สถานีวงเวียนใหญ่

(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่)

สถานีวงเวียนใหญ่ (อังกฤษ: Wongwian Yai station; รหัส: S8) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลมส่วนต่อขยายตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–แยกตากสิน) ยกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรี ใกล้แยกตากสิน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

วงเวียนใหญ่
S8

Wongwian Yai
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนกรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′16″N 100°29′43″E / 13.72111°N 100.49528°E / 13.72111; 100.49528
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS8
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552; 15 ปีก่อน (2552-05-15)
ชื่อเดิมแยกตากสิน
ผู้โดยสาร
25641,490,293
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
กรุงธนบุรี สายสีลม โพธิ์นิมิตร
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

ประวัติ

แก้

สถานีวงเวียนใหญ่เป็นสถานีที่ก่อสร้างพร้อมกับสถานีกรุงธนบุรี ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีลมส่วนต่อขยายสะพานตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–แยกตากสิน) สถานีทั้ง 2 แห่งได้ก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนแล้วเสร็จและมีกำหนดเปิดให้บริการกลาง พ.ศ. 2550 แต่เนื่องจากทางกรุงเทพมหานครประสบปัญหาการจัดจ้างบริษัทติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณที่เสนอราคาสูง ประกอบกับทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีได้ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสมาเป็นระบบของบริษัทบอมบาร์ดิเอร์ ทำให้การติดตั้งระบบการเดินรถล่าช้ากว่ากำหนดการไปมาก

จนกระทั่งวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานครได้ลงนามสัญญาจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ ส่วนที่ 1 (ระบบอาณัติสัญญาณ) กับบริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) งบประมาณ 368 ล้านบาท กรอบระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ส่วนที่ 2 (ระบบสื่อสาร, ระบบจ่ายไฟฟ้า, ระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูลและระบบประกอบอาคารในสถานีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบรถไฟฟ้า) กับกลุ่มบริษัท AAT Consortium จำกัด งบประมาณ 675 ล้านบาท และลงนามในสัญญาว่าจ้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ใช้ระยะเวลาติดตั้งระบบประมาณ 300 วัน[1][2]

เมื่อส่วนต่อขยายนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น กรุงเทพมหานครได้เปิดทดลองเดินรถไฟฟ้าช่วงสะพานตากสิน–วงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก โดยทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 12 เมษายน พ.ศ. 2552 และเริ่มทดลองให้บริการโดยไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552 ต่อมากรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการโดยไม่คิดค่าโดยสารระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 หลังจากนั้นจึงจะเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบว่าสถานีวงเวียนใหญ่มีผู้ใช้บริการ 28,800 เที่ยวคน/วัน และสถานีกรุงธนบุรีมีผู้ใช้บริการ 12,000 เที่ยวคน/วัน รวม 40,800 เที่ยวคน/วัน และวันที่ 18 พฤษภาคม มีผู้โดยสารมากขึ้นเป็น 43,500 เที่ยวคน/วัน คาดว่าในอนาคตจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการส่วนต่อขยายนี้ถึงวันละ 50,000 เที่ยวคน/วัน

ที่ตั้ง

แก้

ถนนกรุงธนบุรี เชิงสะพานลอยข้ามทางแยกตากสิน (จุดตัดระหว่างถนนกรุงธนบุรี ถนนราชพฤกษ์ และถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) บริเวณปากซอยสารภี 3 (ซอยกรุงธนบุรี 1 และซอยกรุงธนบุรี 4) ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทรและแขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีเป็นชุมชนที่พักอาศัยหนาแน่น มีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมใหม่เป็นจำนวนมากหลังจากที่มีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเกิดขึ้น จากสถานีสามารถเดินทางไปยังชุมชนและย่านค้าเครื่องหนังบริเวณถนนเจริญรัถ ใกล้ตลาดวงเวียนใหญ่และถนนลาดหญ้าได้ โดยใช้เส้นทางผ่านซอยสารภี 3 ระยะทางประมาณ 400 เมตร

ก่อนหน้าที่ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีจำนวนมากต้องโดยสารเรือข้ามฟากที่ท่าเรือเป็ปซี่หรือเดินทางข้ามสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าที่สถานีสะพานตากสินและสถานีสุรศักดิ์ แต่จากการเปิดให้บริการที่สถานีวงเวียนใหญ่ ทำให้ผู้โดยสารรถประจำทางจากถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินและบริเวณวงเวียนใหญ่สามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง ที่ตั้งของสถานีวงเวียนใหญ่ห่างจากสถานีแรกของฝั่งธนบุรีคือสถานีกรุงธนบุรีเพียง 640 เมตรเท่านั้น

