สถานีเซนต์หลุยส์

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสในกรุงเทพมหานคร

สถานีเซนต์หลุยส์ (อังกฤษ: Saint Louis station; รหัส: S4) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับคร่อมเหนือถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ในพื้นที่เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งสถานีที่อยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจถนนสาทร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[1][2] ถือเป็นสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมแห่งแรกของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นบนแนวรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน เดิมทีสถานีเซนต์หลุยส์จัดเป็นสถานีในอนาคตที่ไม่ได้มีการก่อสร้างในอดีต แต่มีการตั้งรหัสสถานีเพื่อใช้ในการการคิดค่าโดยสารมาแล้วเป็นเวลา 21 ปี

เซนต์หลุยส์
S4

Saint Louis
ชานชาลาเมื่อพฤษภาคม 2564
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′15″N 100°31′37″E / 13.7209576°N 100.5270246°E / 13.7209576; 100.5270246
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS4
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-02-08)
ชื่อเดิมศึกษาวิทยา
ผู้โดยสาร
2564673,475
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ช่องนนทรี สายสีลม สุรศักดิ์
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

อยู่เหนือคลองสาทรและถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ บริเวณปากซอยสาทร 11 (เซนต์หลุยส์ 3) ด้านหน้าอาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร และโรงแรมแอสคอทท์ กรุงเทพ สาทร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ห่างจากสถานีช่องนนทรี 610 เมตร และห่างจากสถานีสุรศักดิ์ 570 เมตร

ประวัติสถานี

แก้
 
สถานีเซนต์หลุยส์ขณะกำลังก่อสร้าง

ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีสถานีเซนต์หลุยส์เป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์และโรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค) แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุน บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการก่อสร้างสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม[3] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2558 บีทีเอสซี ได้ยื่นเรื่องต่อ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ในฐานะผู้ดูแลกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เพื่อขอเสนอฟื้นฟูโครงการขึ้นมาอีกครั้ง โดยขั้นต้นมีงบในการก่อสร้าง 450 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสซีจะจัดสรรงบลงทุนครึ่งหนึ่ง และให้กองทุนจัดหาเงินลงทุนอีกครึ่งหนึ่งโดยไม่มีการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือนนับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร[4]

ต่อมา กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท ได้อนุมัติให้บีทีเอสซีดำเนินการก่อสร้างสถานีดังกล่าว ภายใต้งบประมาณในการก่อสร้างรวมงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคทั้งหมด 900 ล้านบาท แหล่งเงินทุนในการพัฒนาสถานีแบ่งเป็นเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท จำนวนครึ่งหนึ่ง และเงินจากกลุ่มบริษัทเอไอเออีกครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้กลุ่มเอไอเอ จะได้สิทธิ์ในการเชื่อมต่ออาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร เข้ากับตัวสถานีด้วย การก่อสร้างสถานีเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมี บริษัท จอมธกล จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 9 เดือน

ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง บีทีเอสซีได้ประกาศใช้ชื่อสถานีแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า สถานีเซนต์หลุยส์ ตามชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรใต้ และชื่อย่านที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ย่านเซนต์หลุยส์[5] แทนชื่อเดิมคือ สถานีศึกษาวิทยา อันเป็นชื่อของโรงเรียนศึกษาวิทยาเก่าที่ได้เลิกกิจการแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ศึกษาวิทยา ยังเป็นชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรเหนืออีกด้วย

แผนผังสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สุรศักดิ์)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ช่องนนทรี)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
อาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยสาทร 11, ซอยสาทร 12,
ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร, อาคารแอทสาทร, โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

รูปแบบสถานี

แก้

โครงสร้างสถานีเซนต์หลุยส์มีรูปแบบสถานีคล้ายสถานีส่วนต่อขยาย โดยมีลิฟต์รับรองผู้พิการทั้งหมด 3 ตัว บันไดเลื่อน 3 ตัว จากทางออก 4 หนึ่งตัว และจากชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาฝั่งละ 1 ตัว ชานชาลาเป็นแบบ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด ไม่มีประตูกั้นชานชาลา ปลายชานชาลาที่ 4 ปลายสถานีด้านทิศตะวันออก และทางออกที่ 3 มีการติดตั้งแผงกั้นระดับสายตา ด้วยเหตุผลด้านความเป็นส่วนตัวเนื่องมาจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น

ทางเข้า-ออก

แก้
  • 1 ซอยสาทร 12 (ศึกษาวิทยา 2), เฮลท์แลนด์ สปา แอนด์ มาซซาจ
  • 2 อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ (สะพานเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อนและลิฟต์), ซอยสาทร 11 (เซนต์หลุยส์ 3)
  • 3 ซอยสาทร 10 (ศึกษาวิทยา 1), โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น
  • 4 ซอยสาทร 9 (พิกุล), ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร, ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค, โรงแรมแอสคอทท์ สาทร กรุงเทพ (ลิฟต์และบันไดเลื่อน)
  • 5 อาคารแอทสาทร (อาคารพรูเดนเชียล), โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ทางเดินเชื่อมสะพานลอย)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าเฮลท์แลนด์ สปา แอนด์ มาซซาจ และ ทางออก 3 หน้าโรงเรียนอนุบาลชวนชื่น

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[6]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.41 00.25
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.45 00.03
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.50

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้

ใช้สีม่วงตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว และป้ายทางเข้าสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านใต้

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ จากทางออก 2 และ 4 ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและจากชั้นขายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง
  • ร้าน เทอร์เทิล ซึ่งให้บริการสินค้าภายในพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารแล้ว และให้บริการตู้ขายสินค้าบริเวณชั้นชานชาลา นับเป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแห่งแรกที่อนุญาตให้รับประทานอาหารได้ภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว

รถโดยสารประจำทาง

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
21E (4-7E)   5 (กปด.15) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ขสมก. รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขสวัสดิ์ ลงด่านสาทร)
77 4 (กปด.24) เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
77 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
17 (4-3)   บิ๊กซีพระประแดง   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
77 (3-45)   เซ็นทรัลพระราม 3   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
149 (4-53)   บรมราชชนนี   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
167 (4-26)   เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้

  • สาย 17 พระประแดง - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3 - หมอชิต
  • สาย 149 ตลิ่งชัน - เอกมัย
  • สาย 167 เคหะธนบุรี - สวนลุมพินี

เฉพาะถนนสาทรใต้

  • สาย 1-32E บางเขน - ตลาดพลู
  • สองแถว 1256 วัดช่องลม - สะพานตากสิน

อุบัติเหตุ

แก้
  • วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 00:20 น. เกิดเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชน นายเน เรียว สัญชาติเมียนมา ซึ่งเป็นพนักงานของ บริษัท จอมธกล จำกัด ผู้รับจ้างงานก่อสร้างงานโยธาสถานีเซนต์หลุยส์ เนื่องจากพนักงานคนดังกล่าวฝ่าฝืนเข้าพื้นที่ระบบรางเพื่อเตรียมก่อสร้างสถานีก่อนเวลาที่บีทีเอสซีกำหนด มีผลทำให้ขบวนรถที่กำลังมุ่งหน้าไปสถานีบางหว้าขบวนสุดท้ายเกิดความล่าช้าทั้งหมด ทันทีที่เกิดอุบัติเหตุเจ้าหน้าที่ได้สั่งหยุดรถไฟฟ้าและสั่งตัดกระแสไฟฟ้าทั้งระบบเพื่อลงไปช่วยเหลือโดยนำกำลังเจ้าหน้าที่ปอเต็กตึ๊ง 6 นาย ขึ้นไปยกร่างผู้บาดเจ็บลำเลียงลงมาทางสถานีช่องนนทรี ใช้เวลาปฏิบัติการทั้งหมด 1 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าและส่งผู้โดยสารตกค้างทั้งหมดลงที่สถานีสุรศักดิ์ต่อไป หลังเหตุการณ์นี้บีทีเอสซีได้สั่งระงับการก่อสร้างสถานีเซนต์หลุยส์เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ เพื่อวางแผนการรักษาความปลอดภัย และกวดขันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก[7][8]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้
 
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มองจากสถานีเซนต์หลุยส์

อ้างอิง

แก้
  1. "รถไฟฟ้าบีทีเอสเตรียมเปิดใช้ "สถานีเซนต์หลุยส์" 8 ก.พ.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  2. "Saint Louis BTS station to open from Monday". The Nation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ผู้ตรวจฯ เร่งแก้ไขปัญหาการคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเกินจริง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  4. "สร้างจริงหรอ…? สถานีศึกษาวิทยา". REALIST. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
  5. "บีทีเอส เปลี่ยนชื่อสถานีศึกษาวิทยาเป็น เซนต์หลุยส์ พร้อมให้บริการ ก.พ." สปริงนิวส์. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
  6. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  7. รถไฟฟ้าบีทีเอส ชนคนงานเจ็บ ฝ่าฝืน-เข้าพื้นที่
  8. BTS แจงเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชนคนงานก่อสร้าง เข้าพื้นที่ก่อนเวลาอนุญาต