เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

โรงภาพยนตร์
(เปลี่ยนทางจาก เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์)

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เป็นหนึ่งในกิจการโรงภาพยนตร์และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่แห่งหนึ่งของตระกูลพูลวรลักษณ์ เริ่มเปิดดำเนินการจากการทำโรงภาพยนตร์ในระบบมัลติเพล็กซ์ แข่งขันกับโรงภาพยนตร์อื่น ๆ ที่พี่น้องในตระกูลเป็นคนบริหาร (วิชัย-วิสูตร พูลวรลักษณ์ ทำโรงหนังอีจีวี , วิชา พูลวรลักษณ์ ทำโรงหนังเมเจอร์ กำพล พูลวรลักษณ์ ทำโรงหนังเซ็นจูรี่[3])

บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริการ - สื่อและสิ่งพิมพ์ SET:Major
ISINTH0671010Z08 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2538
ผู้ก่อตั้งวิชา พูลวรลักษณ์
สำนักงานใหญ่1839 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
บุคลากรหลักนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รองประธานคณะกรรมการ
นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร
ผลิตภัณฑ์โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง คาราโอเกะ โฆษณา อสังหาริมทรัพย์
รายได้7,604.06 ล้านบาท[1]
(ข้อมูลปี 2561)
รายได้สุทธิ
1,024.50 ล้านบาท[2]
(ข้อมูลปี 2561)
เว็บไซต์www.majorcineplex.com/

ภาพรวมกลุ่มธุรกิจ

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ถือเป็นผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์ในระบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) รายใหญ่ในประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกที่สาขาปิ่นเกล้า ในปี พ.ศ. 2538 ตั้งบนทำเลเวลโกเดิมที่ถูกไฟไหม้ลง[4]โดยสร้างเป็นอาคารโรงภาพยนตร์และศูนย์การค้าครบวงจร ภายใต้แนวคิดให้โรงหนังแนวมินิเธียเตอร์ กับร้านอาหารผนวกเข้าด้วยกัน [5] ในรูปแบบสแตนอโลนแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์เน้นเปิดสาขาควบคู่กับโครงการศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการ โดยจำนวนโรงภาพยนตร์ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง และพื้นที่ที่ได้มา สาขาระดับอำเภอจะมีโรงภาพยนตร์จำนวน 1-2 โรงภาพยนตร์ สาขาระดับจังหวัดจะมีจำนวน 2-7 โรงภาพยนตร์ และถ้าเป็นสาขาใหญ่ ๆ และมีความสำคัญสูง ก็อาจจะมีได้สูงถึง 8-16 โรงภาพยนตร์ต่อหนึ่งสาขา

ปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เปิดให้บริการธุรกิจหลายประเภท โดยธุรกิจโรงภาพยนตร์ถือเป็นธุรกิจหลัก ภายใต้แบรนด์ดำเนินการ 10 แบรนด์ โดยมีแบรนด์ "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์" เป็นแบรนด์หลัก และแบรนด์ "ซีนีเพล็กซ์" หรือ "เอ็ม คอลเล็คชัน" สำหรับสาขารูปแบบพิเศษที่เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของสถานที่สามารถยื่นคำขอเปิดแบรนด์รองใหม่เพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังมี ธุรกิจลานโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ ลานสเก็ตน้ำแข็ง อสังหาริมทรัพย์ และศูนย์สุขภาพ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันด้วย

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 [6]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นาย วิชา พูลวรลักษณ์ 265,040,100 29.65%
2 NORTRUST NOMINEES LTD-CL AC 52,713,363 5.89%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 50,199,535 5.61%
4 GIC PRIVATE LIMITED 45,563,200 5.09%
5 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 44,814,580 5.01%