สถานีแห่งนี้เคยใช้ชื่อในโครงการระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีแยกตากสิน" เพราะตั้งอยู่ใกล้ทางแยกตากสิน (แต่จุดกึ่งกลางสถานียังห่างจากทางแยกถึงประมาณ 400 เมตร เนื่องด้วยข้อจำกัดจากโครงสร้างสะพานข้ามทางแยกตากสิน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีวงเวียนใหญ่" ในปัจจุบัน สอดคล้องกับวงเวียนใหญ่ที่ถือเป็นจุดหมายตาที่สำคัญในย่านนี้ แม้ที่ตั้งวัดจากจุดกึ่งกลางสถานีจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ของเส้นทางรถไฟสายแม่กลอง ถึง 800 เมตรและห่างจากพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่กว่า 1 กิโลเมตร

สถานีวงเวียนใหญ่เคยเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ตั้งแต่เปิดทำการในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หลังจากที่เปิดใช้งาน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมส่วนต่อขยายวงเวียนใหญ่–บางหว้า ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แผนผังของสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (โพธิ์นิมิตร)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (กรุงธนบุรี)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารไทยวีรวัฒน์, ซอยสารภี 3, แยกตากสิน

รูปแบบของสถานี

แก้

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

ภายในสถานี จัดแสดงนิทรรศการบริเวณชั้นขายบัตรโดยสารด้านทิศตะวันตก โดยมีแบบจำลองของสถานีวงเวียนใหญ่–กรุงธนบุรี และประวัติของโครงการรถไฟฟ้าสายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน–บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน–แยกตากสิน)

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ลิฟต์สำหรับผู้พิการ บริเวณกึ่งกลางสถานี จากทางเท้าถนนกรุงธนบุรีทั้ง 2 ฝั่ง
  • บันไดทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้า 4 จุด (มีบันไดเลื่อน 2 จุด)
  • บันไดขึ้น-ลง บริเวณเกาะกลางถนนกรุงธนบุรีด้านทิศตะวันตก เป็นทางเดินเชื่อมต่อจุดแล้วจร และระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ในอนาคต
  • ทางเดินลอยฟ้าไปทางแยกตากสิน เพื่อเชื่อมต่อสถานีกับบริเวณวงเวียนใหญ่

ทางเข้า–ออก

แก้
  • 1 สถาบันเดอะเกน, อาคารสตีมมาสเตอร์, ป้ายรถประจำทางไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (บันไดเลื่อน), ทางเดินลอยฟ้า
  • 2 เดอะ รูม คอนโด, อาคารลีแมชชีนทูลส์, ซอยกรุงธนบุรี 2, ทีล คอนโด, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน, ทางเดินลอยฟ้า
  • 3 ซอยกรุงธนบุรี 1, ป้ายรถประจำทางไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ลิฟต์)
  • 4 ซอยกรุงธนบุรี 4, ป้ายรถประจำทางไปทางแยกตากสิน (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 บริเวณถนนกรุงธนบุรี และทางออก 4 บริเวณถนนกรุงธนบุรี

สถานีรถไฟทางไกล สถานีวงเวียนใหญ่

แก้
 
ชานชาลาสถานีวงเวียนใหญ่

สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ (ตัวย่อ: งญ.) เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนริมทางรถไฟ (วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู) ใกล้วงเวียนใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี เป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง[3]

เดิมสถานีต้นทางของรถไฟสายแม่กลองคือสถานีรถไฟปากคลองสาน แต่ไม่มีการเดินรถช่วงปากคลองสาน-วงเวียนใหญ่มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยรางรถไฟยังคงอยู่ แต่ราดยางมะตอยทับไว้ใต้พื้นถนน[4][5]

ประวัติ
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 บริษัท รถไฟท่าจีน ทุนจำกัด (บริษัท ท่าจีนเรวเวกัมปนีลิมิเต็ตทุน จำกัด) ได้รับสัมปทานเดินรถช่วงปากคลองสาน–มหาชัย ระยะทางทั้งสิ้น 33.1 กิโลเมตร
  • วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดเส้นทางปากคลองสาน-มหาชัย
  • วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2448 ได้เปิดเส้นทางปากคลองสาน-มหาชัยบริการแก่ประชาชน
สถานีก่อนหน้า   การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ตลาดพลู
มุ่งหน้า มหาชัย
สายแม่กลอง
สายวงเวียนใหญ่–มหาชัย
สถานีปลายทาง

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[6]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.48 00.32
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.38 23.57
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.43
S7 กรุงธนบุรี รถเสริมบางหว้า – กรุงธนบุรี 00.07
สายแม่กลอง
ชานชาลาที่ 1
มหาชัย จันทร์ – อาทิตย์ 05.30 20.10

รถไฟชานเมือง

แก้

เที่ยวไป

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง วงเวียนใหญ่[7] ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช4303 วงเวียนใหญ่ 05.30 ปลายทาง มหาชัย 06.23
ช4311 วงเวียนใหญ่ 06.25 ปลายทาง มหาชัย 07.27
ช4321 วงเวียนใหญ่ 07.00 ปลายทาง มหาชัย 07.58 พ่วงตู้ปรับอากาศ
ช4341 วงเวียนใหญ่ 07.40 ปลายทาง มหาชัย 08.39
ช4305 วงเวียนใหญ่ 08.35 ปลายทาง มหาชัย 09.28
ช4313 วงเวียนใหญ่ 09.40 ปลายทาง มหาชัย 10.36
ช4323 วงเวียนใหญ่ 10.40 ปลายทาง มหาชัย 11.39 พ่วงตู้ปรับอากาศ
ช4343 วงเวียนใหญ่ 12.15 ปลายทาง มหาชัย 13.10
ช4315 วงเวียนใหญ่ 13.20 ปลายทาง มหาชัย 14.15
ช4325 วงเวียนใหญ่ 14.25 ปลายทาง มหาชัย 15.22 พ่วงตู้ปรับอากาศ
ช4317 วงเวียนใหญ่ 15.25 ปลายทาง มหาชัย 16.27
ช4307 วงเวียนใหญ่ 16.30 ปลายทาง มหาชัย 17.26
ช4327 วงเวียนใหญ่ 17.00 ปลายทาง มหาชัย 18.02
ช4345 วงเวียนใหญ่ 17.35 ปลายทาง มหาชัย 18.36
ช4309 วงเวียนใหญ่ 18.35 ปลายทาง มหาชัย 19.30
ช4329 วงเวียนใหญ่ 19.10 ปลายทาง มหาชัย 20.04
ช4347 วงเวียนใหญ่ 20.10 ปลายทาง มหาชัย 21.00
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง วงเวียนใหญ่ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช4302 มหาชัย 04.30 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 05.24
ช4310 มหาชัย 05.20 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 06.17
ช4320 มหาชัย 05.55 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 06.55 พ่วงตู้ปรับอากาศ
ช4340 มหาชัย 06.25 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 07.29
ช4304 มหาชัย 07.00 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 07.58
ช4312 มหาชัย 08.00 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 09.03
ช4322 มหาชัย 09.35 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 10.32
ช4342 มหาชัย 10.40 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 11.39
ช4316 มหาชัย 14.25 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 15.19
ช4324 มหาชัย 13.15 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 14.14
ช4316 มหาชัย 14.25 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 15.19
ช4306 มหาชัย 15.25 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 16.20
ช4326 มหาชัย 16.00 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 16.56
ช4344 มหาชัย 16.30 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 17.29
ช4308 มหาชัย 17.35 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 18.26
ช4328 มหาชัย 18.10 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 19.02
ช4346 มหาชัย 19.00 ต้นทาง วงเวียนใหญ่ 20.00
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

รถโดยสารประจำทาง

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ


สีชมพู : เขตการเดินรถที่ 5
สีเหลือง : เขตการเดินรถที่ 6
สีส้มแดง : เขตการเดินรถที่ 8


รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)

  ถนนกรุงธนบุรี

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
3 (1)   อู่กำแพงเพชร BTS คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
76 (3)   อู่แสมดำ ประตูน้ำ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

84 (1) วัดไร่ขิง BTS คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
อ้อมใหญ่ 1.รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีม-แดง
ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้า แยกตากสิน รถขสมก. สาย 76 84 รถเอกชน สาย 167 ถนนกรุงธนบุรี มุ่งหน้า สะพานตากสิน รถขสมก. สาย 3 76 84 4-18 รถเอกชน สาย 120 167

  ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

แก้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
20 (1)   ท่านํ้าพระสมุทรเจดีย์ ท่าดินแดง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.
ป้อมพระจุลจอมเกล้า
21 (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

37 (1) แจงร้อน มหานาค 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

82 (1)   ท่านํ้าพระประแดง สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
4-18 (3) สมุทรสาคร คลองสาน 1.รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
3 อู่กำแพงเพชร คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
20 ท่าน้ำพระสมุทรเจดีย์ ท่าดินแดง
21 วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
37 แจงร้อน มหานาค
82 ท่าน้ำพระประแดง สนามหลวง
4-18 สนามกีฬาสมุทรสาคร คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
รถเอกชนร่วมบริการ
120 สนามกีฬาสมุทรสาคร แยกบ้านแขก
ถนนกรุงธนบุรี
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
3 อู่กำแพงเพชร คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
20 ท่าน้ำพระสมุทรเจดีย์ ท่าดินแดง เฉพาะรถเสริมป้อมพระจุลฯ–สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
76 แสมดำ ประตูน้ำ
84 อ้อมใหญ่ (ฟาร์มจระเข้สามพราน) คลองสาน
84 วัดไร่ขิง คลองสาน รถปรับอากาศเดินรถถึงวัดไร่ขิง
4-18 สนามกีฬาสมุทรสาคร คลองสาน เดินรถฝั่งมุ่งหน้าท่าน้ำคลองสานเท่านั้น
รถเอกชนร่วมบริการ
120 สนามกีฬาสมุทรสาคร แยกบ้านแขก
167 การเคหะธนบุรี สวนลุมพินี

โครงการรถรับ–ส่ง

แก้

ในอนาคต กรุงเทพมหานครจะจัดให้บริการรถประจำทาง (shuttle bus) เพื่อรับ–ส่งผู้โดยสารในฝั่งธนบุรีมายังสถานีวงเวียนใหญ่ 10 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดง (สายใต้ใหม่), สายสีส้ม (ตั้งฮั่วเส็ง), สายสีชมพู (สนามหลวง 2), สายสีม่วง (เดอะมอลล์), สายสีน้ำเงิน (แม็คโครบางบอน), สายสีฟ้า (โลตัส พระราม 2), สายสีน้ำตาล (จัสโก้ประชาอุทิศ), สายสีเขียวอ่อน (สุขสวัสดิ์), สายสีเขียวเข้ม (บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ) และสายสีเหลือง (แม็คโครจรัญสนิทวงศ์)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

แก้
  • อาคารไทยวีรวัฒน์
  • อาคารสินสยาม
  • อาคารลีแมชชีนทูลส์
  • อาคารสยาม มาเจสติค เจมส์
  • อาคารธนธร
  • อาคารเอสเค

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

แก้
  • วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 23.00 ถึงเวลา 01.00 น. ของวันถัดมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานคร ประธาน สภากรุงเทพมหานคร และสื่อมวลชน ร่วมทดสอบระบบการให้บริการผู้โดยสารของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-แยกตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร จากสถานีวงเวียนใหญ่ไปสถานีกรุงธนบุรี และร่วมงาน "ความทรงจำ...ที่แสนภูมิใจ" ที่มีการจัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาจากวันเริ่มต้นดำเนินงาน จนกระทั่งมาเป็นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตรที่สถานีวงเวียนใหญ่
  • วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 05.49 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน "Bangkok’s Morning Smile เช้าวันใหม่...แสนสดใส...ที่คนกรุงเทพฯ รอคอย" และทำพิธีปล่อยขบวนรถไฟฟ้าสายแรกของฝั่งธนบุรี ส่วนต่อขยายสายสีลม 2.2 กิโลเมตร โดยนายกรัฐมนตรีสอดบัตรโดยสารใบแรกเข้าช่องสอดบัตรเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้ารอบปฐมฤกษ์จากสถานีวงเวียนใหญ่ ร่วมกับคณะผู้บริหาร กรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สั่นกระดิ่งปล่อยขบวนรถ และนายกิตพล เชิดชูกิจกุล ประธานสภากรุงเทพมหานคร โบกธงเดินขบวนรถ โดยทั้งหมดขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีวงเวียนใหญ่ ไปส่งนายกรัฐมนตรีที่ สถานีสุรศักดิ์ ขบวนรถสิ้นสุดที่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วกลับมายังสถานีวงเวียนใหญ่อีกครั้ง ก่อนเปิดให้บริการสำหรับประชาชนโดยไม่เก็บค่าโดยสารในเวลา 08.00 น.
  • วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดการให้บริการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา สายที่ 2 ที่สถานีวงเวียนใหญ่ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์, นายประกอบ จิรกิตติ, พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. พร้อมคณะผู้บริหาร กทม. และประชาชนรอเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น กระทั่งเวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกดปุ่มเปิดการเดินรถไฟฟ้าฯ จากนั้นได้เสด็จฯ ประทับรถไฟฟ้าออกจากสถานีวงเวียนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาถึงสถานีสยามในเวลา 18.30 น. แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ[8]

อ้างอิง

แก้
  1. กลุ่มAATเฉือนอิตาเลียนไทยฯ คว้างานวางระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฝั่งธนฯ เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 22 กุมภาพันธ์ 2551
  2. สานฝันคนฝั่งธนฯ อภิรักษ์เดินหน้ารถไฟฟ้า ดันวงเวียนใหญ่ -บางหว้า เปิดใช้ปี 53 เก็บถาวร 2009-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์สวัสดีกรุงเทพ 6 มิถุนายน 2551
  3. "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-28. สืบค้นเมื่อ 2009-08-28.
  4. "ประวัติทางรถไฟสายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  5. โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
  6. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  7. ตรางเดินรถไฟสายแม่กลอง ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย
  8. สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเปิดรถไฟฟ้า BTS ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก ( เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2552 ) - YouTube

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้