โรงเรียนนนทรีวิทยา

โรงเรียนนนทรีวิทยา (อังกฤษ: Nonsiwitthaya School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนนนทรีวิทยา
Nonsiwitthaya School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ท. / N.S.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญพลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี (สามัคคีคือพลัง)
สถาปนา2 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1010720072
ผู้อำนวยการนางณัฐพัชร์ ศิริเสถียร
(ผู้อำนวยการโรงเรียน นนทรีวิทยา)
จำนวนนักเรียน1,731 คน (2563)
สี  น้ำเงิน   เหลือง   เทา
เพลงนนทรีงาม, มาร์ชนนทรี
ต้นไม้ต้นนนทรี
เว็บไซต์www.nonsi.ac.th

ประวัติโรงเรียน แก้

ในอดีตขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ กำลังดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนนี้มีชื่อเรียกที่คุรุสภาว่า “โรงเรียนมหาเมฆ” ต่อเมื่อเปิดเรียนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2496 จึงใช้ชื่อว่า “โรงเรียนนนทรี” และได้เพิ่มเติมเป็น “โรงเรียนนนทรีวิทยา” เมื่อ พ.ศ. 2513

นายจง ศรีสนธิ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกด้วยตำแหน่ง “ครูใหญ่” โดยมีอดีตกำนันชื่อ นายฉัตร บานเย็น เป็นผู้อุปการะโรงเรียน การดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน เริ่มด้วยกระทรวงศึกษาธิการจัดหาที่เรียนให้แก่นักเรียน เพราะมีนักเรียนจำนวนมากไม่มีที่เรียน นายวิฑูรย์ ทิวทอง รองอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา นายโชติ สุคนธานิช หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาล ในสมัยเป็นผู้ดำเนินการจัดหาซื้อที่ดิน ณ ท้องที่ทุ่งมหาเมฆ ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา หวัดพระนคร ได้ที่ดินจำนวน 51 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 100 บาท ด้วยเงินงบประมาณ 1,902,000 บาท และเงิน กศ.ส. 652,000 บาท ได้จัดที่ดินและก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงจาก ฝาลำแพนกั้นห้องเป็นสี่ห้องครึ่ง มีโต๊ะครู 3 ชุด โต๊ะม้านั่งนักเรียนแบบยาวๆ นั่งได้ 2 – 3 คน จำนวน 88 ชุด ส้วมซึม 2 ที่นั่ง 1 แห่ง เปิดทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนด้วยจำนวนนักเรียน 53 คน

เมื่อแรกเริ่มก่อตั้งนั้นสภาพพื้นที่ของโรงเรียนเป็นทุ่งนา การคมนาคมไม่สะดวก โรงเรียนไม่มีทางเข้า–ออก เพราะที่ดินของโรงเรียนไม่มีทางออกสู่ถนนใหญ่ เจ้าของที่ดินบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนตีรั้วสังกะสีบริเวณหน้าโรงเรียน ทำให้นักเรียนไม่สามารถออกสู่ถนนใหญ่ได้ ครูใหญ่ จง ศรีสนธิ์ ได้ขออนุญาตเจ้าของที่ดินเพื่อขอเปิดสังกะสีเพียงแผ่นเดียวให้มีทางออกสู่ถนนใหญ่แต่ก็ไม่ได้ผล แม้อดีตกำนัน นายฉัตร ผู้อุปการะโรงเรียน จะช่วยเจรจาอย่างไรก็ไร้ผล เพราะเจ้าของที่ดินเกรงว่าจะเสียสิทธิในที่ดินในส่วนที่เปิดให้นั้นต่อไปในภายภาคหน้า

เมื่อโรงเรียนมีปัญหา นักเรียนมีความเดือนร้อนกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ส่งให้นางสมัยสวาท พงศทัต เลขานุการกรมวิสามัญศึกษาโดยมีหนังสือของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการติดต่อเจรจากับเจ้าของที่ดินก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ จนในที่สุด นายวิฑูรย์ ทิวทอง นายโชติ สุคนธวนิช และ นายไสว สวัสดิ์พูน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาลและประจำแผนก ตามลำดับ พร้อมด้วยกำนัน ฉัตร บานเย็น ผู้อุปการะโรงเรียนได้ติดต่อเจรจากับพระยากฤษณราชอำนายศิลป์ อยู่หลายต่อหลายครั้งจึงสำเร็จ โดยกล่าวว่าจะมีผู้ขายให้ในราคาตารางวาละ 500 บาท ซึ่งได้ที่ดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโรงเรียนกว้าง 3 วา ยาว 50 วา คิดเป็นเงิน 75,000 บาท ทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงิน 150,000 บาท เพื่อซื้อที่ดินและจัดทำถนนเป็นทางเข้า–ออกโรงเรียนในปี พ.ศ. 2497

พ.ศ. 2498 ได้รับเงินอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นเงิน 905,000 บาท สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 2 ชั้น 14 ห้องเรียน นับว่าเป็นอาคารเรียนถาวรหลังแรก ในการก่อสร้างสิ้นเงินไปเพียง 890,000 บาท ครูใหญ่จง ศรีสนธิ์ ได้ขออนุมัติกรมฯ เพื่อใช้เงินที่เหลือขุดดินถมทำสนามสูง 30 ซม. กว้าง 60 เมตร ยาว 100 เมตร ซึ่งนายฉัตร บานเย็น ผู้อุปการะโรงเรียนได้ช่วยรับไปดำเนินการให้จนแล้วเสร็จ

พ.ศ. 2500 โรงเรียนได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน เป็นเงิน 700,000 บาท ถึงแม้โรงเรียนจะมีอาคารเพิ่มขึ้นมีจำนวนห้องเรียนมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอแก่จำนวนนักเรียน โรงเรียนจึงเปิดทำการสอน 2 ผลัด มีรถรับ–ส่ง นักเรียนของโรงเรียนเอง 1 คัน และกรมวิสามัญศึกษาได้ส่งมาให้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในการเดินทางของนักเรียนอีกจำนวน 4 คัน ซึ่งขณะนั้นมีนักเรียนจำนวน 745 คน ครูอาจารย์ 35 คน

พ.ศ. 2501 นายทองสุก เกตุโรจน์ ได้มาเป็นผู้บริหารโรงเรียนแทน ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียน คือ ครูใหญ่จง ศรีสนธิ์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2501 และได้บริหารโรงเรียนเพียง 1 ปี ก็มีการสับเปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่

พ.ศ. 2502 นายบุญอวบ บูรณะบุตร ก็เข้ามาบริหารโรงเรียนแทนนายทองสุก เกตุโรงจน์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2502 ในปี พ.ศ. 2502 โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณ 700,000 บาทเพื่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียนและได้งบประมาณ 25,000 บาท เพื่อสร้างโรงอาหารกึ่งหอประชุมในรูปแบบตัว L

พ.ศ. 2505 นายสวัสดิ์ ศรีเพ็ญ ก็เข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนต่อจากนายบุญอวบ บูรณะบุตร โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงโรงอาหารกึ่งหอประชุมในรูปแบบตัว L ให้เต็มรูปแบบและปรับปรุงเป็นห้องคหกรรม และเนื่องจากโรงเรียนมีอาคารเรียน จำนวนห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน การเรียน 2 ผลัดจึงงดไป คงเป็นการเรียนการสอนในรอบปกติเพียงรอบเดียว ในปี พ.ศ. 2506

พ.ศ. 2507 นายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ ได้เป็นผู้บริหารโรงเรียนนนทรีต่อจากนายสวัสดิ์ ศรีเพ็ญ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2507

พ.ศ. 2512 นายสนิท ธารีรัชต ได้รับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีต่องจากนายสิทธิ์ บัณฑิตวงษ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2512 และในปี พ.ศ. 2512 โรงเรียนก็ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคารเรียนโครงเสริมเหล็กเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน ด้วยงบประมาณ 1,800,000 บาท

พ.ศ. 2513 โรงเรียนนนทรีได้เพิ่มชื่อเป็น “โรงเรียนนนทรีวิทยา”

พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครตัดถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านโรงเรียน ทำให้ที่ดินของโรงเรียนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเสียที่ดินไป 10 ไร่เศษ และต้องรื้อถอนอาคารเรียนถาวรหลังแรกที่โรงเรียนมีอยู่ออก

พ.ศ. 2516 นส.จำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง ได้รับตำแหน่งผู้บริหารต่อจากนายสนิท ธารีรัชต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนเสริมเหล็ก 4 ชั้น 32 ห้องเรียน (แบบ 432) แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ

เนื่องจากโรงเรียนนนทรีวิทยาเป็นที่นิยมของประชาชน มีความเจริญในด้านอาคารสถานที่ตลอดจนในด้านการศึกษาเล่าเรียนและการกีฬา โรงเรียนจึงเลื่อนฐานะเป็นโรงเรียนชั้นพิเศษ ตำแหน่งผู้บริหารเป็นผู้อำนวยการชั้นพิเศษ โรงเรียนมีความพร้อมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ มีสนามฟุตบอล สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล นักเรียนได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดี จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2516 มีนักบาสบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียน ได้ครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษา เป็นปีแรก

พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้รับความนิยมจากประชาชนยิ่งขึ้น มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน จนปรากฏว่ามีนักเรียนเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนมากขึ้นและมีมากกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีความจำเป็นต้องสนองนโยบายกรมฯ ปรากฏว่ามีจำนวนนักเรียนมากถึง 36,000 คน มีครูอาจารย์ 217 คน โรงเรียนไม่มีห้องเรียน ไม่มีอาคารเรียน จึงต้องเปิดทำการสอนเป็น 2 ผลัด ส่วนในด้านการกีฬาก็มีความสามารถขึ้นเสมือนเป็นเงาแห่งความเจริญของโรงเรียน นักบาสเกตบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียนสามารถครองถ้วยชนะเลิศมวยสมัครเล่นนักเรียนของกรมพลศึกษา อีก 1 รุ่น

พ.ศ. 2518 นางนิตยา จูฑามาตย์ ได้ผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยาต่อจากนางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูนิ่ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 และในปีนี้โรงเรียนก็ได้งบประมาณต่อเติมอาคารเรียนเสริมแบบ 432 เต็มรูปแบบ การส่งเสริมการกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาบาสเกตบอลนักเรียนรุ่นใหญ่ของโรงเรียนนนทรีวิทยา ได้ครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษาเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ฟุตบอลรุ่นเล็กของโรงเรียนก็สามารถครองถ้วยชนะเลิศของกรมพลศึกษาเป็นปีแรก เช่นกัน

พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เข้าโครงการ คมช. รุ่นที่ 13 และได้สร้างรั้วคอนกรีต รอบบริเวณโรงเรียนส่วนที่เป็นสถานที่ทำการเรียน และได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 2 หลัง ราคาหลังละ 750,000 บาท พร้อมกับได้งบประมาณสร้างโรงฝึกงานโลหะ–ไฟฟ้า 1 หลัง เป็นเงิน 750,000 บาท

พ.ศ. 2519 โรงเรียนต้องเสียเนื้อที่ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างถนนลอยฟ้า สายท่าเรือ – ดินแดง ที่ดินของโรงเรียนส่วนที่เป็นบ้านพักครู เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา ส่วนที่เป็นอาคารสถานที่สำหรับเรียน เหลือเนื้อที่ 28 ไร่ 38 ตารางวา ถึงแม้โรงเรียนจะกระทบกระเทือนจากการเสียที่ดินบางส่วนให้แก่การทางพิเศษไป แต่สนามของโรงเรียนส่วนที่เหลือก็ยังใช้ประโยชน์แก่นักเรียนเหมือนเช่นเคย นักบาสเกตบอลรุ่นใหญ่ของโรงเรียนได้ทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนอีก โดยสามารถครองถ้วยชนะเลิศบาสเกตบอลของกรมพลศึกษาเป็นปีที่สี่ติดๆ กัน

พ.ศ. 2520 นางสาลี สุขะปิณฑะ ได้มารับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแทนนางนิตยา จูฑามาตย์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2520 ในปีนี้กรมฯ ได้จัดสรรงบประมาณในกรณีเร่งด่วนด้วยการสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 3 หลัง ในราคาหลังละ 120,000 บาท และผู้ปกครองของนักเรียนได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของการที่ช่วยเหลือโรงเรียนในด้านส่งเสริมการพัฒนาอาคาร สถานที่ ตลอดเงินทุนประเภทต่างๆ ซึ่งถ้าผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมด้วยแล้วก็จะทำให้การบริหารงานของโรงเรียนเป็นไปได้ตามเป้าหมายและจุดประสงค์รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้จัดตั้ง “สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนนนทรีวิทยา” ขึ้น โดยมีนายสุวรรณ รักเหย้า เป็นนายกสมาคมฯ

พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ ใต้ถุนโล่ง 4 ชั้นด้วยเงิน 3,580,000 บาท ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 2 หลัง ราคาหลังละ 85,000 บาท เมื่อโรงเรียนมีอาคารเรียน จำนวนห้องเรียนพอสมควรโรงเรียนได้ปรับปรุงโรงอาหารกึ่งหอประชุมตามรูปแบบตัว L เป็นโรงฝึกงานยนต์และคหกรรม มีการดัดแปลงอาคารชั่วคราว 2 หลัง เป็นโรงอาหารซึ่งขณะนั้นมีสภาพพอใช้ได้ แต่จะอยู่ในพื้นที่ต่ำและไม่ถูกลักษณะเท่าที่ควร

พ.ศ. 2522 นางจำนวน คล่องการเขียน ได้มาดำรงต่ำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยา ต่อจากนางสาลี สุขะปิณฑะ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2522 ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนนนทรีวิทยา คนเดิมกำลังติดต่อเจรจาขอเงินทดแทนค่าที่ดินจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงและก่อสร้างอาคารเรียนที่รื้อถอนไป

พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับเงินทดแทนค่าที่ดินเพื่อบูรณะทรัพย์สินจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ซึ่งเงินจำนวนนี้โรงเรียนได้จัดทำโครงการเพื่อนำมาปรับปรุงอาคารสถานที่ เช่น โรงพละ ทำรั้วคอนกรีตรอบบริเวณที่เป็นบ้านพักครู สร้างส้วม ห้องน้ำ นักเรียน ชาย – หญิง ต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษใต้ถุนโล่งเป็นห้องเรียนและห้องกิจกรรมรักษาดินแดน ปรับปรุงพื้นที่ทำถนนภายในโรงเรียน ทำท่อระบายน้ำรอบโรงเรียน สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล และส่วนหนึ่งได้กันเอาไว้สร้างอาคารอเนกประสงค์ ในปี 2526 ด้วยเงิน 7,560,000 บาท

ในปีนี้เอง บริษัท ส.พลัง นำโดยคุณสงวน ศรีศุภชัยยา ได้บริจาคดินถมบริเวณโรงเรียนซึ่งปกติต่ำกว่าระดับถนนและบางที่ยังเป็นท้องร่องเป็นจำนวนดิน 1,000 คัน รถดั้ม พร้อมกับนำรถเกรดมาเกรดดินให้ราบเรียบ และในปี 2524 ได้นำดินมาถมในส่วนที่ยังไม่ราบเรียบเพียงพออีก 700 คันรถดั้ม พร้อมนำรถเกรดมาเกรดดินในบริเวณโรงเรียนให้ราบเรียบดังปัจจุบัน

พ.ศ. 2524 โรงเรียนมีแผนการจัดโรงเรียนเต็มรูปแบบ 66 ห้องเรียน โรงเรียนมีอาคารเรียนที่ทันสมัยและเพียงพอแก่จำนวนนักเรียน ดังนั้นการเรียนการสอนในปีการศึกษานี้ จึงได้จัดการเรียนการสอนเพียงผลัดเดียว เป็นรอบปกติ ขณะเดียวกันโรงเรียนได้ขออนุมัติรื้อถอน อาคารไม้ 2 ชั้น 12 ห้องเรียน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังหอประชุมเพื่อเตรียมการสร้างอาคารอเนกประสงค์และสภาพของอาคารชำรุดหมดสภาพการใช้งาน

พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้เข้าโครงการ โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และได้ผ่านการประเมินผลให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรในเดือนกันยายน 2526

พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้จัดสร้างเรือนเพาะชำ โดยขออนุมัติกรมธนารักษ์ใช้โครงสร้างของอาคารเรียนชั่วคราวหลังที่ 3 ซึ่งใช้เงินบำรุงการศึกษาจำนวน 54,000 บาท ในการปรับปรุง

พ.ศ. 2525 โรงเรียนได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในฐานะจัดห้องสมุดได้อย่างดียิ่ง และได้รับรางวัลบรรณารักษ์ดีเด่น ทั้งนี้จากการคัดเลือกของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2525 ได้จัดตั้งมูลนิธิโรงเรียนนนทรีวิทยา โดยมีนางนิตยา จูฑามาตย์ เป็นประธานมูลนิธิฯ

พ.ศ. 2525 นางมาลัย ภูเวียง ได้รับคะแนนเสียงให้เป็นนายกสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนนนทรีวิทยา เป็นครั้งที่ 2

โรงเรียนนนทรีวิทยามีสมาคมผู้ปกครองและครู, สมาคมศิษย์เก่า และมีมูลนิธิของโรงเรียน อันเป็นผลทำให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น จะเห็นได้ว่าในด้านการพัฒนาอาคารสถานที่ ส่งเสริมการเรียนการสอน การกีฬา จนเป็นที่รู้จักของชุมชนและเป็นที่เชื่อถือของประชาชนในด้านการส่งเสริมจริยธรรม ความประพฤติของนักเรียน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

  • เครื่องหมายประจำโรงเรียน : เป็นรูปอาร์ม (โล่ ที่ปรากฏในภาพด้านบน) พื้นสีน้ำเงิน เหลือง เทา ตัวอักษร น.ท. มีความหมายว่า " ลูกนนทรีต้องมีเกียรติเชื่อถือได้ "
  • คติพจน์ประจำโรงเรียน : พลํ สงฺฆสฺส สามคฺคี " ความสามัคคีคือพลัง "
  • คำขวัญประจำโรงเรียน  : เรียนดี ประพฤติดี มีความสะอาด ฉลาดรอบรู้ สู้งาน
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธศากยมุนี ศรีนนทรีโรจนฤทธิ์
  • สีประจำโรงเรียน :
  • น้ำเงิน คือ ความสามัคคี องอาจกล้าหาญ อดทนและเสียสละ
  • เหลือง คือ ความประพฤติดี มีระเบียบวินัย และมีคุณธรรม
  • เทา คือ ความฉลาด ความรอบรู้ และสู้งาน
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นนนทรี

การจัดการเรียนการสอน แก้

โรงเรียนนนทรีวิทยา เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-ม.3

หลักสูตรประกอบด้วยวิชาบังคับ ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องเรียนเหมือนกัน และมีวิชาเลือกเสรีอย่างหลากหลาย ให้นักเรียนมีโอกาสเลือกเรียนตามความถนัด โดยมีครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว ให้คำแนะนำและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.6 ประกอบด้วยแผนการเรียน ดังนี้

  1. แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
  3. แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส
  4. แผนการเรียนทั่วไป(สังคมศึกษา-ภาษาไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°42′26″N 100°32′48″E / 13.707197°N 100.546753°E / 13.707197; 100.546753