สถานีสะพานตากสิน

สถานีสะพานตากสิน (อังกฤษ: Saphan Taksin Station, รหัส S6) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสีลม ยกระดับระหว่างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2 สะพานที่ขนานกัน และคร่อมบริเวณปากคลองสาทร ช่วงริมแม่น้ำเจ้าพระยาถึงจุดตัดถนนเจริญกรุง เป็นสถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกในกรุงเทพมหานครที่เชื่อมต่อกับการสัญจรทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันมีอีก 4 สถานี คือสถานีสนามไชย และสถานีบางโพ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, สถานีเจริญนคร ของรถไฟฟ้าสายสีทอง และสถานีสะพานพระนั่งเกล้าของรถไฟฟ้าสายสีม่วง) โดยเชื่อมต่อที่ท่าสาทร (Central Pier) และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบีทีเอส

สะพานตากสิน
S6

Saphan Taksin
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′7.59″N 100°30′50.78″E / 13.7187750°N 100.5141056°E / 13.7187750; 100.5141056พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′7.59″N 100°30′50.78″E / 13.7187750°N 100.5141056°E / 13.7187750; 100.5141056
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาด้านข้าง
ราง1
การเชื่อมต่อ ท่าสาทร
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS6
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25641,594,623
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สุรศักดิ์ สายสีลม กรุงธนบุรี
มุ่งหน้า บางหว้า
ท่าก่อนหน้า เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าต่อไป
โอเรียนเต็ล ประจำทาง
เชื่อมต่อที่ ท่าสาทร
วัดเศวตรฉัตร
มุ่งหน้า วัดราชสิงขร
ธงส้ม
เชื่อมต่อที่ ท่าสาทร
วัดวรจรรยาวาส
มุ่งหน้า วัดราชสิงขร
ท่าสี่พระยา ธงเหลือง
เชื่อมต่อที่ ท่าสาทร
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
Map
หมายเหตุ

ที่ตั้ง แก้

 
สถานีสะพานตากสิน

เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ในช่วงปี พ.ศ. 2542-2552 สถานีสะพานตากสินเคยเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมฝั่งใต้ แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นสถานีปลายทางแล้ว เนื่องจากมีการสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสิน ไปยัง สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีโพธิ์นิมิตร สถานีตลาดพลู และสถานีบางหว้า ตามลำดับ

ประวัติ แก้

สถานีสะพานตากสินเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญจากพื้นที่ฝั่งธนบุรีในย่านคลองสาน วงเวียนใหญ่ ท่าพระ ภาษีเจริญ บางแค ตลาดพลู จอมทอง และราษฎร์บูรณะ กับส่วนพื้นที่ฝั่งพระนครในย่านบางคอแหลม บางรัก และถนนตก ยังรวมไปถึงพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ห่างออกไป เช่น ย่านวังหลัง ปิ่นเกล้า บางพลัดและจังหวัดนนทบุรี อีกด้วยก็เพราะด้วยที่ตั้งสถานีที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวสถานีมีท่าเรือสาทรเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ

รูปแบบของสถานี แก้

 
รูปแบบรางเมื่อออกจากสถานี

ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลาเหมือนสถานีทั่วไปในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างจำกัดที่กว้างเพียง 16.5 เมตร ทำให้เป็นสถานีหนึ่งเดียวที่เป็นแบบชานชาลาข้างเพียงรางเดียว โดยรถไฟฟ้าสามารถผ่านสถานีและข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ด้วยการสับราง ซึ่งรางคู่จากด้านสถานีสุรศักดิ์ก่อนเข้าสู่ชานชาลาจะมีรางหนึ่งที่กลายเป็นรางตัน ส่วนด้านสถานีกรุงธนบุรีก่อนเข้าสู่ชานชาลาจะเป็นรางคู่ตามปกติแต่ได้มาบรรจบกันก่อนเป็นรางเดียว เนื่องจากสถานีนี้มีความยาวเพียง 115 เมตร ชานชาลาจึงสามารถรองรับขบวนรถได้สูงสุดเพียง 5 ตู้โดยสารเท่านั้น (จากความยาวสถานีปกติ 120 เมตร ที่สามารถรองรับได้ 6 ตู้โดยสาร)

สถานีนี้เป็นสถานีที่มีการบอกกำหนดการรถไฟฟ้าที่จะเทียบเข้าชานชาลาเป็นสถานีแรก โดยบนจอโทรทัศน์จะแสดงไว้ว่า "รถไฟฟ้าขบวนถัดไป... The next train is for..." แล้วตามด้วยชื่อสถานีปลายทางของขบวนนั้นๆ ส่วนรถไฟฟ้าที่จะเทียบชานชาลาและจะมีการแบ่งพื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่จะรอรถไฟฟ้า โดยทางไปฝั่งตะวันตก (ไปบางหว้า) จะเป็นสีม่วง แต่ถ้าจะไปฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ (ไปสนามกีฬาแห่งชาติ) จะเป็นสีเขียวเข้ม

เนื่องจากสถานีสะพานตากสิน ตามแผนแม่บทเดิมเมื่อ พ.ศ. 2538 เมื่อมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมในฝั่งธนบุรีจะต้องมีการทุบตัวสถานีทิ้งเพื่อทำเป็นรางรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ไปยังสถานีกรุงธนบุรีแทน กรุงเทพมหานครจึงประกาศแผนเบื้องต้นเป็นการทำสกายวอล์คจากสถานีสุรศักดิ์ มายังท่าเรือสาทรเพื่อเป็นการทดแทนการทุบสถานี แต่ประชาชนในพื้นที่กลับเรียกร้องไม่ให้มีการทุบสถานีเกิดขึ้น เนื่องมาจากสถานีดังกล่าวเชื่อมต่อกับท่าเรือสาธร ซึ่งเป็นท่าเรือโดยสารที่สำคัญแห่งหนึ่ง การใช้สกายวอล์กอาจไม่ตอบโจทย์ความสะดวกในการเชื่อมต่อเท่าที่ควร กรุงเทพมหานครจึงได้ทำการเข้าปรึกษากับกรมทางหลวงชนบท ซึ่งเป็นเจ้าของสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อที่จะทำการขยายเลนสะพานอีก 1 เลนทั้งสองข้าง แล้วทำการขยายพื้นที่ชานชาลาของสถานีและสร้างรางเพิ่มอีก 1 ราง โดยในเบื้องต้นกรมทางหลวงชนบทกลับไม่เห็นด้วยเรื่องการทุบสะพาน และกรุงเทพมหานครยังไม่มีทางออกของปัญหาดังกล่าว บีทีเอสซีจึงต้องแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการใช้รถไฟฟ้าที่มีความยาวเพิ่มขึ้นจากสามตู้เป็นสี่ตู้ และจัดการเดินรถใหม่ตามข้างต้น

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงคมนาคม ได้มีมติให้ กรุงเทพมหานคร บีทีเอสซี และกรมทางหลวงชนบท เข้าดำเนินการปรับปรุงสถานีสะพานตากสินพร้อมปรับปรุงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณสถานีสะพานตากสิน เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีแผนต่อขยายเส้นทาง บวกกับระยะทางที่ยาวมากขึ้น แต่ติดปัญหาคอขวดทำให้ระบบไม่สามารถทำเวลาได้ โดยการปรับปรุงจะเริ่มจากขยายขอบทางสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินระยะทาง 230 เมตร กว้าง 1.8 เมตรออกทั้งสองข้าง จากนั้นจึงทำการก่อสร้างชานชาลาไปฝั่งพระนคร รางรถไฟฟ้าและชานชาลาไปฝั่งธนบุรี แล้วทำการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมของสถานีเป็นอันเสร็จสิ้นการปรับปรุง ปัจจุบันโครงการได้พักดำเนินการไม่มีกำหนดเนื่องจากสัญญาสัมปทานส่วนหลักใกล้หมด โดยบีทีเอสซีจะโอนถ่ายงานออกแบบที่สำเร็จให้กรุงเทพมหานคร (หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับโอนโครงการจากรัฐบาล) เพื่อนำไปดำเนินการจริงต่อไป

แผนผังของสถานี แก้

U3
ชานชาลา
ชานชาลา 3 (รถมาทางขวา) สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (กรุงธนบุรี)
(รถมาทางซ้าย) สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (สุรศักดิ์)
ชานชาลาด้านข้าง (ชานชาลาประกอบชั่วคราว), ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย (ไปบางหว้า), ขวา (ไปสนามกีฬาฯ)
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวบีทีเอส
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ชั้นพื้นดิน ป้ายรถประจำทาง, ท่าสาทร
โรงแรมแชงกรี-ลา, วัดยานนาวา

สถานีนี้มีเพียง 1 ชานชาลาด้านทิศใต้ ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และผู้ที่จะเดินทางไปสถานีบางหว้า จะใช้ชานชาลาร่วมกันแต่ได้กำหนดให้ตำแหน่งประตูขึ้นรถไม่ตรงกัน โปรดสังเกตเครื่องหมายบอกตำแหน่งประตูที่พื้นชานชาลา โดยตำแหน่งของประตูรถขบวนที่จะมุ่งหน้าไปสถานีบางหว้าจะใช้สัญลักษณ์สีม่วงติดบริเวณที่พื้น ส่วนตำแหน่งของประตูรถขบวนที่จะมุ่งหน้าไปสถานีสนามกีฬาแห่งชาติจะใช้สัญลักษณ์สีเขียว (ทิศทางที่กล่าวมานั้นมองจากชานชาลา)

ทางเข้า-ออก แก้

 
ทางขึ้นสถานีสะพานตากสิน
  • 1 ท่าเรือข้ามฟาก-ท่าเรือเป็ปซี่ (บันไดเลื่อน)
  • 2 ท่าเรือสาทร (เรือด่วนเจ้าพระยา-เรือโดยสารคลองดาวคะนอง-เรือโรงแรม-เรือศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้), ศูนย์บริการร่วมคมนาคม
  • 3 ธนาคารกรุงเทพ, ถนนเจริญกรุง, ป้ายรถประจำทางถนนเจริญกรุง (บันไดเลื่อน)
  • 4 ถนนเจริญกรุง, ป้ายรถประจำทางถนนเจริญกรุง

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าท่าเรือข้ามฟาก และ ทางออก 4 บริเวณถนนเจริญกรุง[1]

เวลาให้บริการ แก้

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[2]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.44 00.30
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.41 23.59
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.46

รถโดยสารประจำทาง แก้

  ถนนเจริญกรุง แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แก้

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 4 (กปด.24) ถนนตก ท่าเตียน รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
15 5 (กปด.25)   อู่กัลปพฤกษ์ บางลําภู รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
15 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
15   BRT ราชพฤกษ์

รถเอกชน แก้

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (3-35)   เซ็นทรัลพระราม 3 สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
17 (4-3)   บิ๊กซีพระประแดง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
35 (4-8)   เคหะธนบุรี บางลำภู
75 (4-13)   อู่ธารทิพย์ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บจก.แกรนซิตี้บัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
4-68   สวนผัก ถนนตก บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการน้อย

เรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา แก้

การให้บริการเรือโดยสารบริเวณท่าเรือสาทร มีดังนี้

  • เรือด่วนเจ้าพระยา จากท่าเรือสาทรด้านทิศใต้ บริการในเส้นทางนนทบุรี-วัดราชสิงขร และ ปากเกร็ด-นนทบุรี-สาทร-ราษฎร์บูรณะ
  • เรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่
  • เรือข้ามฟากแม่น้ำ ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน จากท่าเรือสาทรด้านทิศเหนือ ฝั่งพระนคร ถึงท่าเรือตากสิน (ท่าเป๊ปซี่) ฝั่งธนบุรี ค่าบริการ 3.50 บาท เปิดให้บริการเวลา 5.30-23.00 น.

อุบัติเหตุ แก้

  • 29 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 16.00 ใต้สะพานตากสินใกล้ท่าเรือสาทร นายอาร์โนด์ ดูบูส อายุ 56 ปี ชาวฝรั่งเศส และพบนามบัตรของสถานเอกอัคราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด นายอาโนลด์ นั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างมาลงที่สถานี ก่อนเดินขึ้นไปบนชานชาลารถไฟฟ้าตามปกติ และมาที่ริมระเบียง​ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่กล้องบันทึกภาพได้ ก่อนจะกระโดดลงมา ศีรษะกระแทกพื้นจนเสียชีวิต โดยในส่วนของการกระโดดกล้องไม่สามารถบันทึกภาพไว้ได้เนื่องจากอยู่นอกระยะ[3]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้

 
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพฯ

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน แก้

โรงแรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Nilecon. "รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain)". รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Skytrain).
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  3. จนท.ฝ่ายข่าวสถานทูตฝรั่งเศส ตกสถานีบีทีเอส หัวกระแทกพื้นเสียชีวิต เร่งเช็กวงจรปิด

แหล่งข้อมูลอื่น แก้