ไปแยกคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ไปแยกศุลกากร
ไม่มี ถนน ณ ระนอง ไปวัดคลองเตยใน
ตรงไป:   ถนนรัชดาภิเษก
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แก้
  1. ตลาดปีนัง
  2. โรงเรียนประถมนนทรี
  3. โรงเรียนนนทรีวิทยา
  4. วัดช่องลม พระรามที่ 3
  5. ทิพยประกันภัย สำนักงานใหญ่
  6. ศูนย์บริการเอเซอร์ สำนักงานใหญ่
  7. คลังน้ำมันคาลเท็กซ์
  8. คลังน้ำมันเชฟร่อน ช่องนนทรีย์
  9. โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
  10. ธนาคารกรุงเทพ สำนักพระรามที่ 3
  11. ศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ (สำนักงานใหญ่ของบริษัท ศุภาลัย)
  12. โรงเรียนวัดคลองภูมิ
  13. วัดคลองภูมิ
  14. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักพระรามที่ 3 (สำนักงานใหญ่)
  15. วัดปริวาศราชสงคราม
  16. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
  17. ศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 พระราม 3
  18. โรงแรมมณเฑียร