เกาะรัตนโกสินทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[1] ฝั่งตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนฝั่งตะวันออกติดกับคลองหลายสาย แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวจีนในสมัยกรุงธนบุรี เกาะนี้เป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังกับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และสถานที่อื่นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์[2]
พระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางของเกาะรัตนโกสินทร์ | |
ภาพแผนที่เกาะรัตนโกสินทร์ | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | แม่น้ำเจ้าพระยา, คลองรอบกรุง |
พิกัด | 13°45′14″N 100°29′51″E / 13.7540249°N 100.4973646°E |
ประเภท | เกาะขุด |
เกาะทั้งหมด | 2 เกาะ |
เกาะหลัก | เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน |
พื้นที่ | 4.142 ตารางกิโลเมตร (1.599 ตารางไมล์) |
การปกครอง | |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | พระนคร |
แขวง | พระบรมมหาราชวัง วังบูรพาภิรมย์ วัดราชบพิธ สำราญราษฎร์ ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า บวรนิเวศ ตลาดยอด ชนะสงคราม |
เมืองหลวง | พระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) เสาชิงช้า (ศาลาว่าการ) |
แขวงใหญ่สุด | วังบูรพาภิรมย์ (ประชากร 8,489 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
เดมะนิม | ชาวพระนคร |
ประชากร | 28,546 คน (2565) |
ภาษา | ไทย, แต้จิ๋ว, หมิ่นใต้, ปัญจาบ, ฮินดี, คุชราต |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ไทยสยาม, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยเชื้อสายอินเดีย |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา | |
รหัสไปรษณีย์ | 10200 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เดิม เกาะรัตนโกสินทร์มีอาณาเขตอยู่ในเขตพระนครทั้งหมด ล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองรอบกรุง มีพื้นที่ประมาณ 4.142 ตารางกิโลเมตร (2,589 ไร่) แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
- เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน คือ บริเวณที่มีอาณาเขตล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของกรุงธนบุรีมาก่อน มีพื้นที่ประมาณ 1.647 ตารางกิโลเมตร (1,029 ไร่) ครอบคลุมท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังทั้งแขวง
- เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอก คือ บริเวณที่มีอาณาเขตอยู่ระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง (คลองบางลำพู-คลองโอ่งอ่าง) ล้อมรอบด้วยคลองคูเมืองเดิม แม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือ คลองรอบกรุง และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2.495 ตารางกิโลเมตร (1,559 ไร่) ครอบคลุมท้องที่ส่วนใหญ่ของเขตพระนคร ได้แก่ แขวงชนะสงคราม แขวงบวรนิเวศ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงวัดราชบพิธ แขวงตลาดยอด และแขวงวังบูรพาภิรมย์
ปัจจุบัน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2564 ในข้อ 5 นับรวมพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ในฝั่งพระนครเพิ่มในช่วงพื้นที่ที่อยู่ระหว่างคลองรอบกรุงกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 4.741 ตารางกิโลเมตร (2,963 ไร่) ครอบคลุมท้องที่เขตพระนครในแขวงที่เหลือ คือ แขวงบ้านพานถม แขวงบางขุนพรหม และแขวงวัดสามพระยา รวมทั้งเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ทั้งเขต เป็นพื้นที่ต่อเนื่องอีกด้วย[3] ทำให้เกาะรัตนโกสินทร์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8.883 ตารางกิโลเมตร (5,552 ไร่)
ประวัติศาสตร์
แก้กรุงเทพมหานครได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทยในปี พ.ศ. 2325 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ตำบลบางกอก ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเหตุผลดังนี้
- มีประชากรตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้น ถ้าขยายเมืองออกไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำจะไม่เหมาะสมแก่การปกป้องเมือง เพราะเมืองมีลักษณะเป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง ทำให้ป้องกันข้าศึกได้ยาก และไม่สามารถขยายเมืองออกไปได้อีก
- ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่กว้างขวางกว่า สามารถขยายเมืองออกไปได้ในอนาคต
เมื่อ พ.ศ. 2520 หรือ 5 ปีก่อนพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ทางราชการได้กำหนดชื่อ "เกาะรัตนโกสินทร์" ขึ้น เพื่อกำหนดไว้เป็นเขตปรับปรุงปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพราะถือเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ระยะแรกเริ่ม[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Bangkok Walking Tour: Rattanakosin Island". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-13. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
- ↑ "Rattanakosin Island". Thai Websites. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
- ↑ "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 138 (พิเศษ 193 ง): 1–5. 20 สิงหาคม 2564.
- ↑ "ประวัติเกาะรัตนโกสินทร์". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Bangkok/Rattanakosin จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
13°45′14″N 100°29′51″E / 13.754025°N 100.497365°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เกาะรัตนโกสินทร์
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย