ธนาคารแห่งประเทศจีน

ธนาคารแห่งประเทศจีนจำกัด (หุ้นฮ่องกง: 3988 เก็บถาวร 2008-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) (จีน: 中国银行; จีน: 中國銀行; พินอิน: Zhōngguó Yínháng หรือเขียนเป็นตัวย่อว่า 中行; อังกฤษ: Bank of China หรือ BOC) คือหนึ่งในสี่ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2455 เพื่อแทนที่ธนาคารรัฐบาลต้าฉิง ซึ่งเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน โดยตั้งแต่การก่อตั้งของธนาคารจนถึง พ.ศ. 2485 ธนาคารนี้ได้ทำการออกธนบัตรในนามของรัฐบาลกลางร่วมกับอีกสามธนาคารใหญ่ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของในช่วงนั้น ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน, ธนาคารกสิกรแห่งประเทศจีน และธนาคารแห่งการสื่อสาร (Bank of Communications หรือ BoComm ในปัจจุบัน) แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศจีนจะทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของจีนในช่วงแรกๆ ของการก่อตั้ง แต่หลังจากที่ตำแหน่งนี้ถูกแทนที่โดยธนาคารกลางแห่งประเทศจีนในปี พ.ศ. 2471 ธนาคารแห่งประเทศจีนจึงกลายเป็นธนาคารพาณิชย์ไปโดยสมบูรณ์

ธนาคารแห่งประเทศจีน
ประเภทบริษัทหุ้นส่วน
ISINCNE1000001Z5 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมการเงิน
ก่อตั้งพ.ศ. 2455
ผู้ก่อตั้งChen Jintao Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
บุคลากรหลัก
ประธานบริษัท ลี่ หลีหุ่ย
ผลิตภัณฑ์บริการทางการเงิน
รายได้27.4 พันล้าน RMB (ข้อมูลจาก พ.ศ. 2548)
รายได้จากการดำเนินงาน
229,237,000,000 เหรินหมินปี้ (พ.ศ. 2558) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
179,417,000,000 เหรินหมินปี้ (พ.ศ. 2558) Edit this on Wikidata
สินทรัพย์16,815,597,000,000 เหรินหมินปี้ (พ.ศ. 2558) Edit this on Wikidata
พนักงาน
209,265 คน
เว็บไซต์http://www.boc.cn

หลังจากสงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 ธนาคารแห่งประเทศจีนได้แยกที่ทำการของธนาคารเป็นสองส่วนต่างหาก ส่วนหนึ่งตั้งเป็นธนาคารใหม่อยู่ในไต้หวันที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง และอีกส่วนหนึ่งตั้งที่ทำการอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศจีนในไต้หวันได้แปรรูปไปเป็นธนาคารเอกชนในปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารพาณิชย์นานาชาติแห่งประเทศจีน ในเวลาต่อมา ธนาคารในไต้หวันจึงได้เข้ารวมกิจการกับธนาคารแห่งการสื่อสารไต้หวัน และรวมเป็นอัครธนาคารพาณิชย์นานาชาติ ส่วนในจีนแผ่นดินใหญ่นั้น ธนาคารแห่งประเทศจีนยังคงมีลักษณะเป็นธนาคารที่รัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่ดังเดิม

ธนาคารแห่งประเทศจีนเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่เป็นอันดับสองโดยรวมจีน (อันดับหนึ่งเป็นสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งประเทศจีน) และเป็นผู้ให้กู้อันดับหนึ่ง ถ้าไม่รวมสถาบันการเงินเข้าไปด้วย และเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลกประเมินจากมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (Market capitalization value) อีกทั้งยังเป็นผู้ให้กู้เงินตราต่างประเทศอันดับหนึ่งในประเทศจีนอีกด้วย ครั้งหนึ่งเคยเป็นของรัฐบาลกลาง 100% ผ่านการถือหุ้นของบริษัทจัดการลงทุนหุยจิ่นกลางและคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อกองทุนประกันสังคม (SSF) ที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของอีกที ธนาคารแห่งประเทศจีนเริ่มเสนอขายหุ้นเป็นครั้งแรก (Initial public offering หรือ IPO) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free-float) ในปัจจุบันอยู่ที่ 26%

ธนาคารแห่งประเทศจีนมีทรัพย์สินกว่า 3 ล้านล้านหยวน (RMB) และทำกำไรกว่า 52.7 พันล้านหยวนใน พ.ศ. 2545 ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านๆ มาถึง 20%

สัดส่วนผู้ถือหุ้นส่วนเจ้าของบริษัท แก้

การทำการนอกจีนแผ่นดินใหญ่ แก้

ธนาคารแห่งประเทศจีน (ต่อจากนี้จะเรียกว่า BOC) มีธนาคารสาขาย่อยทำการอยู่ในหลายประเทศนอกสาธารณรัฐประชาชนจีนในลักษณะของบริษัทเอกชน แต่ธนาคารย่อยเหล่านี้ยังคงมี BOC ที่ตั้งอยู่ในปักกิ่งที่เป็นของรัฐบาลจีนควบคุมอยู่ BOC เริ่มตั้งสำนักงานทำการนอกประเทศแห่งแรกที่ฮ่องกง (ซึ่งในขณะนั้นยังคงตกอยู่ใต้อาณัติของจักรวรรดิอังกฤษอยู่) ในปี พ.ศ. 2460 และกลายเป็นธนาคารชั้นนำที่เป็นคู่แข่งสำคัญของธนาคารสัญชาติอังกฤษต่างๆ ในฮ่องกง BOC เป็นธนาคารผู้ออกธนบัติให้กับฮ่องกงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และเป็นผู้ออกธนบัติให้กับมาเก๊าตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา

ต่อมาสาขาทำการในฮ่องกงของ BOC ได้ทำการตั้งกลุ่มบริษัทใหม่และเปลี่ยนเป็นธนาคารแห่งประเทศจีน (ฮ่องกง) จำกัดมหาชน หรือ Bank Of China (Hong Kong) หรือ BOCHK ในปี พ.ศ. 2544 และต่อมาก็เข้าไปเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยที่ทุนเรือนหุ้นของ BOCHK ถึงสองในสามเป็นของผู้ถือหุ้นรายย่อย ในปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของ BOC ฮ่องกงตั้งอยู่ในอาคารแบงค์ออฟไชน่าทาวเวอร์ ซึ่งเมื่ออาคารเปิดให้สาธารณชนเช่าเปิดสำนักงานในปี พ.ศ. 2533 อาคารดังกล่าวก็กลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในฮ่องกงไปอีกพักใหญ่

ธนาคารแห่งประเทศจีนเปลี่ยนจากบริษัทเป็นบริษัทจำกัดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 และได้เข้าทำการเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (โดยขายหุ้นแยกกับ BOCHK ต่างหาก) และสามารถทำการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกได้มากที่กว่าสถาบันทางการเงินใดๆ ในโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา โดยในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่มีการเปิดตัวขายหุ้นสามารถทำรายได้ได้ 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีนักลงทุนรายย่อยสั่งซื้อหุ้น IPO ไปถึง 286 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (36.7 พันล้าน USD) ซึ่งเป็นการสั่งซื้อหุ้นเกินยอดที่กำหนดไว้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง โดยมีการสั่งซื้อเกินยอดที่กำหนดไว้กว่า 76 เท่าตัว จนทำให้มีนักวิชาการสาขาการวิเคราะห์การเงินบางส่วนออกมาเตือนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มสูงขึ้น กระนั้น กระแสสั่งซื้อจากนักลงทุนก็ไม่ได้ลดลงมากนัก และทำให้ราคาหุ้น IPO ของธนาคารแห่งประเทศจีนที่มีราคาเริ่มต้นที่ 2.95 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น มีราคาเพิ่มขึ้น 15% ในการซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในวันถัดมาโดยเพิ่มเป็น 3.40 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น

ต่อมาธนาคารแห่งประเทศจีนได้ทำการเปิดตัวเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (อีกครั้ง) ที่ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ในปี พ.ศ. 2549 และสามารถทำรายได้ได้ประมาณ 20 พันล้านหยวน (2.5 พันล้าน USD) BOC นั้นเป็นธนาคารที่ดูเป็นสากลที่สุดในบรรดาธนาคารสัญชาติจีนทั้งหลาย โดยมีธนาคารสาขาย่อยตั้งทำการอยู่ในแทบทุกทวีป โดยมีที่ทำการอยู่ใน 25 ประเทศ ได้แก่ออสเตรเลีย, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, ประเทศฝรั่งเศส, เยอรมนี, ประเทศอิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, สหพันธรัฐรัสเซีย, ฮังการี, สหรัฐอเมริกา, ปานามา, บราซิล, ประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, คาซัคสถาน, บาห์เรน, แซมเบีย, แอฟริกาใต้ รวมถึงในประเทศไทย และยังมีสาขาย่อยอีกสาขาหนึ่งที่หมู่เกาะเคย์แมน (ที่ไม่ใช่ประเทศแต่เป็นดินแดนโพ้นทะเลบริติช) แต่แม้ว่าจะมีสาขาย่อยเป็นจำนวนมาก ระดับกิจกรรมการเงินภายนอกประเทศจีนโดยรวมกลับมีน้อยกว่า 4% ทั้งในด้านของกำไรและสินทรัพย์ ในขณะที่กิจกรรมทางการเงินในประเทศจีนนั้นทำกำไรให้กับ BOC ถึง 60% ของกำไรทั้งหมด และมีสินทรัพย์โดยรวม 76% ในประเทศจีนจากสินทรัพย์ทั้งหมดที่ BOC มี จากการประเมินในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548

ส่วนธนาคารหรือบริษัทที่ทำงานในด้านการเงินและมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (เป็นธนาคารกลางของจีนในปัจจุบัน) และ BOC ได้แก่: