รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (อังกฤษ: S.R.T. Red Line Mass Transit System, Nakhon Withi Line)[1] หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน (พระราชวังสนามจันทร์–กรุงเทพอภิวัฒน์–แปดริ้ว) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดและเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี
รถไฟฟ้าสายสีแดง ฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 2000 ขบวนหมายเลข6 ขณะทดสอบออกจากสถานีบางบำหรุในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี38 (ทั้งหมด)
4 (เปิดให้บริการ)
34 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟรางหนัก
ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนเข้าประมูล
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรไฟฟ้าบางซื่อ
ขบวนรถฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 2000
ประวัติ
ปีที่เริ่มพ.ศ. 2552
เปิดเมื่อ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (2 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง26 กิโลเมตร (16 ไมล์)
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
ทางระดับพื้นดิน
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC จ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ความเร็ว160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (99 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อาณัติสัญญาณETCS Level 1
แผนที่เส้นทาง

สายตะวันออก
ฉะเชิงเทรา
บางเตย
คลองบางพระ
คลองแขวงกลั่น
เปรง
คลองอุดมชลจร
คลองหลวงแพ่ง
หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ)
เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน: อู่ตะเภา
สุวรรณภูมิ
ลาดกระบัง
บ้านทับช้าง
สายสีเหลือง ศรีกรีฑา – กลันตัน
หัวหมาก
รามคำแหง
คลองตัน
มักกะสัน
( สายซิตี้: ราชปรารภ)
แม่น้ำ
คลองเตย
เพลินจิต
สายสีแดงอ่อน แม่น้ำ
พญาไท
สายสีแดงเข้ม หัวลำโพง
ราชวิถี
( สามเสน)
กรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลาง)
ศูนย์ซ่อมบำรุง
สายซิตี้: ดอนเมือง
สายสีแดงเข้ม ดอนเมือง
สายเหนือ/สายตะวันออกเฉียงเหนือ
บางซ่อน
พระราม 6
แม่น้ำเจ้าพระยา
บางกรวย-(กฟผ.)
ธนบุรี-ศิริราช
จรัญสนิทวงษ์
บางบำหรุ
คลองบางกอกน้อย
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
สายสีแดงอ่อน ธนบุรี
ตลิ่งชัน
ส่วนต่อขยายด้านตะวันตก
บ้านฉิมพลี
ศาลาธรรมสพณ์
ศาลายา
คลองมหาสวัสดิ์
วัดงิ้วราย
นครชัยศรี
ท่าแฉลบ
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยท่าแฉลบ
ต้นสำโรง
นครปฐม
(รถไฟสายใต้)

โครงการมีระยะทางทั้งหมด 117.5 กิโลเมตร 31 สถานี ในเส้นทางหลัก และ 12.5 กิโลเมตร 6 สถานี ในเส้นทางแยกทั้งสองช่วง เป็นเส้นทางหลักในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเกิดขึ้นจากการรวมเส้นทางรถไฟชานเมืองสายตะวันตก (หัวลำโพง-นครปฐม) และรถไฟชานเมืองสายตะวันออก (หัวลำโพง-ชุมทางฉะเชิงเทรา) เข้าด้วยกันตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันตก (พื้นที่นครปฐม ตลอดจนกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออก (พื้นที่อ่อนนุช-ลาดกระบัง และฉะเชิงเทรา) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง และยังสามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานหลักทั้งสามแห่งด้วยระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานที่มีแนวเส้นทางขนานตลอดทั้งโครงการฝั่งตะวันออก รองรับประชาชนทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกให้สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และจากใจกลางกรุงเทพมหานครออกสู่จังหวัดบริวาร ไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยทั้งฝั่งตะวันตก (ศาลายา) และตะวันออก (ลาดกระบัง) และสู่จังหวัดโดยรอบได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ส่วนแรก (บางซื่อ–ตลิ่งชัน) ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ในทันที เนื่องจากต้องรอการก่อสร้างอาคารสถานีกลางบางซื่อและการสั่งซื้อระบบรถไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญญาว่าจ้างของการก่อสร้างเส้นทางในสายสีแดงเข้ม โครงการให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการ ส่วนที่เหลือได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน–ศาลายา , ตลิ่งชัน–ศิริราช , บางซื่อ–มักกะสัน-หัวหมาก , บางซื่อ-หัวลำโพง อยู่ระหว่างการทบทวนแบบการก่อสร้าง [2]เนื่องจากมีการปรับกรอบวงเงิน[3]ในการดำเนินการ[4][5] [6]และช่วงศาลายา–นครปฐม ช่วงพญาไท–แม่น้ำ ช่วงหัวหมาก–หัวตะเข้ และช่วงหัวตะเข้–ฉะเชิงเทรา ยังเป็นเพียงแผนงาน

ภาพรวม แก้

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในลักษณะของการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางหลักในแนวตะวันตกที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายใต้ และตะวันออกที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายตะวันออก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ผ่านตัวเมืองนครปฐม มุ่งหน้าข้ามแม่น้ำท่าจีน เข้าสู่ตัวเมืองศาลายา ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล และย่านพุทธมณฑล เข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีจนถึงสถานีตลิ่งชัน แนวเส้นทางแบ่งออกเป็นสองช่วง เส้นทางหลักจะยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครย่านบางซื่อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีบางซ่อน รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีบางซื่อ จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อวิ่งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีพญาไท รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีมักกะสัน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีหัวหมาก และตั้งแต่ช่วงสถานีพญาไทจนถึงสถานีลาดกระบัง สามารถเปลี่ยนโหมดการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ได้ทุกสถานี รวมถึงที่สถานีพญาไทจะมีแนวเส้นทางแยกออกอีกสองเส้น เส้นทางหลักจะมุ่งหน้าต่อตามทางรถไฟสายตะวันออกแล้วลดระดับเป็นระดับดินเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ผ่านสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายตะวันออกที่จะมุ่งหน้าสู่จังหวัดสระแก้ว และสายตะวันออกเลียบชายฝั่งที่จะมุ่งหน้าสู่จังหวัดระยอง รวมระยะทางทั้งสิ้น 117.5 กิโลเมตร

ในส่วนของเส้นทางแยกทั้งสองช่วง ช่วงแรกจะแยกจากสถานีตลิ่งชันลงไปตามทางรถไฟสายตลิ่งชันเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่โรงพยาบาลศิริราช อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ในช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีบางขุนนนท์ ช่วงที่สองจะแยกจากสถานีพญาไทลงไปตามทางรถไฟสายมักกะสัน-แม่น้ำ เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีรถไฟแม่น้ำซึ่งจะถูกพัฒนาให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในช่วงนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีเพลินจิต รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าสายสีเทาที่สถานีคลองเตย และรถไฟฟ้าสายสีเงินที่สถานีแม่น้ำ รวมระยะทางทั้งสองช่วงที่ 12.5 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน แก้

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
นครปฐม / พระปฐมเจดีย์ / บ่อพลับ / ธรรมศาลา / สามควายเผือก เมืองนครปฐม นครปฐม
ศีรษะทอง / วัดแค / งิ้วราย นครชัยศรี
มหาสวัสดิ์ / ศาลายา พุทธมณฑล
บางกรวย บางกรวย นนทบุรี
ศาลาธรรมสพน์ ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
ฉิมพลี / ตลิ่งชัน ตลิ่งชัน
บางพลัด / บางอ้อ บางพลัด
จตุจักร จตุจักร
บางซื่อ บางซื่อ
สามเสนใน พญาไท
สวนจิตรลดา ดุสิต
ทุ่งพญาไท / ถนนพญาไท / มักกะสัน ราชเทวี
บางกะปิ ห้วยขวาง
สวนหลวง สวนหลวง
ประเวศ ประเวศ
ลาดกระบัง / ทับยาว / ชุมทอง ลาดกระบัง
คลองหลวงแพ่ง / อุดมชลจร / คลองอุดมชลจร / คลองเปรง / บางเตย / วังตะเคียน / หน้าเมือง เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

แนวเส้นทางของโครงการ แก้

 
สถานีบางซ่อนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559

รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี มีแนวเส้นทางในแนวตะวันตก-ตะวันออกของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ในแนวตะวันตก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายวิ่งเลียบทางพิเศษศรีรัช เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีบางซ่อน จากนั้นวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวขนานกับสะพานพระราม 7 ไปจนถึงสถานีตลิ่งชัน แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนตลิ่งชัน - นครปฐม รถไฟฟ้าจะวิ่งตามแนวทางรถไฟสายใต้ไปจนสิ้นสุดโครงการที่สถานีรถไฟนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และส่วนตลิ่งชัน - ศิริราช รถไฟฟ้าจะวิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตลิ่งชัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีบางขุนนนท์ แล้ววิ่งต่อตามแนวรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม เพื่อสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่อาคารรักษาพยาบาลหลังใหม่ของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

ในแนวตะวันออก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และทางรถไฟสายตะวันออก ไปจนถึงสถานีพญาไทที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนพญาไท - ฉะเชิงเทรา รถไฟฟ้าจะวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกไปสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก สามารถเปลี่ยนทางไปรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ที่สถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง และสถานีลาดกระบัง และส่วนพญาไท - แม่น้ำ รถไฟฟ้าจะวิ่งลงไปตามทางรถไฟสายเข้าโรงกลั่นน้ำมัน ปตท. พระโขนง เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีเพลินจิต รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีคลองเตย และสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีแม่น้ำ

รายชื่อสถานี แก้

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี ขบวนที่จอด จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
เส้นทางหลัก บางซื่อ-ตลิ่งชัน
ตลิ่งชัน RW06 - สายแยกตลิ่งชัน-ศิริราช
สายสีลม สถานีตลิ่งชัน (โครงการ)
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร
บางบำหรุ RW05 กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี
สะพานคู่ขนานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
บางซ่อน RW02 - สายสีม่วง สถานีบางซ่อน 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
RW01
RE01
สายสีแดงเข้ม (สถานีร่วม)
สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ
สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)

รูปแบบของโครงการ แก้

ทางวิ่งและขบวนรถ แก้

  • เป็นระบบไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ในฝั่งตะวันตกมีทั้งทางยกระดับที่ความสูง 7 เมตรในพื้นที่ฝั่งพระนครจนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเสร็จ แล้วลดระดับลงเป็นทางวิ่งระดับดินไปตลอดโครงการ ส่วนฝั่งตะวันออกมีทั้งทางวิ่งยกระดับความสูง 7 เมตร และรถไฟฟ้าใต้ดินผสมกันไป พอพ้นสถานีหัวหมาก ทางวิ่งจะลดระดับลงเป็นทางวิ่งระดับดินไปตลอดโครงการ
  • ขนาดราง 1 เมตร (Meter guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีจ่ายไฟต้นทางบางซื่อของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 11,960 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ แก้

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีท่าแฉลบ จังหวัดนครปฐม ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สิ่งอำนวยความสะดวก แก้

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน

สถานี แก้

ในระยะแรก (ศาลายา - หัวหมาก) มีสถานีทั้งหมด 17 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 เป็นสถานียกระดับ 1 สถานี และเป็นสถานีระดับดิน 2 สถานี คงไว้เป็นสถานีในอนาคต 3 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับ 2 สถานี และสถานีระดับดิน 1 สถานี และสถานีส่วนต่อขยาย 11 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ

ขบวนรถไฟฟ้า แก้

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่น เอ-ซีรีส์ 2000 ที่เป็นรุ่นสั่งเฉพาะ โดยอาศัยเค้าโครงต้นแบบจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 10 ขบวน 40 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 4 ตู้ ผลิตโดย ฮิตาชิ จุผู้โดยสารได้สูงสุด 897 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น แก้

รถไฟทางไกล แก้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RW01
RE01
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
สายใต้
สายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกขบวน สายใต้เฉพาะขบวนรถเร็ว/ด่วน/ด่วนพิเศษ

รถไฟฟ้ามหานคร แก้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว
RW01
RE01
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สายสีน้ำเงิน : สถานีบางซื่อ เชื่อมต่อโดยตรง
RW02 สถานีบางซ่อน สายสีม่วง : สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
RWS01 สถานีบางขุนนนท์ สายสีน้ำเงิน : สถานีบางขุนนนท์
สายสีส้ม : สถานีบางขุนนนท์
RWS03 สถานีศิริราช สายสีส้ม : สถานีศิริราช เชื่อมต่อผ่านอาคารรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช
RW04 สถานีมักกะสัน สายสีน้ำเงิน : สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อโดยทางเดินยกระดับ

โครงการก่อสร้างในปัจจุบัน และส่วนต่อขยาย มีการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อ และ/หรือ ใช้สถานีร่วม ดังนี้

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น แก้

โครงการส่วนต่อขยาย แก้

รายชื่อสถานีส่วนต่อขยายด้านตะวันตก แก้

ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และตลิ่งชัน – ศิริราช ผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมการประมูล สำหรับส่วนต่อขยายศาลายา – นครปฐม อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานปรับปรุงโครงการรถไฟชานเมืองด้านตะวันตก

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
บางซื่อ – ตลิ่งชัน (สถานีเพิ่มเติม)
RW03 พระราม 6 กรุงเทพมหานคร
RW04 บางกรวย-กฟผ. จังหวัดนนทบุรี
ตลิ่งชัน – ศาลายา
RW07 บ้านฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
RW08 กาญจนาภิเษก
RW09 ศาลาธรรมสพน์
RW10 ศาลายา ยกระดับ จังหวัดนครปฐม
ศาลายา – นครปฐม
RW11 คลองมหาสวัสดิ์ ระดับดิน จังหวัดนครปฐม
RW12 วัดงิ้วราย
RW13 นครชัยศรี
RW14 ท่าแฉลบ
RW15 ต้นสำโรง
RW16 นครปฐม
เส้นทางสายแยก ตลิ่งชัน – ศิริราช
RW06 ตลิ่งชัน ระดับดิน สายหลักบางซื่อ-นครปฐม
สายสีลม สถานีตลิ่งชัน (โครงการ)
กรุงเทพมหานคร
RWS01 ตลาดน้ำตลิ่งชัน
RWS02 จรัญสนิทวงศ์ สายสีน้ำเงิน สถานีบางขุนนนท์
สายสีส้ม สถานีบางขุนนนท์ (โครงการ)
RWS03 ศิริราช สายสีส้ม (สถานีร่วม) (โครงการ)

รายชื่อสถานีส่วนต่อขยายด้านตะวันออก แก้

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รวมงานโยธาช่วงบางซื่อ – พญาไท เข้ากับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สำหรับส่วนต่อขยายช่วงพญาไท – หัวหมาก อยู่ในระหว่างเตรียมการประมูล ส่วนช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา และ พญาไท – แม่น้ำ อยู่ในระหว่างการออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วง หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
บางซื่อ – หัวหมาก
RW01
RE01
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
ยกระดับ สายสีแดงเข้ม (สถานีร่วม)
สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ
สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)
กรุงเทพมหานคร
RE02 แยกราชวิถี ใต้ดิน สายสีแดงเข้ม (สถานีร่วม)
RE03 พญาไท ยกระดับ สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
สายซิตี้ สถานีพญาไท
RE04 มักกะสัน สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
สายซิตี้ สถานีมักกะสัน
RE05 รามคำแหง สายซิตี้ สถานีรามคำแหง
RE06 หัวหมาก สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก
สายซิตี้ สถานีหัวหมาก
หัวหมาก – ฉะเชิงเทรา
RE07 บ้านทับช้าง ระดับดิน สายซิตี้ สถานีบ้านทับช้าง กรุงเทพมหานคร
RE08 ลาดกระบัง สายซิตี้ สถานีลาดกระบัง
RE09 หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบังฯ)
RE10 คลองหลวงแพ่ง
RE11 คลองอุดมชลจร จังหวัดฉะเชิงเทรา
RE12 เปรง
RE13 คลองแขวงกลั่น
RE14 คลองบางพระ
RE15 บางเตย
RE16 ฉะเชิงเทรา
เส้นทางสายแยก พญาไท – แม่น้ำ
RE03 พญาไท ยกระดับ สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
สายซิตี้ สถานีพญาไท
กรุงเทพมหานคร
RES01 เพลินจิต สายสุขุมวิท สถานีเพลินจิต
RES02 คลองเตย สายสีน้ำเงิน สถานีคลองเตย
สายสีเทา สถานีคลองเตย
RES03 แม่น้ำ ระดับดิน สายสีเงิน สถานีแม่น้ำ

แผนการก่อสร้าง แก้

อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี มีแผนดำเนินการดังนี้

ระยะที่ ช่วง ระยะทาง สถานะ
1 บางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ
2 ตลิ่งชัน-ศาลายา 12 กม. ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลในเดือนมิถุนายน 2563[7]
ตลิ่งชัน-ศิริราช 6.5 กม. ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูล
3 ศาลายา-นครปฐม 29 กม.
4 บางซื่อ-พญาไท 6.4 กม. รวมงานโยธาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน
5 พญาไท-หัวหมาก 13 กม. ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี อยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดประมูล
6 หัวหมาก-ชุมทางฉะเชิงเทรา 40 กม.
7 พญาไท-แม่น้ำ 6 กม.

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ "นครวิถี-ธานีรัถยา" และ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2022.
  2. "รอสรุป TOR ประมูลที่ดินบางซื่อ "ศักดิ์สยาม" เร่งขยายสายสีแดง-มธ.รังสิต". MSN.
  3. isranews (2023-01-14). "'ศักดิ์สยาม' ปักหมุด ก.พ. 66 ดันโปรเจ็กต์ 'รถไฟ-ถนน' 2 แสนล้านเข้าครม". สำนักข่าวอิศรา.
  4. SUB_NUM (2023-01-22). "รอสรุป TOR ประมูลที่ดินบางซื่อ "ศักดิ์สยาม" เร่งขยายสายสีแดง-มธ.รังสิต". ประชาชาติธุรกิจ.
  5. Sumtumpruek, Waruth (2023-01-19). "คมนาคมเตรียมเสนอสายสีแดงช่วงรังสิต-มธ.รังสิต เข้า ครม. เดือน ก.พ. 66". ประชาชาติธุรกิจ.
  6. Siripanjana, Maneerat. ""ศักดิ์สยาม" ดัน 9 โปรเจกต์ "คมนาคม" 5 แสนล้าน เข้า ครม. ทิ้งทวนก่อนรัฐบาลหมดวาระ". เดลินิวส์.
  7. รฟท.คาดประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 สัญญากว่า 2 หมื่นลบ. มิ.ย. นี้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้