คิง เพาเวอร์ มหานคร
คิง เพาเวอร์ มหานคร (อังกฤษ: King Power MahaNakhon) ชื่อเดิมอาคาร มหานคร เป็นตึกระฟ้าในรูปแบบอาคารประเภทใช้ประโยชน์ผสมผสาน ตั้งอยู่ติดกับสถานีช่องนนทรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ในย่านสีลมและสาทรซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ออกแบบให้เสมือนโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติ หรือพิกเซล เป็นอาคารกระจกทั้งหลัง สร้างสรรค์โดยบริษัทสถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป
คิง เพาเวอร์ มหานคร King Power MahaNakhon | |
---|---|
ตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2566
รายละเอียด | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ที่ตั้ง | 114 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พิกัด | 13°43′25″N 100°31′42″E / 13.72361°N 100.52833°E |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
เริ่มสร้าง | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 |
เปิดตัว | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 |
การใช้งาน | ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัย, โรงแรม, ร้านค้าปลีก, จุดชมวิว |
ความสูง | |
หลังคา | 314.2 เมตร |
รายละเอียด | |
จำนวนชั้น | 78 ชั้น |
พื้นที่ชั้น | 150,000 เมตร² |
บริษัท | |
สถาปนิก | บริษัท สถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป |
ผู้พัฒนา | บริษัท เพซ ดีเวลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท อินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น |
เจ้าของ | บริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด |
อ้างอิง: https://kingpowermahanakhon.co.th/ |
คิง เพาเวอร์ มหานคร เคยเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2561 จนถูกทำลายสถิติในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[1] โดยอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการไอคอนสยาม (ความสูง 318.95 เมตร) ปัจจุบันเป็นอาคารที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น ประกอบไปด้วยส่วนโรงแรม ร้านค้าปลีก และส่วนห้องชุดพักอาศัยจำนวน 209 ห้อง โดยราคาของห้องชุดดังกล่าว ราคาเฉลี่ย 3.5 แสนบาท/ตร.ม. [2] เริ่มต้นที่ 32 ล้านบาทไปจนถึง 305 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในอาคารชุดพักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยในชั้น 74–78 เป็นที่ตั้งของภัตตาคารมหานครแบงค็อกสกายบาร์ และมหานครสกายวอล์ก จุดชมทิวทัศน์ของกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
แก้โครงการมหานครได้เปิดตัวต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ด้วยการออกแบบร่วมกันของบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ และอินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (IBC)[3] โดยพิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และคาดว่ามูลค่าของโครงการนั้นอาจสูงถึง 18,000 ล้านบาท[4] และได้มีงานเปิดตัวโครงการในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่องานว่า “มหานคร แบงค็อก ไรซ์ซิ่ง เดอะ ไนท์ ออฟ ไลท์” (MAHANAKHON: BANGKOK RISING, THE NIGHT OF LIGHTS) [5]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นโครงการ 51% จากกลุ่มเพช ดีเวลลอปเม้นท์ โดยซื้อเฉพาะส่วนโรงแรม ชั้นชมทัศนียภาพ และส่วนมหานครคิวบ์ ยกเว้นส่วนของห้องชุดเพื่อการพักอาศัย[6][7] และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออาคารเป็น คิง เพาเวอร์ มหานคร ในปัจจุบัน
ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำหน่าย ไปรษณีย์บัตรภาพพร้อมส่ง ชุด คิง พาวเวอร์ มหานคร[8]
การออกแบบและจัดสรรพื้นที่
แก้คิง เพาเวอร์ มหานครตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 9 ไร่ บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีพื้นที่ใช้สอย 135,000 ตร.ม.[9] ออกแบบภายใต้แนวคิดอาคารเสมือนถูกโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติหรือ "พิกเซล" ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น เมื่อตึกสร้างเสร็จได้ทำลายสถิติความสูงของตึกใบหยก 2 ที่มีความสูง 304 เมตร
คิง เพาเวอร์ มหานคร ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- โรงแรมเดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร (The Standard, Bangkok Mahanakhon)[10][11]
- ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส แอท คิง เพาเวอร์ มหานคร (The Residences at King Power Mahanakhon)
- มหานคร คิวบ์ (Mahanakhon CUBE) อาคารไลฟ์สไตล์ รีเทล
- คิง เพาเวอร์ อินทาวน์สโตร์ (King Power Intown Store)
- ศูนย์อาหารมหานคร ไทย เทสต์ ฮับ
- มหานคร อีทเทอรี
นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมมหานครสแควร์ และทางเชื่อมไปยังสถานีช่องนนทรีของรถไฟฟ้าบีทีเอส
อ้างอิง
แก้- ↑ PACE (1 January 2011). "มหานครตึกสูงที่สุดในกทม". PACE (Press release). PACE Development Corporation PLC. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
- ↑ "ตึกสูงสุดในไทย "มหานคร" เบียดชนะตึกใบหยก". ประชาชาติธุรกิจ. 2015-11-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-23.
- ↑ PACE (27 May 2009). "PACE joins hand the Fishman Group". PACE (Press release). PACE Development Corporation PLC. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
- ↑ PACE (7 February 2013). "มหานครปรับขึ้นราคา 5%". PACE. PACE Development Corporation Plc. สืบค้นเมื่อ 7 February 2013.
- ↑ MahaNakhon (29 August 2016). "เริ่มแล้ว! เปิดตัว "ตึกมหานคร" สูงสุดในประเทศไทย". MTHAI (Press release). MTHAI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-30. สืบค้นเมื่อ 29 August 2016.
- ↑ “คิงเพาเวอร์”โดดอุ้ม PACE ทุ่ม 1.4 หมื่นล้าน ซื้อ “โปรเจ็กต์มหานคร”
- ↑ ผงาด “คิง เพาเวอร์มหานคร” ทุ่ม 14,000 ล้านซื้อ “มหานคร”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๘๓ ง, 2 เมษายน 2562.
- ↑ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจปีที่ 36 ฉบับที่ 3,189 วันที่ 4–7 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ "The Standard Bangkok". www.standardhotels.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ The Standard Is Opening New Hotels Around the World — Starting With a Stunning Flagship in Bangkok’s Coolest Skyscraper
- ↑ "Ojo Bangkok ร้านอาหาร Mexican ที่สวยที่สุดในไทย!". CLEO Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-06-09.
- ↑ "Paco Ruano เชฟแห่งร้าน Ojo ที่อยากเปลี่ยนอาหารเม็กซิกันแบบ Fine Dinnig ให้เป็น Fun Dining". groundcontrolth.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คิง เพาเวอร์ มหานคร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°43′27″N 100°31′42″E / 13.724167°N 100.528333°E
- Official website
- The Ritz-Carlton Residences, Bangkok Official website
- MahaNakhon at Emporis
- PACE Development Corporation PLC website
- facebook page with ongoing construction updates
ก่อนหน้า | คิง เพาเวอร์ มหานคร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ใบหยก 2 | อาคารที่สูงที่สุดในไทย (พ.ศ. 2559 – 2561) |
แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส แอท ไอคอนสยาม |