ธุรกิจของบริษัท

ธุรกิจโรงภาพยนตร์

 
ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต
 
เมเจอร์รัชโยธิน

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์เป็นธุรกิจหลัก โดยมีแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นแบรนด์เรือธงของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2538 ก่อนควบรวมกิจการกับ อีจีวี ซึ่งเป็นอีกโรงภาพยนตร์หนึ่งที่บริหารโดยบุคคลในตระกูลพูลวรลักษณ์ใน พ.ศ. 2547 จากนั้นได้เริ่มขยายโรงภาพยนตร์รูปแบบสาขาใหม่ในชื่อ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มขยายรูปแบบที่สาขาสยามพารากอนใน พ.ศ. 2549 ปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีแบรนด์โรงภาพยนตร์ทั้งหมด 12 แบรนด์ โดยมีรายละเอียดทั้งหมด ดังต่อไปนี้

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ (อังกฤษ: Major Cineplex) เป็นแบรนด์เรือธงของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เปิดให้บริการครั้งแรกที่สาขาปิ่นเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2538 โดยสร้างบนพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเวลโก้[7] และมีสาขาเรือธงคือสาขารัชโยธิน ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทด้วย มีสาขาในประเทศไทย 165 สาขา[8] ต่างประเทศ 6 สาขา

เมเจอร์ ซีนีมา

เมเจอร์ ซีนีมา (อังกฤษ: Major Cinema) หรือเดิมคือโรงภาพยนตร์อีจีวี เป็นเครือธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มจากการลงทุนจากต่างชาติและคนไทย โดยนายวิชัย พูลวรลักษณ์ และพี่น้องในตระกูลพูลวรลักษณ์ ร่วมกับ กลุ่มโกลเด้นฮาร์เวสต์จากฮ่องกง และ วิลเลจโรดโชว์จากออสเตรเลีย ซึ่งใช้ชื่อทางการค้าในครั้งแรกว่า Entertain Golden Village International (EGV) เปิดทำการสาขาแรกที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค บางแค (ซีคอนบางแค ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยใช้ชื่อว่า Grand EGV มีจำนวนทั้งหมด 10 โรง (มี GLS, Kids Cinema จำนวนละ 1 โรง) และเป็นสาขาเรือธงของแบรนด์อีจีวีอีกด้วย

อีจีวี เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยจากระบบโรงเดี่ยว หรือ Stand Alone มาเป็นโรงขนาดเล็กมีหลายโรงและเสริมด้วยระบบเสียงที่เป็นดิจิตอล ตั้งอยู่ภายในห้างสรรพสินค้า มีระบบการขายตั๋ว จองตั๋วและเลือกที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ โดยอีจีวีเป็นธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกที่ริเริ่มการขายบัตรชมภาพยนตร์ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม[9] จากนั้นในกลางปี พ.ศ. 2540 อีจีวีก็ได้เปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกที่เป็นโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และดำเนินการถอนทุน เพื่อถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการในปลายปีเดียวกัน

ในเวลาต่อมา เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้กำหนดแบรนด์ทดแทน อีจีวี เดิมคือ เมเจอร์ ซีนีมา โดยได้นำมาใช้รีแบรนด์สาขาอีจีวี ที่เหลือทั้งหมด 20 สาขา ยกเว้นสาขาซีคอนบางแคที่ยังใช้แบรนด์แกรนด์อีจีวีจนถึง พ.ศ. 2567 ก่อนเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ "บางแค ซีนีเพล็กซ์" นอกจากนี้ยังใช้ชื่อ "เมเจอร์ ซีนีมา" เพื่อรีแบรนด์โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาที่มีโรงภาพยนตร์ต่ำกว่า 6 โรง และสาขาในห้างสรรพสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา รวมถึงสาขาเปิดใหม่ที่มีการจำหน่ายน้ำอัดลมแบรนด์โคคา-โคลา (ปกติเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำหน่ายน้ำอัดลมแบรนด์เป๊ปซี่[10]) และเมเจอร์ ซีนีมา สาขาแรกคือบิ๊กซี ปากช่อง มีจำนวนทั้งหมด 3 โรง

เอ็มบาสซี ดิโพลแมทสกรีน

เอ็มบาสซี ดิโพลแมทสกรีน (อังกฤษ: Embassy Diplomat Screens) หรือชื่อเดิมในระหว่างการพัฒนาโครงการคือโรงภาพยนตร์เอ็มบาสซี ซีนีเพล็กซ์ ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี เป็นโรงภาพยนตร์ระดับบนแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมดำเนินการภายใต้ชื่อ บริษัท เอ็กเซ็คคิวทีฟ ซิเนม่า คอร์ปเรชัน จำกัด โดยนายวิชา พูลวรลักษณ์ ร่วมกับกลุ่มของผู้บริหารโรงภาพยนตร์ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากแคนาดา ที่เป็นผู้นำพาระบบไอแมกซ์เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย ตัวโรงภาพยนตร์ได้รับการออกแบบโดยกลุ่มร็อคเวลล์กรุ๊ปในแนวความคิดและแรงบันดาลใจจากการขดตัวของฟิล์ม 35 มม. อันเป็นที่มาของโลกเซลลูลอยด์ที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ ระบบการฉายเป็นระบบดิจิทัลความละเอียด 8 ล้านเมกะพิกเซล (4K) และใช้ระบบการฉายภาพสามมิติ เรียลดี เอ็กซ์แอล (RealD XL) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ก่อนเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์นำมาปรับใช้ที่สาขาเอ็มควอเทียร์ในภายหลัง

ตัวโรงภาพยนตร์แบ่งออกเป็นจำนวน 5 โรงภาพยนตร์ โดยรองรับการฉายในระบบเรียลดี เอ็กซ์แอลทุกโรงภาพยนตร์ โดยมีโรงภาพยนตร์ที่ 1 3 และ 5 เป็นโรงภาพยนตร์ที่ตกแต่งบรรยากาศภายในบ้าน และโรงภาพยนตร์ที่ 2 และ 4 ตกแต่งภายใต้บรรยากาศแบบโรงภาพยนตร์ระดับเฟิร์สท์คลาสทั่วไป ให้บรรยากาศคล้ายกับโรงภาพยนตร์อัลตราสกรีน ในพารากอน ซีนีเพล็กซ์

โรงภาพยนตร์ในเครือ

สาขา จำนวนโรง รายละเอียด
ทั่วไป รูปแบบพิเศษ
พารากอน ซีนีเพล็กซ์
สยามพารากอน ชั้น 5-6 6 (Laserplex) 3 (VietjetAir.com VIP Cinema)
1 (Krungsri IMAX with Laser)
1 (4DX with Laser)
1 (Siam Pavalai Royal Grand Theatre by Krungthai-AXA Life[11])
1 (Samsung Onyx)
1 (Enigma)
1 (Alisa Ai Screen X)
1 (Kids Cinema)
ชื่อเดิมในระหว่างการก่อสร้างคือโครงการพารากอนซีเนโพลิส เป็นโรงภาพยนตร์สำหรับกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน ตามกลุ่มลูกค้าหลักของศูนย์การค้าสยามพารากอน มีแนวคิดหลักคือ "วิจิตรทัศน์แห่งวัฒนธรรมบันเทิง" (The refined vision of entertainment civilization) ตัวโรงภาพยนตร์เน้นความหรูหรา โอ่โถง มีการบริการคล้ายโรงแรมระดับห้าดาว และเน้นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบที่สุดของกลุ่มเมเจอร์​ ซีนีเพล็กซ์ ด้วยการทำให้สาขาพารากอน เป็นสาขาตั้งต้นของโรงภาพยนตร์ระบบพิเศษต่าง ๆ อาทิ ระบบการฉายดิจิทัลเลเซอร์ ระบบสามมิติ ระบบสี่มิติ และระบบเสียงรอบทิศทางเป็นต้น[12] บริหารงานโดย สยาม ซีนีเพล็กซ์ และกรุงเทพไอแมกซ์เธียเตอร์
ไอคอน ซีเนคอนิค
ไอคอนสยาม ชั้น 6 (จุดจำหน่ายบัตร) และชั้น 7-8 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) โซนอลังการ C 7 (Laserplex) 1 (Premier Cinema)
1 (Iconic IMAX with Laser)
1 (Iconic 4DX with Laser)
1 (Dolby Atmos)
1 (Cineconic Kids Cinema)
1 (Cineconic Living Cinema)
1 (Alisa Ai Screen X)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "สัญลักษณ์ใหม่ของโรงภาพยนตร์ระดับโลก" (The New World-class Cinematic Icon) โดยเน้นความหรูหราเช่นเดียวกับพารากอน ซีนีเพล็กซ์ ผสมผสานความทันสมัยของระบบการฉายภาพยนตร์และความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกับ ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต มีจุดเด่นที่ทุกโรงภาพยนตร์เป็นโรงภาพยนตร์ระบบเลเซอร์ดิจิทัลภายใต้แนวคิด "เลเซอร์เพล็กซ์" แห่งแรกของประเทศไทย โดยโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องฉายระบบเลเซอร์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565[13][14][15]
ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต
เอ็มควอเทียร์ ชั้น 4 โซนวอเตอร์ฟอล ควอเทียร์ 4 (Laserplex) 1 (AEON Theater)
1 (IMAX with Laser)
1 (Dolby Atmos)
1 (Lazada Kids Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "The Extraordinary" เน้นความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน โถงต้อนรับออกแบบให้เหมือนกับอาร์ตมิวเซียม ให้ความรู้สึกเสมือนกับชมงานศิลปะมากกว่าชมภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์แห่งนี้เคยเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีการฉายแบบ 3 จอมาใช้เป็นครั้งแรกในภูมิภาค และเป็นแห่งที่สองของโลกถัดจากเกาหลีใต้ แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปพารากอน ซีนีเพล็กซ์ ที่มีขนาดใหญ่กว่าแทน ส่วนโรงปัจจุบันเปิดให้บริการเฉพาะการฉายแบบเหมา
เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์
ดิ เอสพละนาด รัชดาภิเษก ชั้น 2 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 5 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) 8 (Laserplex) 2 (BSC Diamond Screen)
2 (Arte Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "Inno-art Entertainment" ให้โรงภาพยนตร์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์งานศิลปะ ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 12 โรง โดย 10 โรงเป็นโรงภาพยนตร์ฉายภาพยนตร์ทั่วไป และโรงภาพยนตร์พิเศษสำหรับฉายภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลป์หรือภาพยนตร์เฉพาะทางโดยเฉพาะ 2 โรง
งามวงศ์วาน-แคราย (Standalone) ชั้น 3 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 6-7 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) 13 1 (Ultra Screen)
1 (Kids Cinema)
1 (IMAX with Laser)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "Inno-art Entertainment" เช่นเดียวกับเอสพลานาดสาขาแรก แต่สร้างความแตกต่างด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอกอธิค เดิมมีแผนสร้างโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ในสาขา แต่ได้ล้มแผนไปเสียก่อนและนำโรงภาพยนตร์ดังกล่าวมาปรับปรุงเป็นโรงภาพยนตร์เอ็มแมกซ์ ที่ประกาศว่าเป็นโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อนปรับปรุงใหม่อีกครั้งในชื่อ Giant Laser Screen (GLS) ด้วยการชูจุดเด่นเป็นโรงภาพยนตร์ระบบเลเซอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ต่อมาโรงภาพยนตร์แห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เลเซอร์ และเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
เมกา ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล เมกาบางนา ชั้น L2 โซนสีเหลือง 10 (Laserplex) 1 (Real Asset Ultimate Cinema)
1 (4DX with Laser)
1 (Kids Cinema)
1 (IMAX with Laser)
1 (LG Miraclass LED Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "ดิจิทัศน์แห่งโลกภาพยนตร์" (The Cutting-Edge Sensation) ชูจุดเด่นด้วยโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลทั้งหมดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลเลเซอร์ทั้งหมด โดยมีหนึ่งโรงที่ถูกเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์แบบแอลอีดีขนาดจอใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมระบบเสียงดอลบี แอทมอส[16]) และยังมีโรงภาพยนตร์สำหรับเด็กแห่งแรกในไทยด้วย
หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล หาดใหญ่ ชั้น 5 8 (Laserplex) 1 (Ultra Screen)
1 (Krungthai NEXT Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "ปริซึ่ม" เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวศูนย์การค้า เดิมมีโรงภาพยนตร์กรุงศรีไอแมกซ์เปิดทำการ แต่ได้เลิกกิจการและย้ายเครื่องฉายไปสาขาต่างประเทศแทน
เวสต์เกต ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล เวสต์เกต ชั้น 4 (จุดจำหน่ายบัตร) และชั้น 5 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) โซนสีม่วง 7 (Laserplex) 1 (Ultra Screen)
1 (IMAX)
1 (4DX with Laser)
1 (3D Sound)
1 (G-LO Man & Family Kids Cinema[17])
เป็นโรงภาพยนตร์ Full Format เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าแบบครอบครัวที่พักอาศัยในย่านเดียวกับศูนย์การค้า โดดเด่นด้วยโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลทั้งหมด และมีโรงภาพยนตร์พิเศษที่ออกแบบและตกแต่งสำหรับเด็กเป็นที่แรกของประเทศไทย ซึ่งได้เอาแนวคิด Kids Cinema ของอีจีวีเดิมมาปรับใช้
ซีนีเพล็กซ์
พรอมานาด ซีนีเพล็กซ์
เดอะพรอมานาด รามอินทรา ชั้น 5
6 (Laserplex) 1 (GLS)
1 (4DX with Laser)
ออกแบบโดยใช้สไตล์ความเป็นยุโรป เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวศูนย์การค้า เป็นโรงภาพยนตร์ในรูปแบบซีนีเพล็กซ์สาขาแรก รวมถึงเป็นส่วนขยายจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แฟชั่นไอส์แลนด์ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูง ด้วยที่นั่ง VIP ในโรงภาพยนตร์
อีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ ชั้น 3 โซนอินดอร์พลาซา
5 (Laserplex) 1 (Ultra Screen)
1 (3D Sound)
1 (Kids Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "สวนแบบอังกฤษ" (English Garden) เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวศูนย์การค้า เป็นโรงภาพยนตร์แนวกรีนซีเนม่าสาขาที่สองของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เดิมมีโรงภาพยนตร์ 4DX เปิดให้บริการตั้งแต่เปิดทำการจนถึงปี พ.ศ. 2565 เนื่องจากขาดแคลนอะไหล่และสาขาไม่ทำกำไรเป็นเวลานาน
ไดอาน่า ซีนีเพล็กซ์
ไดอาน่า คอมเพล็กซ์ หาดใหญ่ ชั้น 5
5 - โรงภาพยนตร์แห่งที่ 3 ของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ในตัวเมืองหาดใหญ่ ปรับปรุงจากโรงภาพยนตร์โคลิเซี่ยมเดิม บริหารงานโดยอีจีวี
อยุธยาซิตี้พาร์ค ซีนีเพล็กซ์
อยุธยาซิตี้พาร์ค ชั้น 2
6 (Laserplex) ปรับปรุงจากโรงภาพยนตร์ธนาซีนีเพล็กซ์เดิม บริหารงานโดยอีจีวี
บลูพอร์ต ซีนีเพล็กซ์
บลูพอร์ต หัวหิน ชั้น 2
6 - ออกแบบภายใต้แนวคิด "Resort Cinema" ให้ความรู้สึกเฉกเช่นเดียวกับมาพักที่สถานตากอากาศ
โคราช ซีนีเพล็กซ์
เดอะมอลล์ โคราช ชั้น 3 โอเอซิสโซน
10 (Laserplex) - ปรับปรุงจากโรงภาพยนตร์ แกรนด์ อีจีวี (อีจีวี ไฟว์สตาร์ เดิม) เดิมมีทั้งหมด 8 โรงภาพยนตร์ (ดั้งเดิมมี 6 โรงภาพพยนตร์ และต่อเติมเพิ่มอีก 2 ภายหลัง) บริหารงานโดยอีจีวี เดิมมีโรงภาพยนตร์ระบบ 4DX เปิดให้บริการเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2565 โดยปิดตัวลงเนื่องจากขาดแคลนอะไหล่และสาขาไม่ทำกำไรเป็นเวลานาน และมีโรงภาพยนตร์ระบบ Ultra Screen เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2567 โดยปิดตัวลงเนื่องจากไม่ได้รับความนิยม
ซีคอน ซีนีเพล็กซ์
ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ชั้น 4 โซนโรบินสัน
12 (Laserplex) - ปรับปรุงจากโรงภาพยนตร์แกรนด์ อีจีวี เดิมมีทั้งหมด 14 โรงภาพยนตร์ บริหารงานโดยอีจีวี
ศรีราชา ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล ศรีราชา ชั้น 4
5 (Laserplex) - ออกแบบภายใต้แนวคิด "Innovative Oasis Cinema" แบบเดียวกับศูนย์การค้า โดดเด่นด้วยการตกแต่งที่เป็นธรรมชาติ ผสานความทันสมัยของเทคโนโลยีการฉาย บริหารงานโดยอีจีวี
จันทบุรี ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล จันทบุรี ชั้น 2
5 (Laserplex) - ออกแบบภายใต้แนวคิด "Innovative Digital Oasis" โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการฉายในรูปแบบดิจิทัลเลเซอร์ บริหารงานโดยอีจีวี
เวสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล เวสต์วิลล์ ชั้น 3 โซนอินดอร์พลาซา
3 (Laserplex) 1 (Ultra Screen)
1 (Kids Cinema)
ออกแบบภายใต้แนวคิด "Low Carbon and Sustainable Park" เช่นเดียวกับการออกแบบตัวศูนย์การค้า เป็นโรงภาพยนตร์แนวกรีนซีเนม่าสาขาที่สามของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนโดยเฉพาะ ด้วยการใช้เครื่องฉายระบบเลเซอร์ ตกแต่งด้วยวัสดุที่มาจากการรีไซเคิล และลดการใช้คาร์บอนในทุกกระบวนการทำงาน
บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์
เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ชั้น 3
6 (Laserplex) 1 (Coca-Cola presents IMAX with Laser)[18]
1 (Kids Cinema)
โรงภาพยนตร์ในรูปแบบ Full Format เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าแบบครอบครัวที่พักอาศัยในย่านเดียวกับศูนย์การค้า โดดเด่นด้วยโรงภาพยนตร์ระบบเลเซอร์ทั้งหมดทุกโรงภาพยนตร์ พร้อมด้วยโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ เลเซอร์ และโรงภาพยนตร์ระบบเลเซอร์สำหรับเด็ก บริหารงานโดยอีจีวี
นครปฐม ซีนีเพล็กซ์
เซ็นทรัล นครปฐม ชั้น 3
5 (Laserplex) - โรงภาพยนตร์ในรูปแบบ Full Format ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการฉายแบบเลเซอร์ พร้อมการออกแบบที่หรูหราระดับเวิลด์คลาส บริหารงานโดยอีจีวี
บางแค ซีนีเพล็กซ์
ซีคอนบางแค ชั้น 5-6
8 1 (GLS)
1 (Kids Cinema)
โรงภาพยนตร์ในรูปแบบ Full Format ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการฉายแบบเลเซอร์ พร้อมการออกแบบที่หรูหราระดับเวิลด์คลาสและสร้างความแตกต่างจากองค์ประกอบโทนสีในสมัยตอนยังเป็นฟิวเจอร์พาร์ค บางแค ปรับปรุงจากโรงภาพยนตร์แกรนด์อีจีวีเดิม บริหารงานโดยอีจีวี

