สถานีช่องนนทรี

สถานีเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีเขียวและรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที)

สถานีช่องนนทรี (อังกฤษ: Chong Nonsi station; รหัส: S3) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับเหนือถนนนราธิวาสราชนครินทร์บริเวณใจกลางย่านธุรกิจถนนสาทรและสีลม ในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่สถานีสาทร

ช่องนนทรี
S3

Chong Nonsi
สถานีช่องนนทรีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′25.63″N 100°31′46.00″E / 13.7237861°N 100.5294444°E / 13.7237861; 100.5294444
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25642,710,252
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ศาลาแดง สายสีลม เซนต์หลุยส์
มุ่งหน้า บางหว้า
การเชื่อมต่ออื่น
สถานีก่อนหน้า รถโดยสารด่วนพิเศษ สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง   สายสาทร–ราชพฤกษ์
เชื่อมต่อที่ สาทร
  อาคารสงเคราะห์
มุ่งหน้า ราชพฤกษ์
ที่ตั้ง
แผนที่
ชานชาลาสถานีช่องนนทรี

ที่ตั้ง

แก้

อยู่บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ บริเวณซอยพิพัฒน์ 2 (ย่านการค้าซอยละลายทรัพย์) ระหว่างทางแยกสีลม–นราธิวาส กับทางแยกสาทร–นราธิวาส ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีสะพานทางเดินยกระดับข้ามทางแยกสาทร–นราธิวาส เชื่อมต่อกับรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ของกรุงเทพมหานครที่สถานีต้นทางสาทร บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ใกล้ถนนสาทรใต้

บริเวณที่ตั้งของสถานีช่องนนทรีถือเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญ เนื่องจากประชาชนจากย่านถนนพระรามที่ 3 ในพื้นที่เขตยานนาวาสามารถเดินทางมาตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าสู่ใจกลางเมืองได้โดยตรง จึงเคยมีการวางแผนให้สถานีแห่งนี้เป็นต้นทางของโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส สายช่องนนทรี–พระรามที่ 3 ตามแนวถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ได้ยกเลิกโครงการไปในเวลาต่อมา ก่อนที่จะเกิดเป็นระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ตามแนวถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ในปัจจุบัน

แผนผังของสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (เซนต์หลุยส์)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ศาลาแดง)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมต่อรถโดยสารด่วนพิเศษ
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยพิพัฒน์ 2, ทางแยกสาทร–นราธิวาส, ทางแยกสีลม–นราธิวาส
อาคารสาทรนคร, สาทรธานี คอมเพล็กซ์

รูปแบบของสถานี

แก้
 
สกายวอล์กช่องนนทรี

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

อนึ่ง สถานีช่องนนทรีเป็นสถานีแห่งแรกที่มีการติดตั้งจอไดโอดเปล่งแสง (แอลอีดี) เหนือชานชาลาฝั่งละ 5 จอ ความยาวรวมฝั่งละ 45 เมตร โดยต่อมาได้มีการติดตั้งเพิ่มเติมที่สถานีศาลาแดง, อโศก และพร้อมพงษ์[1]

ทางเข้า-ออก

แก้
  • 1 อาคารสาธรสแควร์ และโรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ (สะพานเชื่อม), ดิ อินฟินิตี้ โกลเด้นแลนด์, ดิ อินฟินิตี้
  • 2 อาคารสาธรธานี (สะพานเชื่อม), โรงแรมไอ-เรสซิเด้นท์ สีลม, ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สำนักงานใหญ่, ถนนสาทร, โรงแรมฟูรามา เอกซ์คลูซีฟ สาทร (ทางเดินเชื่อมสะพานลอยต่อรถโดยสารด่วนพิเศษ)
  • 3 อาคารคิง เพาเวอร์ มหานคร (เดอะ เรสซิเดนเซส แอท คิง เพาเวอร์ มหานคร, โรงแรมเดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร, มหานครสกายวอล์ก), มหานคร คิวบ์ (สะพานเชื่อม), ป้ายรถประจำทางไปสีลม
  • 4 อาคารไดมอนด์ ทาวเวอร์, เชียงการีลา สวีท, โรงแรมเดอะเฮอริเทจ สีลม, ซอยพิพัฒน์ 2, พี.เอ็ม.ที แมนชั่น, โกลว์ ตรินิตี้ สีลม, ป้ายรถประจำทางไปสาทร (บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าสาธรสแควร์ และ ทางออก 3 หน้าอาคารคิง เพาเวอร์ มหานคร

สำหรับทางเข้า-ออกที่ 3 และ 4 นอกจากจะเชื่อมต่อกับทางเท้าสองฝั่งถนนนราธิวาสฯ แล้ว ยังมีบันไดทางลงสู่เกาะกลางถนนริมคลองช่องนนทรี ซึ่งสร้างเตรียมไว้เป็นหนึ่งในสถานีจอดรถในโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที (สายสาทร-ราชพฤกษ์) แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน เพราะกรุงเทพมหานครเกรงว่าการเดินรถผ่านทางแยกมารับผู้โดยสารใต้สถานี จะส่งผลกระทบต่อสภาพการจราจรทางแยกสาทร-นราธิวาสซึ่งติดขัดอยู่ก่อนแล้ว เส้นทางของรถโดยสารดังกล่าวจึงสิ้นสุดที่ทางแยกสาทร-นราธิวาสใกล้ถนนสาทรใต้เท่านั้น

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[2]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.39 00.24
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.45 00.05
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.52

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

แก้

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

อาคารสูงและศูนย์การค้า

แก้

โรงแรม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "VGI เปิดตัวจอดิจิทัล IMMERSE ยาว 45 เมตร รองรับสื่อโฆษณาสุดครีเอทีฟ ปักหมุด BTS ใจกลางเมือง". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้