สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บางนา)

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (บางนา) เป็นโครงการสถานีขนส่งในอนาคต สำหรับใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง โดยสถานีขนส่งแห่งนี้ ตั้งอยู่ร่วมกับศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ ถนนเทพรัตน บนพื้นที่จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวาเท่ากับสถานีเดิม โดยสถานีดังกล่าวเป็นการย้ายสถานีขนส่งจากสถานีเอกมัยเดิมมาตั้งใหม่ร่วมกับโครงการศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ ของกลุ่มเดอะมอลล์ เพื่อเป็นการเติมเต็มให้โครงการศูนย์การค้ากลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญอีกย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีกำหนดการก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2566 และกำหนดเปิดใช้งานภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมกับการเปิดให้บริการของศูนย์การค้า

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บางนา)
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด กระทรวงคมนาคม
ที่ตั้งชั้น G ศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ ถนนเทพรัตน แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
ประเภทรถโดยสารประจำทาง และ รถตู้ร่วมให้บริการระหว่างจังหวัด ภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงานพ.ศ. 2568

ลักษณะอาคารสถานีขนส่ง

แก้

ตัวสถานีขนส่งใช้พื้นที่ชั้น G ร่วมกับศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ มีการแบ่งช่องจำหน่ายบัตรโดยสารออกเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานภายในเมือง และจัดทำให้เสมือนกับการใช้บริการที่สนามบินทั้งหมด ตัวชานชาลาจะแบ่งออกเป็นทั้งหมดสามฝั่ง ประกอบด้วยชานชาลาสำหรับจอดรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 และชานชาลาสำหรับจอดรถตู้ร่วมให้บริการ

ภายในอาคารยังประกอบไปด้วยพื้นที่พาณิชยกรรมขนาดใหญ่ของกลุ่มเดอะมอลล์ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์สุขภาพ ร้านค้า ร้านอาหาร และศูนย์ประชุมขนาดใหญ่เป็นต้น

ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานี

แก้

รถโดยสารประจำทาง ขสมก.

แก้
  • ถนนสุขุมวิท : ทางเข้าสถานีขนส่งฝั่งถนนสุขุมวิท สาย 2, 23, 25, 45, 507, 508, 511
  • ถนนสุขุมวิท : ทางด่วนสี่แยกบางนา-ตราด สาย 2 (ทางด่วน), 23 (ทางด่วน), 25 (ทางด่วน), 45 (ทางด่วน), 102, 129, 142, 508 (ทางด่วน), 511 (ทางด่วน), 536
  • ถนนบางนา-ตราด : มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา สาย 38, 48, 180, 1141, 3-10 (46), 3-16E (139)
  • ถนนบางนา-ตราด : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย 558
  • ถนนบางนา-ตราด : เคหะบางพลี สาย 132
  • ถนนบางนา-ตราด : บางปะกง (อู่พานทอง) สาย 365
  • ถนนบางนา-ตราด : อู่เมกาบางนา สาย 2 (เสริมพิเศษ), 23 (เสริมพิเศษ)

รถไฟฟ้าบีทีเอส

แก้
  • สายสุขุมวิท : สถานีอุดมสุข และ สถานีบางนา (มีทางเดินลอยฟ้าสร้างจากสถานีบางนาจนถึงสถานีอุดมสุขตามถนนสุขุมวิท ระหว่างทางเดินสามารถเชื่อมต่อกับศูนย์ไบเทค และอาคารเดอะคอสท์บางนาได้)
  • สายสุวรรณภูมิ : สถานีไบเทคบางนา (โครงการ)