ธุรกิจผลิตภาพยนตร์

เอ็ม สตูดิโอส์ (อังกฤษ: M STUDIOS) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ภายใต้การถือหุ้น 100% โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ บริษัทดังกล่าวเน้นร่วมผลิตภาพยนตร์กับเอกชนรายอื่น ๆ ที่สนใจผลิตภาพยนตร์ร่วมกัน อาทิ บีอีซีเวิลด์ ที่ร่วมผลิตภาพยนตร์บัวผันฟันยับและธี่หยด ภายใต้การร่วมค้าเอ็ม สตูดิโอส์ และบีอีซีเวิลด์ หรือเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่ร่วมผลิตภาพยนตร์อาตมาฟ้าผ่า ภายใต้การร่วมค้าภาพยนตร์อาตมาฟ้าผ่า เป็นต้น นอกจากเอ็ม สตูดิโอส์แล้ว เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังถือหุ้นในบริษัทผลิตภาพยนตร์อื่นอีก อาทิ ไท เมเจอร์, ทรานฟอร์เมชันฟิล์ม, และซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เป็นต้น

นอกจากการผลิตภาพยนตร์แล้ว เอ็ม สตูดิโอส์ ยังเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมถึงยังรับหน้าที่จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การฉายภาพยนตร์ จัดฉายภาพยนตร์ และวางแผนการทำตลาดภาพยนตร์ให้กับเอกชนรายอื่น ๆ อีกด้วย

ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และไอซ์สเก็ต

  • บลูโอ
  • ซับซีโร่

ธุรกิจอื่น ๆ

  • วี ฟิตเนส โซไซตี้
  • โรงแรมวี โฮเทล ราชเทวี เอ็ม แกลเลอรี บาย โซฟิเทล

รางวัล

ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[19] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจสถานบันเทิงและสวนสนุก ชนะ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. MAJOR : MAJOR CINEPLEX GROUP PUBLIC COMPANY LIMITED เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เรียกข้อมูล 27 พฤศจิกายน 2561)
  2. MAJOR : MAJOR CINEPLEX GROUP PUBLIC COMPANY LIMITED เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เรียกข้อมูล 27 พฤศจิกายน 2561)
  3. Admin (2017-12-18). "ค้าปลีกมาอีกราย ตระกูลพูลวรลักษณ์ ลุยเปิดศูนย์การค้า "เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า" มูลค่า 1.2 พันล้าน ลงทำเลอ่อนนุช". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. "ย้อนอดีต เมเจอร์ ปิ่นเกล้า". เนชั่นทีวี. 2016-07-28.
  5. Ltd.Thailand, VOICE TV (2016-07-28). "เพลิงไหม้ ห้างเมเจอร์ ซีนิเพล็กซ์ ซ้ำรอย เวลโก้ ปิ่นเกล้า". VoiceTV.
  6. MAJOR บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  7. พิสูจน์ฝีมือ "วิชา พูลวรลักษณ์" ธุรกิจโรงหนังไฮเทคยังรุ่ง?[ลิงก์เสีย]
  8. "นาคี 2 รอบปฐมทัศน์!โรงแทบแตก ผวจ.หนองคาย เปิดเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกิจกรรม Meet & Greet กับ เคน ภูภูมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-03. สืบค้นเมื่อ 2018-10-19.
  9. EGV eCinema[ลิงก์เสีย]
  10. เพจทางการของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สังเกตโปรโมชันที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มเป๊ปซี่และเครื่องดื่มโคคา-โคลา
  11. "เมเจอร์ฯ จับมือ กรุงไทย-แอกซ่า เปิดตัวโฉมใหม่ Siam Pavalai Royal Grand Theatre". trueid.net.
  12. การกำหนดกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของธุรกิจโรงภาพยนตร์ :กรณีศึกษา บริษัทเมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  13. "Major Cineplex ปิดดีล นำ Imax Laser ฉายในไทย นำร่อง 3 สาขา". Techsauce.
  14. Corporation, IMAX. "IMAX AND MAJOR CINEPLEX EXPAND PARTNERSHIP IN THAILAND WITH THREE NEW IMAX® WITH LASER THEATRES". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ).
  15. "โปรโมชั่นร่วมฉลอง IMAX with Laser รอบแรกในประเทศไทย ทุก 2 ที่นั่งแลกรับ Exclusive T-Shirt 1 ตัว". Major Cineplex. 2022-12-07.
  16. "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผนึก แอลจี เปิดตัวโรงภาพยนตร์ "LG Miraclass LED". ryt9.com.
  17. matichon (2022-06-22). "สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เดินหน้าเปิดโลกแห่งจินตนาการให้กับหนูน้อย ผุดไอเดีย". มติชนออนไลน์.
  18. "รวมความพิเศษ ฉลองเปิดโรงภาพยนตร์ IMAX with Laser สาขาบางกะปิ ซีนีเพล็กซ์". Major Cineplex. 2024-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-29. สืบค้นเมื่อ 2024-06-29.
  19. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น