รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต–สถานีอ่อนนุช) และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ–สถานีสะพานตากสิน) โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 10 สาย 190 สถานี ครอบคลุมระยะทางไม่น้อยกว่า 277 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | |||
---|---|---|---|
ภาพจากบนซ้าย วนตามเข็มนาฬิกา: ขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | |||
ข้อมูลทั่วไป | |||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานครและปริมณฑล | ||
ประเภท | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว, โมโนเรล, รถไฟฟ้าชานเมือง และระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ | ||
จำนวนสาย | 10 สาย (ปัจจุบัน) 12 สาย (โครงการ)[ต้องการอ้างอิง] | ||
จำนวนสถานี | 190 (ปัจจุบัน) 308 (โครงการ)[ต้องการอ้างอิง] | ||
ผู้โดยสารต่อวัน | 1,897,655 คน-เที่ยว (ข้อมูลจำนวนผู้ใช้งานสูงสุด วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567)[1] | ||
การให้บริการ | |||
เริ่มดำเนินงาน | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | ||
ผู้ดำเนินงาน | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ กรุงเทพธนาคม ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล เอเชีย เอรา วัน | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 276.84 กม. (ตั้งแต่วันที่ 21 พย. 2566)[2] 565.54 กม. (โครงการ) | ||
จำนวนราง | 2 | ||
รางกว้าง | รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 1.435 เมตร รถไฟฟ้าชานเมือง: 1.000 เมตร | ||
การจ่ายไฟฟ้า | รางที่สาม และ จ่ายไฟเหนือหัว | ||
ความเร็วสูงสุด | รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 80 กม./ชม. รถไฟฟ้าชานเมือง: 120-160 กม./ชม. | ||
|
ประวัติ
จุดเริ่มต้น
นับตั้งแต่เริ่มเกิดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร ช่วงยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษา สำรวจ และวางแผนแม่บทสำหรับการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เสนอแนะให้มีระบบรถขนส่งมวลชนแบบเร็ว (Mass Rapid Transit System) เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและการจราจรในกรุงเทพมหานคร จึงดำเนินการจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit System) และโครงการระบบทางด่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[3]
ต่อมากระทรวงคมนาคมได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงริเริ่มแผนการทำโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและทางด่วนยกระดับ (Bangkok Elevated Road & Trains System (BERTS)) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างทางรถไฟ รถไฟฟ้า และทางด่วนยกระดับขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากปัญหาจุดตัดทางรถไฟที่ทำให้กีดขวางกระแสการจราจร ก่อนที่ภายหลังจึงนำผลการศึกษาของไจก้าไปสู่ภาคปฏิบัติในรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ[4]
ในปี พ.ศ. 2533 กระทรวงคมนาคมได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินกับ บริษัท เอสเอ็นซี-ลาวาลิน จำกัด ในเดือนพฤษภาคมและลงนามสัมปทานโครงการโฮปเวลล์กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร[5][6] แต่ทั้งสองโครงการประสบความล่าช้าเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ รวมถึงปัญหาการส่งมอบพื้นที่และปัญหาการทุจริต ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2534 รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน โดยนายนุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด จึงได้ประกาศยกเลิกโครงการทั้งสอง
แม้ว่าโครงการโฮปเวลล์จะถูกประกาศยกเลิกแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการบอกเลิกสัญญา โครงการจึงยังคงเดินหน้าต่อ แต่ทว่าในเงื่อนไขกลับไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนบวกกับปัญหาในการจัดหาแหล่งเงินทุน เงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ต่อมาจึงบอกเลิกสัญญาและมีผลจริงในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงนามบอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541[7]
การเกิดขึ้นของบีทีเอสและรฟม.
ภายหลังจากประกาศยกเลิก 2 โครงการดังกล่าวไปแล้ว กรุงเทพมหานคร โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้อนุมัติโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และลงนามสัมปทานกับบริษัท ธนายง จำกัด ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535[8] ให้ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระยะแรกของการก่อสร้างกลับพบปัญหาในการหาสถานที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ เนื่องจากเดิมกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของสวนลุมพินีในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง แต่การก่อสร้างถูกคัดค้านเนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วย กรุงเทพมหานครจึงพิจารณาย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงไปใช้พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ อันเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งหมอชิต บริษัทธนายงจึงสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ได้ และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังได้รับชื่อพระราชทานโครงการว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" หรือชื่อที่เรียกโดยทั่วไปว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส"[9]
ในขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแนวทางของรัฐบาลในนามของ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในขณะนั้น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกมาดำเนินการต่างหากจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 สภาได้มีการพิจารณาและประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรให้สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในนามของ "การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ก่อนที่โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อันเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของ รฟม. และรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย" เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2547[10][11]
ปัจจุบัน
ปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง M-Map ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งแต่เดิมโครงการมีเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 เส้นทาง แต่ได้มีการขยายออกเป็นทั้งหมด 14 เส้นทาง เปิดให้บริการแล้วกว่า 276.84 กิโลเมตร และกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา M-Map ระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงแผนแม่บทรถไฟฟ้าให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารในอนาคต[12]
ลำดับเหตุการณ์
ลำดับเหตุการณ์การพัฒนา | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | วันที่ | เหตุการณ์ |
2542 | 5 ธันวาคม | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต–อ่อนนุช) |
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ–สะพานตากสิน) | ||
2547 | 3 กรกฎาคม | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อ–หัวลำโพง) |
2552 | 15 พฤษภาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่) |
2553 | 23 สิงหาคม | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีสุวรรณภูมิ–พญาไท) |
2554 | 12 สิงหาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุช–แบริ่ง) |
2556 | 12 มกราคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีวงเวียนใหญ่–โพธิ์นิมิตร) |
14 กุมภาพันธ์ | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีโพธิ์นิมิตร–ตลาดพลู) | |
5 ธันวาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีตลาดพลู–บางหว้า) | |
2559 | 6 สิงหาคม | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีคลองบางไผ่–เตาปูน) |
2560 | 3 เมษายน | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีแบริ่ง–สำโรง) |
11 สิงหาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อ–เตาปูน)[13] | |
2561 | 6 ธันวาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีสำโรง–เคหะฯ)[14] |
2562 | 29 กรกฎาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหัวลำโพง–ท่าพระ)[15] |
9 สิงหาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต–ห้าแยกลาดพร้าว) | |
24 สิงหาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีท่าพระ–บางหว้า)[16] | |
21 กันยายน | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางหว้า–หลักสอง) | |
4 ธันวาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว–มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) | |
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีเตาปูน–สิรินธร) | ||
23 ธันวาคม | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีสิรินธร–ท่าพระ) | |
2563 | 5 มิถุนายน | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–วัดพระศรีมหาธาตุ) |
16 ธันวาคม[17][18] | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ–คูคต) | |
2564 | 16 มกราคม | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี–สถานีคลองสาน) |
8 กุมภาพันธ์[19] | เปิดให้บริการสถานีเพิ่มเติมในเส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีเซนต์หลุยส์) | |
29 พฤศจิกายน[20] | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–รังสิต) | |
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์–ตลิ่งชัน) | ||
2566 | 3 กรกฎาคม[21] | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ (สถานีลาดพร้าว–สำโรง) |
2567 | 7 มกราคม[22] | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี–มีนบุรี) |
กำหนดการในอนาคต
กำหนดการในอนาคต | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | เดือน | เหตุการณ์ |
2568 | ยังไม่กำหนด | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (สถานีเมืองทองธานี–ทะเลสาบเมืองทองธานี) |
2570 | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ลาดกระบัง–ท่าอากาศยานอู่ตะเภา)[23] | |
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีเตาปูน–สถานีครุใน) | ||
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย–สถานีแยกร่มเกล้า) | ||
2571 | เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (บางซื่อ–หัวลำโพง) และ ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (บางซื่อ–หัวหมาก) | |
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (รังสิต–ธรรมศาสตร์รังสิต) และ ส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี (ตลิ่งชัน–ศาลายา และ ตลิ่งชัน–ศิริราช) | ||
2572 | เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเงิน (สถานีบางนา–สถานีธนาซิตี้)[24] | |
เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (สถานีพญาไท–สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง) | ||
เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์–สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) |
รายชื่อสายรถไฟฟ้า
สายที่ให้บริการในปัจจุบัน
สาย | รูปแบบ | เจ้าของ | ผู้ให้บริการ | สถานีปลายทาง | จำนวนสถานี | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
จำนวนผู้โดยสาร ต่อวัน (คน) |
ปีที่เปิดให้บริการ (พ.ศ.) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนแรก | ส่วนต่อขยาย ล่าสุด | ||||||||
รถไฟฟ้าบีทีเอส (3 สาย) | 63[ก] | 70.05 | 751,666 | ||||||
สายสุขุมวิท | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | กทม. | เคที / บีทีเอสซี | คูคต – เคหะฯ | 47 | 53.58 | รวมกัน 744,283 |
2542 | 2563 |
สายสีลม | สนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า | 14 | 14.67 | 2564 | |||||
สายสีทอง | ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ | กรุงธนบุรี – คลองสาน | 3 | 1.80 | 7,383 | 2564 | — | ||
รถไฟฟ้ามหานคร (4 สาย) | 106[ข] | 136.5 | 607,496 | ||||||
สายสีน้ำเงิน | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | รฟม. | บีอีเอ็ม | ท่าพระ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ – หลักสอง | 38[ข] | 48 | 435,042 | 2547 | 2562 |
สายสีม่วง | คลองบางไผ่ – เตาปูน | 16 | 23.6 | 72,177 | 2559 | — | |||
สายสีชมพู | รถไฟรางเดี่ยว | เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี | ศูนย์ราชการนนทบุรี – มีนบุรี | 30 | 34.5 | 58,622 | 2567 | — | |
สายสีเหลือง | อีบีเอ็ม / บีทีเอสซี | ลาดพร้าว – สำโรง | 23 | 30.4 | 41,655 | 2566 | — | ||
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (1 สาย) | 8 | 28.6 | 67,312 | ||||||
สายซิตี้ | รถไฟชานเมือง (รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน) | รฟท. | เอฟเอส / เอราวัน | สุวรรณภูมิ – พญาไท | 8 | 28.6 | 67,312 | 2553 | — |
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง (2 สาย) | 13[ค] | 41.0 | 33,830 | ||||||
สายสีแดงเข้ม | รถไฟชานเมือง | รฟท. | รฟฟท. (ชั่วคราว) | กรุงเทพอภิวัฒน์ – รังสิต | 10 | 26 | รวมกัน 33,830 |
2564 | — |
สายสีแดงอ่อน | กรุงเทพอภิวัฒน์ – ตลิ่งชัน | 4 | 15 | — | |||||
รวมทั้งหมด (10 สาย) | 190 | 276.15 | 1,460,304[25] |
- หมายเหตุ
- ก นับสถานีเชื่อมต่อ (สยาม) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีกรุงธนบุรี
- ข นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน/ท่าพระ) เป็นสถานีเดียว ยกเว้นสถานีลาดพร้าว และศูนย์ราชการนนทบุรี
- ค นับสถานีเชื่อมต่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) เป็นสถานีเดียว
สายที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
สาย | รูปแบบ | ผู้ให้บริการ | จำนวนสถานี | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
สถานีปลายทาง | การดำเนินงาน (พ.ศ.) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ก่อสร้าง | เปิดบริการ/กำหนดเสร็จ | ||||||
สายสีชมพู (ส่วนต่อขยาย) |
รถไฟรางเดี่ยว | เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี | 2 | 2.65 | เมืองทองธานี - ทะเลสาบเมืองทองธานี | 2567 | 2568 |
สายสีส้ม | ขนส่งมวลชนเร็ว | รฟม. บีอีเอ็ม |
29 | 35.9 | บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า | 2560 | 2570[26] |
สายสีม่วง (ส่วนต่อขยาย) |
ขนส่งมวลชนเร็ว | รฟม. บีอีเอ็ม |
17 | 23.6 | เตาปูน - ครุใน | 2565 | |
สายซิตี้ และ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน (ส่วนต่อขยาย) |
เชื่อมท่าอากาศยาน ความเร็วสูง |
ร.ฟ.ท. เอราวัน |
7 | 215.3 | ท่าอากาศยานดอนเมือง - พญาไท ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (ผ่าน 5 จังหวัด: กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) |
2566-2567[26] |
แผนแม่บท
แนวคิดในการพัฒนาแผนแม่บท มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยรัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลเยอรมนีในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนร่วมกัน ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้มีการศึกษา ผลักดัน และสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยมีลำดับการพัฒนาแผนแม่บทดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2537 : แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (MTMP)
ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และกำหนดให้มีการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2554 แผนแม่บทฉบับนี้มีระบบขนส่งมวลชนที่รอการพัฒนาทั้งหมดสามโครงการคือ รถไฟฟ้าธนายง (สายสีเขียว) ตอน 1 และ ตอน 2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตอน 1 และโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (สายสีแดง) พร้อมส่วนต่อขยายและสายทางใหม่ ระยะทางรวม 135 กิโลเมตร แบ่งการดำเนินการออกเป็นสองระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2544) ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงเหนือและส่วนต่อขยายทิศตะวันตก รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทิศเหนือ ส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงใต้ และส่วนต่อขยายทิศตะวันออก และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก-ตะวันตก และช่วงเหนือ-ใต้ รวมระยะทางทั้งหมด 71.4 กิโลเมตร
- ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2554) ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วงตอน 1 และตอน 2 รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายด้านตะวันออก ส่วนต่อขยายตะวันออก-ตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนต่อขยายตะวันออกและส่วนต่อขยายตะวันออกเฉียงใต้ รวมระยะทางทั้งหมด 63.6 กิโลเมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สจร. (สนข. ในปัจจุบัน) ได้มีการนำแผนแม่บทฉบับนี้ไปปรับปรุงเพิ่มเติมจนเป็นโครงการศึกษาและออกแบบเพื่อนำแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ (CTMP) พร้อมกับขยายเส้นทางเพิ่มเติมออกไปอีกเป็น 178.9 กิโลเมตร และในปีเดียวกันได้มีการพิจารณาเพิ่มเติมโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองทั้งรถไฟฟ้าโมโนเรล และรถไฟฟ้าขนาดเบา เพื่อเสริมให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการขนส่งทางราง ด้วยโครงการระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 11 โครงการ ระยะรวม 206 กิโลเมตร ดังต่อไปนี้
- รถไฟฟ้าสายสีแดง ระยะทาง 44.8 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- R-1 ระยะทาง 14.3 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงยมราช-บางกอกน้อย-ตลิ่งชัน และตลิ่งชัน-วงแหวนรอบนอก
- R-2 ระยะทาง 16.9 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-โพธิ์นิมิตร และโพธิ์นิมิตร-วงแหวนรอบนอก
- R-3 ระยะทาง 13.6 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงหัวหมาก-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านเหนือ
- รถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 33.4 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
- G-1 ระยะทาง 21.4 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงอ่อนนุช-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านใต้
- G-2 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศเหนือ ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-รัชโยธิน
- G-3 ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงสาทร-วงเวียนใหญ่
- G-4 ระยะทาง 5.9 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยช่วงบางนา-สำโรง
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 24 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- B-1 ระยะทาง 11 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า
- B-2 ระยะทาง 13 กิโลเมตร ต่อขยายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงหัวลำโพง-บางกอกใหญ่-บางแค
- รถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะทาง 55 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- ON (ส่วนเหนือ) ระยะทาง 20.9 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงบางกะปิ-ผ่านฟ้า
- OS (ส่วนใต้) ระยะทาง 22.8 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงผ่านฟ้า-ราษฎร์บูรณะ-สำโรงใต้
- OE (ส่วนตะวันออก) ระยะทาง 11.8 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงบางกะปิ-มีนบุรี
- รถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
- PN (ส่วนเหนือ) ระยะทาง 16 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงเตาปูน-บางพูด (ปากเกร็ด)
- PS (ส่วนใต้) ระยะทาง 5.2 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงเตาปูน-สามเสน (ซังฮี้)
- โครงการระบบขนส่งมวลชนรอง
- ศูนย์ชุมชนบางบัวทอง-ศูนย์ชุมชนตลิ่งชัน (เชื่อมต่อสายสีแดง R-1)
- สามแยกบางใหญ่-สะพานพระนั่งเกล้า (เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน B-1)
- สะพานพระราม 7-ดาวคะนอง (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
- ราษฎร์บูรณะ-พุทธบูชา (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
- ราษฎร์บูรณะ-บางมด (เชื่อมต่อสายสีส้ม OS)
- วงแหวนหัวลำโพง-พระราม 3 (เชื่อมต่อสายสีแดง R-2 สายสีเขียวตอน 2 และสายสีน้ำเงินตอน 1)
- สำโรง-ศรีสำโรง (เชื่อมต่อสายสีเขียว G-4 และสายสีส้ม OS)
- รัชโยธิน-ศรีเอี่ยม (เชื่อมต่อสายสีเขียว G-2 และ G-1)
- รามคำแหง-อ่อนนุช (เชื่อมต่อสายสีเขียวตอน 1 และสายสีส้ม OE)
- ปากเกร็ด-มีนบุรี (เชื่อมต่อสายสีม่วง PN สายสีแดงตอน 1 และสายสีส้ม ON)
- อ่อนนุช-พัฒนาการ
- รัชโยธิน-ศูนย์ชุมชนมีนบุรี
- ลำลูกกา-ประชาอุทิศ
- วัชรพล-ประชาอุทิศ
- นวลจันทร์-บางกะปิ
พ.ศ. 2543 : แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง (URMAP)
หลังเหตุการณ์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ซึ่งเกิดขึ้นจากการลอยตัวค่าเงินบาทในประเทศไทยจนส่งผลกระทบต่อประเทศรอบข้าง รัฐบาลไทยในสมัยชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศไทย รวมถึงได้บอกเลิกสัญญาสัมปทานกับบริษัท โฮปเวลล์ หลังการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนและหยุดการดำเนินการมาเป็นระยะเวลานาน ในปี พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ สนข. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางฉบับใหม่เพื่อใช้ทดแทนฉบับเดิม เนื่องมาจากการพัฒนาไม่เป็นไปตามแผน และประเทศอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจ โดยมีสมมติฐานว่าสภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยจะกลับสู่สภาวะปกติและเริ่มฟื้นตัวทางบวกในปี พ.ศ. 2545 จึงมีแนวคิดในการศึกษาโครงการโดยเน้นการกระจายความเจริญของเมืองจากศูนย์กลางไปยังบริเวณรอบๆ ให้การพัฒนาเมืองกระจายตัวมากขึ้นตามถนนสายหลัก
แผนแม่บทฉบับนี้ได้มีการดัดแปลงเส้นทางหลายโครงการตามแผนแม่บทฉบับเดิม เน้นการกระจายตัวไปยังพื้นที่หลายส่วน ดังต่อไปนี้
- ยกระดับสายสีแดงเดิมขึ้นมาเป็น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และกำหนดให้เป็นเส้นทางสายหลักสำหรับการเดินทางภายในกรุงเทพมหานคร
- ยกระดับสายสีน้ำเงินขึ้นมาเป็น รถไฟฟ้าวงแหวน โดยเพิ่มช่วงเตาปูน-ท่าพระ ให้เป็นเส้นทางวงแหวนรอบใน และช่วงท่าพระ-คลองเตย ให้กลายเป็นเส้นทางวงแหวนรอบนอก
- รวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงรัชโยธิน-ศรีเอี่ยม และช่วงสำโรง-ศรีสำโรง รวมถึงเพิ่มเส้นทางช่วงศรีเอี่ยม-ศรีสำโรง และยกระดับให้กลายเป็น รถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยแยกช่วงเป็นสองตอนคือตอน 1 ลาดพร้าว-พัฒนาการ และตอน 2 พัฒนาการ-สำโรงใต้
- รวมเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองช่วงลำลูกกา-ประชาอุทิศ เข้ากับ รถไฟฟ้าสายสีเขียว และต่อขยายสายทางเพิ่มอีก 4 ช่วง ได้แก่ส่วนต่อขยายทิศเหนือ ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต และช่วงคูคต-ลำลูกกา ส่วนต่อขยายทิศใต้ ประกอบด้วยช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ส่วนต่อขยายทิศตะวันตก ประกอบด้วยช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก และส่วนต่อขยายทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยช่วงสาทร-วงเวียนใหญ่ และช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า และยกเลิกส่วนต่อขยายจากแผนแม่บทฉบับเดิมทั้งหมด
พ.ศ. 2547 : โครงการแปลงแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ (BMT)
แผนแม่บทฉบับนี้เป็นการแปลงแผนแม่บท URMAP ให้ไปสู่การปฏิบัติจริงบนพื้นฐานของนโยบายภาครัฐฯ ที่กำหนดให้โครงการในระยะที่ 1 ต้องแล้วเสร็จภายใน 6 ปี (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2552) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สภาวะเศรษฐกิจฟื้นฟูจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดีขึ้น แผนแม่บทฉบับนี้กำหนดให้มีโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะมีการใช้ที่ดินอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยกำหนดให้มีสถานีรถไฟฟ้า 1 สถานีในระยะ 2 กิโลเมตรสำหรับพื้นที่ชั้นใน และในระยะ 1-1.5 กิโลเมตรสำหรับพื้นที่ชั้นนอก เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าเป็นโครงการชี้นำเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองต่อไป
โครงข่ายที่ถูกนำเสนอในแผนแม่บทฉบับนี้มีทั้งหมด 7 สายทาง ระยะทางรวม 291.2 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ 247.5 กิโลเมตร และส่วนเดิม 43.7 กิโลเมตร แบ่งลักษณะและสายทางเป็นสามกลุ่มดังนี้
- เส้นทางวงแหวน ประกอบด้วย
- สายสีน้ำเงิน (วงแหวนรัชดา-จรัญสนิทวงศ์) โดยยกเลิกช่วงท่าพระ-คลองเตยจากแผนแม่บทฉบับเดิม ให้เน้นเพียงแค่วงแหวนรอบใน กำหนดให้ช่วงท่าพระ-บางซื่อเป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงท่าพระ-บางแค และท่าพระ-บางซื่อ เป็นเส้นทางยกระดับ
- เส้นทางแนวรัศมีเหนือ-ใต้ ประกอบด้วย
- สายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
- สายสีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-บางหว้า) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
- สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการนำช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ส่วนต่อขยาย B-1) และช่วงผ่านฟ้า-ราษฎร์บูรณะ-สำโรงใต้ ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วง OS) ในแผนแม่บทฉบับเดิมมารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดเส้นทางรถไฟฟ้าในแนวรัศมีเหนือ-ใต้ทางด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้ช่วงบางซื่อ-ดาวคะนอง เป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และช่วงดาวคะนอง-ราษฎร์บูรณะ เป็นเส้นทางยกระดับ
- เส้นทางแนวรัศมีตะวันออก-ตะวันตก ประกอบด้วย
- สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ รวมถึงเปลี่ยนแนวเส้นทางให้ไปยึดตามแนวทางรถไฟสายใต้แทนการออกจากสถานียมราชแล้วยึดแนวทางรถไฟสายธนบุรี-ศิริราช
- สายสีเขียวอ่อน (พรานนก-สมุทรปราการ) กำหนดให้เป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ
- สายสีส้ม (บางบำหรุ-บางกะปิ) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเส้นทางช่วงปลายด้านทิศตะวันตกให้ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟบางบำหรุ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กำหนดให้ช่วงบางขุนนนท์-บางกะปิ เป็นเส้นทางใต้ดิน และช่วงบางขุนนนท์-บางบำหรุ เป็นเส้นทางยกระดับ
พ.ศ. 2549 : โครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 10 สายทาง
ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายแนวเส้นทางจากแผนแม่บทระยะที่ 1 ให้มีความครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดให้เพิ่มเส้นทางใหม่จำนวน 3 สายทาง ดังนี้
- สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-ศรีนครินทร์-สำโรง) ระยะทาง 32 กิโลเมตร เส้นทางนี้เคยปรากฏในแผนแม่บท URMAP แต่ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บท BMT
- สายสีชมพู (แคราย-สุวินทวงศ์) ระยะทาง 33 กิโลเมตร เส้นทางนี้เคยปรากฏในแผนแม่บท CTMP แต่ถูกนำออกไปเมื่อครั้งปรับปรุงแผนแม่บท URMAP
- สายสีน้ำตาล (บางกะปิ-มีนบุรี) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
พ.ศ. 2551 : โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่หนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนอีกครั้ง โดยเน้นการขยายตัวของเมือง เพิ่มเส้นทางระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ชานเมืองโดยดูจากอัตราการเติบโตของเมืองที่มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต โดยการปรับปรุงก่อให้เกิดเป็นแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 สายทาง ระยะทาง 311 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางที่ถูกปรับปรุงดังนี้
- สายสีเขียวเข้ม ขยายปลายสายทางจากสะพานใหม่ ให้ไปสิ้นสุดที่ลำลูกกาตามแผนแม่บท BMT พร้อมกับร่างเส้นทางส่วนต่อขยายหนึ่งช่วง คือช่วง กม.25–รังสิต
- สายสีเขียวอ่อน ขยายปลายสายทางจากสมุทรปราการ (บางปิ้ง) ให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณบางปู พร้อมกับลดระยะทางในแผนแม่บท BMT จากพรานนกเหลือเพียงยศเส
- สายสีม่วง ขยายปลายสายทางราษฎร์บูรณะให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณป้อมประจุล
- สายสีน้ำเงิน ขยายปลายสายทางจากบางแคให้ไปสิ้นสุดที่พุทธมณฑลสาย 4 พร้อมกับร่างเส้นทางส่วนต่อขยายไว้สองช่วง ได้แก่ช่วงลาดพร้าว-บางอ้อ และช่วงท่าพระ–คลองเตย
- แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แยกโครงการออกมาดำเนินการแยกจากสายสีแดงอ่อน
- สายสีแดงอ่อน ลดระยะปลายสายทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเหลือเพียงแค่หัวหมาก
- สายสีเหลือง ยกระดับจากเส้นทางสายรองให้กลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก แบ่งออกเป็นทั้งหมดสีช่วง ดังนี้
- ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (YA) ได้แก่ช่วงสำโรง-พัฒนาการ เชื่อมต่อกับสายสีเขียวอ่อน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และสายสีแดงอ่อน
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (YB) ได้แก่ช่วงพัฒนาการ-แคราย เชื่อมต่อกับสายสีแดงอ่อน สายสีส้ม สายสีน้ำตาล สายสีเขียวเข้ม และสายสีแดงเข้ม
- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (YC) ได้แก่ช่วงแคราย-บางหว้า เชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้ม สายสีม่วง สายสีแดงอ่อน สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียวเข้ม
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (YD) ได้แก่ช่วงบางหว้า-สำโรง เชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้ม สายสีน้ำเงิน สายสีแดงเข้ม สายสีม่วง และสายสีแดงอ่อน
พ.ศ. 2553 : การปรับปรุงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่หนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้มีมติให้มีการศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนใหม่อีกครั้ง โดยคำนึงถึงการขยายตัวของเมือง การกระจายความเจริญสู่พื้นที่ชานเมืองโดยอาศัยการชี้นำจากโครงการรถไฟฟ้า โดยแผนแม่บทฉบับนี้ได้มีการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าไว้ทั้งหมด 12 สายทาง ระยะทางรวม 509 กิโลเมตร เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง โครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง ดังต่อไปนี้
- โครงข่ายสายหลัก
- สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)
- สายสีแดงอ่อน
- ศาลายา-หัวหมาก เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการขยายปลายสายทางจากตลิ่งชันไปตามแนวทางรถไฟสายใต้เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดนครปฐม
- ตลิ่งชัน-มักกะสัน เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนเส้นทางสายสีส้มช่วงดินแดง-บางบำหรุ เพื่อให้มีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อ จึงได้เพิ่มสายทางช่วงตลิ่งชัน-มักกะสันเพิ่มขึ้นมา
- แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
- สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-บางปู)
- สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า)
- สายสีน้ำเงิน (พุทธมณฑล-หัวลำโพง-บางซื่อ-ท่าพระ)
- สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
- สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับปรุงเส้นทางช่วงดินแดง-บางบำหรุ เป็นช่วงดินแดง-ตลิ่งชัน โดยให้รถไฟฟ้าวิ่งตามแนวถนนเพชรบุรีตัดใหม่แทน เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อน และยังได้รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาล (บางกะปิ-มีนบุรี) เข้าเป็นเส้นเดียวกัน
- โครงข่ายสายรอง
- สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
- สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการลดระดับของโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก เหลือเพียงเส้นทางสายสีเหลืองตามแผนแม่บท 10 สายทาง
- สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) เส้นทางสายนี้เกิดขึ้นจากการนำเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรอง ช่วงวัชรพล-ประชาอุทิศ ในแผนแม่บท CTMP มาขยายเส้นทางเพิ่มเติมให้ไปสิ้นสุดที่บริเวณสะพานพระราม 9
- สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางเกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเปิดใช้งานศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ และเพื่อเป็นการเสริมเส้นทางในย่านธุรกิจ
แผนแม่บทฉบับนี้เป็นแผนแม่บทที่มีการนำมาใช้พัฒนาโครงการจริงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ปัจจุบันการพัฒนาเสร็จสิ้นไปได้กว่า 70% ของแผนแม่บท แต่อย่างไรก็ตามด้วยระยะเวลาที่ผ่านไปและความไม่เหมาะสมของเส้นทาง จึงได้มีการปรับปรุงแผนแม่บทฉบับนี้อีกครั้ง โดยการปรับปรุงครั้งนี้ได้มีการยกเลิก ปรับปรุง รวมถึงพักการดำเนินการห้าสายทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน ให้พักการดำเนินการไม่มีกำหนด แต่ให้ดำเนินการช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชแทน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้ยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูง แต่ยังคงเส้นทางช่วงดอนเมือง-พญาไท ตามเดิม สายสีส้มให้ลดระยะสถานีปลายทางเหลือเพียงสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อน สายสีเทาและสายสีฟ้าให้ยกเลิกโครงการเนื่องจากไม่อยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปี ทำให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องมีโครงข่ายสายทางทั้งหมด 10 สายมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2567 - โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่สอง (M-MAP 2)
เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองออกสู่เขตปริมณฑลมากขึ้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรดำเนินการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10 สายทาง เพื่อบรรจุลงใน "แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง" หรือ M-Map Phase 2 โดยให้ดำเนินการศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เพื่อวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนหากมีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการ
โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในระยะที่สอง จะเน้นการพัฒนาเส้นทางสายรองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและป้อนผู้โดยสารสู่เส้นทางสายหลักของกรุงเทพมหานครทั้ง 7 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท, สายสีลม, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, สายฉลองรัชธรรม, รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน, สายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน โดยเบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้พิจารณานำเส้นทางที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และ/หรือยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และ/หรือเป็นแผนงานนอกแผนแม่บท และ/หรือถูกยกเลิกจากแผนแม่บทฉบับเดิม จำนวน 4 สายทางมาบรรจุเป็นเส้นทางนำร่อง รวมถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยังได้เตรียมที่จะเสนอรถไฟฟ้าอีก 8 สายทางเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บท ทำให้มีเส้นทางรวมเป็น 11 สายทางในแผนระยะต้น ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้เปิดเผยรายละเอียดร่างแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองที่ผ่านความเห็นชอบร่วมกับไจก้า โดยกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่จำนวน 5 เส้นทาง 131 กิโลเมตร ทั้งต่อขยายจากเส้นทางเดิมและร่างเป็นเส้นทางสายใหม่ อย่างไรก็ตามด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป กรมการขนส่งทางราง (สถานะปัจจุบันของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจร) ได้พิจารณาแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองใหม่ทั้งหมด และได้นำเสนอเส้นทางระบบขนส่งมวลชนสายใหม่อันเป็นแผนงานระยะยาว (Project Long List) จำนวน 29 สาย เพื่อเตรียมพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติใช้เป็นแผนแม่บทฉบับจริงต่อไป
ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 กรมการขนส่งทางราง ได้ประกาศร่างแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง อย่างเป็นทางการ โดยแผนแม่บทฉบับนี้จะเป็นฉบับที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเริ่มอนุมัติใช้งานอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2567 และเร่งรัดการเริ่มพัฒนาทุกโครงการภายใน 20 ปี หรือภายใน พ.ศ. 2585 ประกอบด้วยสามหมวดหลัก ได้แก่
- กลุ่มที่ 1 ส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม
ส่วนต่อขยายเส้นทางเดิม ประกอบด้วยเส้นทางที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จจากแผนแม่บทฉบับเดิม ร่วมกับเส้นทางเสนอใหม่ ได้แก่
- สายสุขุมวิท
- ส่วนเหนือ ช่วงสถานีคูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก (วงแหวน-ลำลูกกา) เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
- ส่วนตะวันออก ช่วงสถานีเคหะสมุทรปราการ - ตำหรุ เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
- สายสีลม
- ส่วนตะวันตก ช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- ส่วนใต้ ช่วงสถานีบางหว้า - รัตนาธิเบศร์ (บางรักน้อยท่าอิฐ) เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของไจก้าในช่วงบางหว้า-แยกลำสาลี แต่เนื่องจาก รฟม. ได้นำเอาช่วงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-แยกลำสาลี ออกมาพัฒนาเป็นสายสีน้ำตาล กรมการขนส่งทางรางจึงพิจารณาเปลี่ยนเส้นทางที่ขาดหายไปในช่วงบางหว้า-ศูนย์ราชการนนท์ฯ ให้กลายเป็นส่วนต่อขยายของสายสีลม และสิ้นสุดที่แยกบางรักน้อยท่าอิฐแทน
- สายสีแดงเข้ม
- ส่วนเหนือ ช่วงสถานีรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- ส่วนใต้ ระยะที่ 1 ช่วงสถานีบางซื่อ (สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) - หัวลำโพง เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- ส่วนใต้ ระยะที่ 2 ช่วงสถานีวงเวียนใหญ่ - มหาชัย เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- ส่วนใต้ ระยะที่ 3 ช่วงสถานีหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- สายสีแดงอ่อน
- ส่วนตะวันตก ระยะที่ 1 ช่วงสถานีตลิ่งชัน - ศาลายา เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- ส่วนตะวันตก ระยะที่ 2 ช่วงสถานีตลิ่งชัน - โรงพยาบาลศิริราช เป็นเส้นทางที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการในปัจจุบัน
- สายซิตี้ ช่วงสถานีลาดกระบัง - ฉะเชิงเทรา เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรมการขนส่งทางราง โดยเป็นการยกเลิกรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก-ฉะเชิงเทรา มาใช้ประโยชน์จากโครงสร้างบางส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มาสร้างสถานีรายทางสำหรับสายซิตี้ เพื่อขยายเขตการเดินทางจากเดิมเพื่อทดแทนสายสีแดงอ่อนส่วนตะวันออกทั้งหมด
- สายสีน้ำเงิน ช่วงหลักสอง - พุทธมณฑล เป็นเส้นทางตามแผนแม่บทเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
- สายสีทอง ช่วงคลองสาน - ประชาธิปก เป็นเส้นทางตามแผนเดิมที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ และกรุงเทพมหานครยุติแผนดำเนินการชั่วคราวจนกว่าจะได้ความชัดเจนเรื่องหลักประกันผู้โดยสาร
- กลุ่มที่ 2 เส้นทางนำเสนอใหม่
เส้นทางนำเสนอใหม่ ประกอบด้วยเส้นทางที่มีการนำเสนอเพื่อดำเนินการใหม่ จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่
- สายสีน้ำตาล ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี - แยกลำสาลี เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของไจก้าในช่วงบางหว้า-แยกลำสาลี แต่ต่อมาได้มีการแยกเส้นทางดังกล่าวออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนศูนย์ราชการนนท์ฯ-แยกลำสาลี เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา ส่วนท่าอิฐ-ศูนย์ราชการนนท์ ให้พัฒนาในรูปแบบ Feeder สำหรับป้อนเข้าระบบ และส่วนบางหว้า-ท่าอิฐ ให้พัฒนาเป็นส่วนต่อขยายของสายสีลม
- สายสีเทา ส่วนเหนือ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางสายสีเทาเดิมมาแยกส่วนให้ขาดจากกัน โดยเส้นทางส่วนเหนือส่วนใหญ่ยังเป็นเส้นทางตามแผนเดิม และกรมการขนส่งทางรางได้มีการขยายเพิ่มไปจนถึงถนนลำลูกกา
- ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
- ระยะที่ 2 ช่วงวัชรพล - คลองสี่ เสนอเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากระยะที่ 1
- สายสีเทา ส่วนใต้ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางรถโดยสารส่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มาเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า และรวมเข้ากับเส้นทางสายสีเทาส่วนที่ขาดจากเส้นทางตามแผนเดิม
- ระยะที่ 1 ช่วงพระโขนง - พระรามที่ 3 เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
- ระยะที่ 2 ช่วงพระรามที่ 3 - ท่าพระ เสนอเป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากระยะที่ 1
- สายสีฟ้า ช่วงดินแดง - ช่องนนทรี เป็นเส้นทางที่ถูกรื้อฟื้นจากแผนแม่บทเดิม เนื่องจากเล็งเห็นว่าเส้นทางมีศักยภาพและมีความคุ้มค่าพอที่จะพัฒนา เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบา
- สายสีเงิน ช่วงบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเส้นทางนำเสนอใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยนำเอาเส้นทางส่วนต่อขยายของสายสีเขียวช่วงอุดมสุข-ศรีเอี่ยม-สุวรรณภูมิ มาดำเนินการแยกต่างหาก เสนอให้พัฒนาในรูปแบบระบบรางเบาหรือรางหนัก
- กลุ่มที่ 3 เส้นทางรองป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบ
เป็นกลุ่มเส้นทางนำเสนอใหม่ที่ยังไม่ได้มีแผนการดำเนินการชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางที่เน้นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบ อาจเสนอให้ดำเนินการในรูปแบบรถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ แทรมล้อยาง แทรมล้อเหล็ก หรืออาจพิจารณาเปลี่ยนเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางที่ถูกเชื่อมได้ ประกอบด้วย
- เส้นทาง ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
- เส้นทาง ดอนเมือง – ศรีสมาน
- เส้นทาง ศาลายา – มหาชัย
- เส้นทาง ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
- เส้นทาง คลอง 6 – องค์รักษ์
- เส้นทาง รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
- เส้นทาง คลองสาน – ศิริราช
- เส้นทาง บางซื่อ – พระราม 3
- เส้นทาง ราชพฤกษ์ – แคราย
- เส้นทาง พระโขนง – ศรีนครินทร์
- เส้นทาง บางซื่อ – ปทุมธานี
- เส้นทาง เมืองทอง – ปทุมธานี
- เส้นทาง บางแค – สำโรง
- เส้นทาง แพรกษา – ตำหรุ
- เส้นทาง ธรรมศาสตร์ – นวนคร
- เส้นทาง บางนา – ช่องนนทรี
- เส้นทางสุวรรณภูมิ – บางบ่อ
- เส้นทาง บรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
- เส้นทาง ธัญบุรี – ธรรมศาสตร์
- เส้นทาง คลอง 3 – คูคต
- เส้นทาง มีนบุรี – สุวรรณภูมิ – แพรกษา - สุขุมวิท
- เส้นทาง เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
- เส้นทาง บางใหญ่ – บางบัวทอง
- เส้นทาง บางปู – จักรีนฤบดินทร์
- เส้นทาง ครุใน – สมุทรปราการ
- เส้นทาง ปทุมธานี – ธัญบุรี
สรุปแผนพัฒนาในปัจจุบัน
สาย | รูปแบบ | ช่วงกว้างราง | ยาว (กม.) | จำนวนสถานี | สถานะ และ แผนพัฒนา | เจ้าของโครงการ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
สีแดงเข้ม | รถไฟฟ้าชานเมือง | Meter Gauge (1.000 m.) | 80.8 | ||||
บ้านภาชี – ธรรมศาสตร์รังสิต | 28.00 | ? | ภายในปี พ.ศ. 2572 | รฟท. | |||
ธรรมศาสตร์รังสิต – รังสิต | 10.30 | 4 | |||||
รังสิต – บางซื่อ | 26.00 | 10 | เปิดให้บริการ เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | ||||
บางซื่อ – หัวลำโพง | 6.50 | 6 | ภายในปี พ.ศ. 2572 | ||||
หัวลำโพง – มหาชัย | 36.000 | 17 | |||||
มหาชัย – ปากท่อ | 56.000 | 17 | |||||
สีแดงอ่อน | รถไฟฟ้าชานเมือง | Meter Gauge (1.000 m.) | 58.5 | ||||
ศาลายา – ตลิ่งชัน | 14.0 | 4 | |||||
ตลิ่งชัน – บางซื่อ | 15.0 | 5 | เปิดให้บริการ เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | ||||
บางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน | 9.0 | 5 | |||||
มักกะสัน – หัวหมาก | 10.0 | 3 | |||||
ตลิ่งชัน – ศิริราช | 5.7 | 3 | |||||
แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (เชื่อม 3 สนามบิน) | รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟความเร็วสูง |
Standard Gauge (1.435 m.) | 49.5 | ||||
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา – สุวรรณภูมิ | 171.9 | 5 | ภายในปี พ.ศ. 2567 | ||||
สุวรรณภูมิ – พญาไท | 28.6 | 8 | เปิดให้บริการ เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | ||||
พญาไท – บางซื่อ – ดอนเมือง | 7.8 | 1 | ภายในปี พ.ศ. 2568 | ||||
สีเขียว (สุขุมวิท) | ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 66.5 | ||||
วงแหวนรอบนอกตะวันออก – คูคต | 6.5 | 4 | ภายใน พ.ศ. 2575 | กทม. | |||
คูคต – หมอชิต | 18.4 | 16 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | ||||
หมอชิต – อ่อนนุช | 16.5 | 17 | เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||
อ่อนนุช – แบริ่ง | 5.3 | 5 | เปิดให้บริการ เมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ||||
แบริ่ง – เคหะฯ | 12.8 | 9 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | ||||
เคหะฯ – ตำหรุ | 7.0 | 4 | ภายใน พ.ศ. 2575 | ||||
สีเขียว (สีลม) | ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 22.5 | ||||
บางรักน้อยท่าอิฐ – ตลิ่งชัน | 11 | 7 | ภายใน พ.ศ. 2585 | กทม. | |||
ตลิ่งชัน – บางหว้า | 7 | 4 | ภายใน พ.ศ. 2572 | ||||
บางหว้า – วงเวียนใหญ่ | 5.3 | 4 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | ||||
วงเวียนใหญ่ – สะพานตากสิน | 2.2 | 2 | เปิดให้บริการ เมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 | ||||
สะพานตากสิน – สนามกีฬาแห่งชาติ | 7.0 | 7 | เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส | 1.0 | 1 | ภายใน พ.ศ. 2572 | ||||
สีน้ำเงิน | ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 55.0 | ||||
ท่าพระ – บางซื่อ | 11.1 | 10 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 | รฟม. | |||
บางซื่อ – หัวลำโพง | 20.0 | 18 | เปิดให้บริการ เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | ||||
หัวลำโพง – ท่าพระ – หลักสอง | 15.9 | 10 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2562 | ||||
หลักสอง – พุทธมณฑลสาย 4 | 8.0 | 4 | กำหนดเปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทาง พ.ศ. 2572 | รฟม. | |||
สีม่วง | ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 42.8 | ||||
คลองบางไผ่ – เตาปูน | 23.0 | 16 | เปิดให้บริการ เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 | รฟม. | |||
เตาปูน – ครุใน | 19.8 | 16 | ภายในปี พ.ศ. 2570 | รฟม. | |||
สีส้ม | ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 35.4 | ||||
บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | 13 | 13 | กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2570 | รฟม. | |||
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – แยกร่มเกล้า | 22 | 17 | รฟม. | ||||
สีชมพู | โมโนเรล | 36 | 30 | ||||
ศูนย์ราชการนนทบุรี – เมืองทองธานี | 11.0 | 10 | เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | รฟม. | |||
เมืองทองธานี – ทะเลสาบเมืองทองธานี | 3.1 | 2 | กำหนดเปิดให้บริการ พ.ศ. 2568 | ||||
เมืองทองธานี – หลักสี่ | 4.2 | 4 | เปิดให้บริการ เมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2567 | ||||
หลักสี่ – มีนบุรี | 18 | 16 | |||||
มีนบุรี – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ~15 | อยู่ระหว่างการออกแบบเส้นทาง | |||||
สีเหลือง | โมโนเรล | 30.4 | 23 | ||||
ลาดพร้าว – สำโรง | 30.4 | 23 | เปิดให้บริการ เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | รฟม. | |||
สีเทา | โมโนเรล | 26.0 | |||||
ลำลูกกา – วัชรพล | 14 | ภายในปี พ.ศ. 2575 | กทม. | ||||
วัชรพล – ทองหล่อ | 16.2 | 15 | ภายในปี พ.ศ. 2568 | ||||
พระโขนง – พระราม 3 | 12.1 | 15 | ภายในปี พ.ศ. 2572 | ||||
พระราม 3 – ท่าพระ | 11.48 | 9 | |||||
สีน้ำตาล | โมโนเรล | 21 | |||||
ศูนย์ราชการนนทบุรี – ลำสาลี | 21 | 23 | ภายในปี พ.ศ. 2572 | รฟม. | |||
สีเงิน | รถไฟฟ้ารางเบายกระดับ | Standard Gauge (1.435 m.) | 30 | ||||
แม่น้ำ – สรรพาวุธ | ~8 | ภายในปี พ.ศ. 2575 | กทม. | ||||
สรรพาวุธ – บางนา | 1.9 | ภายในปี พ.ศ. 2572 | |||||
บางนา – ธนาซิตี้ | 15.1 | 12 | |||||
ธนาซิตี้ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 6 | 2 | รอการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ | ||||
สีทอง | ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ | 2.7 | |||||
กรุงธนบุรี – ประชาธิปก | 2.7 | 4 | เปิดให้บริการ เมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (ยกเว้นสถานีประชาธิปก) |
กทม. | |||
ประชาธิปก – อิสรภาพ | |||||||
กรุงธนบุรี – เจริญนคร 60 |
ข้อมูลทางเทคนิค
ระบบปฏิบัติการเดินรถ
ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทุกสาย ใช้ระบบการเดินรถแบบอัตโนมัติซึ่งถูกควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ซ่อมบำรุงของแต่ละโครงการ ระบบการเดินรถของแต่ละสายจะถูกดำเนินการแยกจากกันโดยไม่มีการรบกวนกันระหว่างสาย ยกเว้น รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท กับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และ รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา กับรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี ที่ใช้ระบบควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางแห่งเดียวกัน เนื่องจากรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าชานเมืองทั้งสองสายใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกัน และมีการติดตั้งรางหลีกในบางช่วงของเส้นทาง ทำให้สามารถป้อนหรือถอนขบวนรถระหว่างสายออกจากระบบได้
ระบบปฏิบัติการเดินรถในปัจจุบันถูกแยกออกเป็นสามประเภทหลักตามจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ระบบควบคุมรถไฟมาตรฐานยุโรป (European Train Control System หรือ ETCS) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานกลางที่ใช้กันภายในสหภาพยุโรป และในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยความสามารถในการรองรับระบบรถไฟจากทุกผู้ผลิตในโลก และระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและพร้อมรองรับการขยายโครงข่ายได้อย่างสมบูรณ์
ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าดังต่อไปนี้
เส้นทาง | ผู้พัฒนา | โซลูชัน | รูปแบบ [atpnote 1] | ปีที่ติดตั้ง | ระดับการควบคุม[atpnote 2] | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
สายสุขุมวิท | บอมบาร์ดิเอร์ | Cityflo 450 | Moving Block CBTC | พ.ศ. 2554 | STO | เปลี่ยนทั้งระบบจากระบบเดิมเมื่อ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยาย และขบวนรถรุ่นใหม่ [atpnote 3] |
สายสีลม | พ.ศ. 2552 | |||||
สายสีน้ำเงิน | ซีเมนส์ | Trainguard LZB 700M | Fixed Block | พ.ศ. 2562 | STO | ติดตั้งเพิ่มในเส้นทางส่วนต่อขยาย และรื้อติดตั้งใหม่ทั้งหมดในเส้นทางเดิม |
สายซิตี้ | ซีเมนส์ | Trainguard LZB700M | Fixed Block-Speed Coded | พ.ศ. 2552 | STO | |
สายสีม่วง | บอมบาร์ดิเอร์ | Cityflo 650 | Moving Block CBTC | พ.ศ. 2559 | STO | |
สายสีทอง | บอมบาร์ดิเอร์ | Cityflo 650 | Moving Block CBTC | พ.ศ. 2563 | DTO | |
สายสีแดงอ่อน | ทาเลส | AlTrac for ERTMS | Fixed ETCS Level 1 | พ.ศ. 2563 | STO | |
สายสีแดงเข้ม | ||||||
สายสีเหลือง | อัลสตอม | Cityflo 650 | Moving Block CBTC | พ.ศ. 2564 | DTO | |
สายสีชมพู | อัลสตอม | Cityflo 650 | Moving Block CBTC | พ.ศ. 2564 | DTO |
- หมายเหตุ
- ↑ Fixed Block = Conventional Fixed Block using Line of Sight. Fixed Block-Speed Coded = Fixed Block using Coded Track Circuits. DTG-TC = Fixed Block-Distance to Go using Track Circuits. DTG-R = Fixed-Block-Distance-to-Go using Radio. Moving Block TBTC = Moving Block using Induction Loops. Moving Block CBTC = Moving Block using Radio. ETCS = European Train Control System.
- ↑ UTO = ระบบควบคุมแบบใช้คนควบคุม. DTO = ระบบควบคุมอัตโนมัติ. STO = ระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ
- ↑ บีทีเอสซี ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ จำนวนสองสถานี และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จำนวนสี่สถานี รองรับขบวนรถรุ่นซีเอ็นอาร์ บอมบาร์ดิเอร์ ที่จะเข้ามาให้บริการ ใน พ.ศ. 2553-2554 และลดระยะความถี่ลงเหลือ 1-2 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยเริ่มเปลี่ยนในเส้นทางสายสีลมและสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สยาม เมื่อ พ.ศ. 2552 และ สายสุขุมวิท ช่วงสยาม-อ่อนนุช เมื่อ พ.ศ. 2554 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยาย กรุงเทพธนาคม เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบเอง
ขบวนรถ
เส้นทาง | รุ่น | ผู้ผลิต | ผลิตใน | ปีที่นำเข้าครั้งแรก | จำนวน (ขบวน / ตู้ต่อขบวน) | ภาพ |
---|---|---|---|---|---|---|
สายสุขุมวิท และ สายสีลม | ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร | ซีเมนส์ | ออสเตรีย เยอรมนี |
พ.ศ. 2542 | 35 / 4 | |
ซีเมนส์ อินสไปโร[27] | ตุรกี | พ.ศ. 2561 | 22 / 4 | |||
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน | ซีอาร์อาร์ซี | จีน | พ.ศ. 2553 | 17 / 4 | ||
ซีอาร์อาร์ซี ฉางฉุน | พ.ศ. 2562[28] | 24 / 4 | ||||
สายสีน้ำเงิน | ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร | ซีเมนส์ | ออสเตรีย เยอรมนี |
พ.ศ. 2547 | 19 / 3 | |
ซีเมนส์ อินสไปโร | ตุรกี | พ.ศ. 2562[29] | 35 / 3 | |||
พ.ศ. 2569 | 21 / 3 | |||||
สายซิตี้ | ซีเมนส์ เดซิโร คลาส 360/2 | ซีเมนส์ | เยอรมนี | พ.ศ. 2550 | 5 / 3 4 / 4 |
|
สายสีม่วง | เจเทรค ซัสติน่า S24 | มารุเบนิ / โตชิบา | ญี่ปุ่น | พ.ศ. 2558[30] | 21 / 3 | |
สายสีแดงเข้ม | เอ-ซีรีส์ 1000 | ฮิตาชิ | พ.ศ. 2562[31] | 15/6 | ||
สายสีแดงอ่อน | เอ-ซีรีส์ 2000 | 10/4 | ||||
สายสีชมพู | อินโนเวีย โมโนเรล 300 | อัลสตอม / ซีอาร์อาร์ซี หนันจิง ผู่เจิ้น |
จีน | พ.ศ. 2564 | 42 / 4 | |
สายสีเหลือง | 30 / 4 | |||||
สายสีทอง | อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 | 3 / 2 | ||||
สายสีส้ม | ซีเมนส์ อินสไปโร | ซีเมนส์ | ออสเตรีย เยอรมนี |
ขบวนแรกนำส่ง พ.ศ. 2569 | 32 / 3 |
แผนที่
รถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้ว
รถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้วและที่กำลังก่อสร้าง
แผนที่แบบอื่น ๆ
-
แผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว ที่กำลังก่อสร้าง และแผนในอนาคตที่มีข้อมูลโครงการแล้ว โดยสร้างบนพื้นแผนที่กรุงเทพและปริมณฑล ของสำนักผังเมือง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ https://mgronline.com/business/detail/9670000110395#google_vignette
- ↑ https://www.dailynews.co.th/news/2904608/
- ↑ ประวัติความเป็นมา การจัดตั้ง และอำนาจหน้าที่ รฟม.
- ↑ "จุดเริ่มต้นของโครงการโฮปเวลล์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-07. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
- ↑ History of Thailand's Infrastructure
- ↑ บทเรียน "โฮปเวลล์" จุดเริ่มต้น พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
- ↑ การบอกเลิกสัญญาโฮปเวลล์
- ↑ "สัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชน กทม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
- ↑ ประวัติความเป็นมา
- ↑ พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
- ↑ "การเปิดเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
- ↑ กรมรางลุย M-MAP 2 ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า อัปเดตข้อมูล 14 สายเติมโครงข่ายเชื่อมรอยต่อ
- ↑ BEM แจ้งเปิดเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสายสถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน 11 ส.ค.ตั้งแต่เวลา 12.00 น.
- ↑ mgronline (13 November 2018). กทม.ยันเปิดเดินรถไฟฟ้าเส้นแบริ่ง-สมุทรปราการ แน่ 6 ธ.ค.นี้ นำ 3 ขบวนใหม่ร่วมวิ่งด้วย. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ "รฟม.เปิดทดลองนั่งMRTฟรี! 5 สถานีส่วนต่อขาย วัดมังกร - ท่าพระ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-28.
- ↑ BEM.MRT
- ↑ รัฐบาลเร่งเปิดรถไฟฟ้า 3 สายใหม่ ดีเดย์ 16 ธ.ค. “ประยุทธ์” กดปุ่มเปิดสีเขียว
- ↑ รถไฟฟ้า 'สายสีทอง' จะเปิดแล้ว 16 ธ.ค.นี้ ให้นั่งฟรี 1 เดือน!
- ↑ เปิดใช้วันแรก “สถานีเซนต์หลุยส์” รถไฟฟ้าบีทีเอส ไปโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ลงสถานีนี้
- ↑ นับถอยหลัง...รถไฟฟ้าสายสีแดง เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการ ค่าโดยสารเริ่มต้น 12 บาท
- ↑ 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' จ่อขยายเวลา และสถานีให้บริการเพิ่ม 12 มิ.ย.นี้
- ↑ 6 โมงเย็นวันนี้ “สายสีชมพู” เปิดฟรีครบ 30 สถานี เก็บค่าโดยสาร 26 สถานี เริ่ม 7 ม.ค. ลด 15%
- ↑ prachachat.net. ครึ่งทางเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้าน ล. ปี”62 ทุกโหมดเร่งสร้าง-เร่งเปิดใช้. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
- ↑ กทม.ลุยรถไฟฟ้า “บางนา-สุวรรณภูมิ” BTS ลุ้นชิงดำสัมปทาน 2.7 หมื่นล้าน
- ↑ "ปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งทางราง ประจำเดือนกันยายน 2567". กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม. สืบค้นเมื่อ 2024-10-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 26.0 26.1 "มั่นใจเริ่มสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินได้แน่ปีนี้". Daily News Online. สืบค้นเมื่อ 25 May 2023.
- ↑ ฐานข้อมูลรถขนส่งทางรางในประเทศไทย โดยกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
- ↑ มาแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่จากจีน ขบวนแรก จาก 24 ขบวน
- ↑ “ไพรินทร์” สปีดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดหวูดหัวลำโพง-บางแค ก.ย.62
- ↑ เปิดทำงานวันแรกคนแห่ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง พบยังสับสนจุดเชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน
- ↑ ญี่ปุ่นจ่อลงทุนส่วนขยายรถไฟสีแดง
แหล่งข้อมูลอื่น
- บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2001-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เก็บถาวร 2014-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน