ธนาคารพัฒนาเอเชีย
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (อังกฤษ: Asian Development Bank; ย่อ: ADB) เป็นสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้ และความสนับสนุนด้านเทคนิค ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 โดยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ มีประเทศเข้าร่วมก่อตั้ง 31 ประเทศ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 68 ประเทศ เป็น 49 ประเทศในภูมิภาค และ 19 ประเทศจากพื้นที่อื่น [4]
สํานักงานใหญ่ปี 2011 | |
ประเทศนอกภูมิภาค ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก | |
ชื่อย่อ | ADB |
---|---|
ก่อตั้ง | 19 ธันวาคม 1966 |
ประเภท | ธนาคารเพื่อการพัฒนาร่วม |
สถานะตามกฎหมาย | สนธิสัญญา |
วัตถุประสงค์ | การพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจ |
สํานักงานใหญ่ | มันดาลูยัง เมโทรมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | อินโด-แปซิฟิก |
สมาชิก | 68 ประเทศ |
ประธาน | มาซาสึกุ อาซากาวะ (เมื่อ 17 มกราคม 2020)[1] |
องค์กรแม่ | คณะกรรมการผู้ว่าการ[2] |
พนักงาน | 3,769[3] |
เว็บไซต์ | www |
ธนาคารพัฒนาเอเชียมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในแต่ละปีได้ให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เป็นเงินประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแต่ละโครงการมีมูลค่าประมาณโครงการละ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใช้เงินทุนจากการลงทุนพันธบัตรในตลาดการเงินต่างๆ
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
แก้ธนาคารพัฒนาเอเชียเกิดขึ้นจากการร่วมทุนโดยประเทศต่าง ๆ ประเทศผู้ถือหุ้นใหญ่ 20 อันดับแรกมีดังต่อไปนี้
อันดับ | ประเทศ | สัดส่วนการถือหุ้น (% ของทั้งหมด) |
อันดับ | ประเทศ | อำนาจการออกเสียง (% ของทั้งหมด) |
---|---|---|---|---|---|
ทั้งโลก | 100.000 | ทั้งโลก | 100.000 | ||
1 | ญี่ปุ่น | 15.677 | 1 | ญี่ปุ่น | 12.840 |
2 | สหรัฐ | 15.567 | 2 | สหรัฐ | 12.752 |
3 | จีน | 6.473 | 3 | จีน | 5.477 |
4 | อินเดีย | 6.359 | 4 | อินเดีย | 5.386 |
5 | ออสเตรเลีย | 5.812 | 5 | ออสเตรเลีย | 4.948 |
6 | แคนาดา | 5.254 | 6 | แคนาดา | 4.502 |
7 | อินโดนีเซีย | 5.131 | 7 | อินโดนีเซีย | 4.404 |
8 | เกาหลีใต้ | 5.060 | 8 | เกาหลีใต้ | 4.347 |
9 | เยอรมนี | 4.345 | 9 | เยอรมนี | 3.775 |
10 | มาเลเซีย | 2.735 | 10 | มาเลเซีย | 2.487 |
11 | ฟิลิปปินส์ | 2.393 | 11 | ฟิลิปปินส์ | 2.213 |
12 | ฝรั่งเศส | 2.338 | 12 | ฝรั่งเศส | 2.169 |
13 | ปากีสถาน | 2.188 | 13 | ปากีสถาน | 2.049 |
14 | สหราชอาณาจักร | 2.051 | 14 | สหราชอาณาจักร | 1.940 |
15 | อิตาลี | 1.815 | 15 | อิตาลี | 1.751 |
16 | นิวซีแลนด์ | 1.543 | 16 | นิวซีแลนด์ | 1.533 |
17 | ไทย | 1.368 | 17 | ไทย | 1.393 |
18 | ไต้หวัน | 1.094 | 18 | ไต้หวัน | 1.174 |
19 | เนเธอร์แลนด์ | 1.030 | 19 | เนเธอร์แลนด์ | 1.123 |
20 | บังกลาเทศ | 1.026 | 20 | บังกลาเทศ | 1.119 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Masatsugu Asakawa Elected ADB President". 2 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019.
- ↑ About: Management เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, adb.org.
- ↑ ADB Annual Report 2022 (PDF) (ภาษาEnglish). Asian Development Bank. 2023. p. 10. doi:10.22617/FLS230039. ISBN 978-92-9270-073-7. สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Asian Development Bank (2008). Membership. URL
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Bank Information Center
- ADB Institute
- "Inequality Worsens across Asia", Dollars & Sense magazine, November/December 2007. Article discussing recent reports from the ADB.
- "The right business environment" Youth unemployment in Asia. An interview with Jesus Felipe, advisor in the Economics and Research Department of ADB.
- Free Futures Thinking Guidebooks