โรงพยาบาลหัวเฉียว
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
โรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป (General Hospital) ที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้บริการทุกสาขาการแพทย์โรงพยาบาลหัวเฉียว ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เริ่มจากเป็นสถานพยาบาลผดุงครรภ์เล็ก ๆ เปิดให้บริการทำคลอด ทั้งในและนอกสถานที่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 มีสถิติคนไข้นอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสถานที่ไม่สามารถรองรับผู้มารักษาได้ แม้แต่ใน ช่วง พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ถูกโจมตี แพทย์และพยาบาลยังคงให้บริการทำคลอดและรักษาพยาบาลอย่างไม่ย่อท้อ
โรงพยาบาลหัวเฉียว | |
---|---|
Hua Chiew Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลเอกชน (ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร) ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง |
ที่ตั้ง | 665 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2481 |
ผู้อำนวยการ | น.อ. นายแพทย์ภาณุรัตน์ ธัญญสิริ |
จำนวนเตียง | 338 เตียง[1] |
เว็บไซต์ | โรงพยาบาลหัวเฉียว |
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงเนื่องจากประชากรในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการบริหารมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งดำริให้ย้ายโรงพยาบาลฯ จากบริเวณหลังวัดเทพศิรินทราวาสมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน โดยหันหน้าออกทางถนนกรุงเกษม และเริ่มต้นโครงการก่อสร้างอาคารถาวรและทันสมัยสมบูรณ์แบบขึ้นเพื่อรองรับ การบริการรักษาพยาบาลครอบคลุมทุกสาขาโรคโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนาและฐานะ
อาคาร 22 ชั้น จึงได้กำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2513 ด้วยความร่วมมือและแรงใจของผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างไม่ขาดสาย การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงใน พ.ศ. 2521 และเปิดบริการในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2521
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 22 ชั้น โรงพยาบาลหัวเฉียว อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน โรงพยาบาลหัวเฉียว เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (GENERAL HOSPITAL) ให้บริการทุกสาขาการแพทย์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยปณิธานของหลวงปู่ไต้ฮง พร้อมให้บริการด้วยคุณภาพมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation)[2]
รายชื่อ
แก้ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ | ประธานกรรมการ |
นายกอบชัย ซอโสตถิกุล | รองประธานกรรมการ |
ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ | รองประธานกรรมการ |
นายสัก กอแสงเรือง | รองประธานกรรมการ |
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล | รองประธานกรรมการ |
นางศิริกุล โอภาสวงศ์ | กรรมการและเลขาธิการ |
นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร | กรรมการและรองเลขาธิการ |
นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ | กรรมการและเหรัญญิก |
นายสุรพงศ์ เสรฐภักดี | กรรมการและรองเหรัญญิก |
นางจินดา บุญลาภทวีโชค | กรรมการตรวจสอบ |
ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ | กรรมการ |
นายธนา เสนาวัฒนกุล | กรรมการ |
นายนิพนธ์ ลีละศิธร | กรรมการ |
นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา | กรรมการ |
นายสุหัทย์ ไพรสานฑ์กุล | กรรมการ |
นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ | กรรมการ |
นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ | กรรมการ |
นายอุกฤษฏ์ อัษฎาธร | กรรมการ |
นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ | กรรมการ |
นายบุศรินทร์ วนาสวัสดิ์ | กรรมการ |
ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ | ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการบริหาร |
นายกอบชัย ซอโสตถิกุล | ประธานคณะกรรมการบริหาร |
นายกำสิน เสรฐภักดี | รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 1 |
นายสุธี เกตุศิริ | รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 2 |
ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ | กรรมการบริหาร |
ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ | กรรมการบริหาร |
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล | กรรมการบริหาร |
นพ.สามารถ ตันอริยกุล | กรรมการบริหาร |
นางศิริกุล โอภาสวงศ์ | กรรมการบริหาร |
นายชูเดช เตชะไพบูลย์ | กรรมการบริหาร |
นายกฤษกร เตชะวิบูลย์ | กรรมการบริหาร |
นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ | กรรมการบริหาร |
นายสุธี เกตุศิริ | ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2542 – 2563 |
นางประภัสสร รุจิรากรสกุล | ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ "โรงพยาบาลหัวเฉียว--HUA CHIEW HOSPITAL". www.hc-hospital.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์โรงพยาบาลหัวเฉียว
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงพยาบาลหัวเฉียว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′00″N 100°30′55″E / 13.7499°N 100.5153°E
- คณะกรรมการ เก็บถาวร 2022-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน