ยูนิโคล่
บริษัท ยูนิโคล่ จำกัด (ญี่ปุ่น: 株式会社ユニクロ; โรมาจิ: Kabushiki-gaisha yunikuro, คาบูชิกิ ไงฉะ ยูนิคูโระ) เป็นตราสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายของประเทศญี่ปุ่น นอกจากในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังมีสาขาในต่างประเทศอีกทั้งหมด 14 ประเทศทั่วโลก
อุตสาหกรรม | แฟชั่น |
---|---|
ก่อตั้ง | จังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น 1949 |
สำนักงานใหญ่ | มิดทาวน์ทาวเวอร์ อากาซากะ เขตมินาโตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
ผลิตภัณฑ์ | เสื้อผ้า |
พนักงาน | 44,424 (2018) |
เว็บไซต์ | www.uniqlo.com/th |
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น
แก้ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2492 จากบริษัทที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดยามางูจิ โอโงริ โชจิ ได้เปิดร้านขายเสื้อผ้าสำหรับผู้ชายที่มีชื่อว่า "เมนส์ช็อปโอเอส" (Men's Shop OS) ขึ้น ในเมืองอูเบะ
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2527 เขาก็เปิดร้านขายเสื้อผ้าโดยมีคอนเซ็ปต์ made for all หรือเสื้อผ้าลำลองที่ทำมาเพื่อทุกคน คุณภาพดี ใส่สบาย ราคาถูก มีให้เลือกหลายสี และไม่ตามเทรนด์แฟชั่น[1] เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยใน ฟุกุโรมาชิ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองนากากุ จังหวัดฮิโรชิมะ ภายใต้ชื่อ "ยูนีคโคลธิงแวร์เฮาส์" (Unique Clothing Warehouse) ในช่วงแรกนั้น จากชื่อ "ยูนีคโคลธิง" ก็ได้ปลี่ยนชื่อเป็น "ยูนิโคล่" (uni-clo) อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2531 จากการบริหารงานระหว่างในสาขาที่ฮ่องกง พนักงานได้อ่านผิดจาก "ซี" (C) เป็น "คิว" (Q) ทำให้หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชื่อใหม่ ซึ่งทาดาชิ ยานาอิ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ยูนิโคล่" (uniqlo) ในประเทศญี่ปุ่นด้วย[2] หลังจากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 ชื่อบริษัทได้ถูกเปลี่ยนจาก "โอโงริ โชจิ" (Ogori Shōji) เป็น "ฟาสต์รีเทลลิง"(Fast Retailing) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 ก็มีร้านยูนิโคล่มากกว่า 100 สาขาในประเทศญี่ปุ่น
สาขาในต่างประเทศ
แก้สาขาในประเทศไทย
แก้ยูนิโคล่เปิดสาขาแรกในประเทศไทยที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554[3] โดยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย ตามลำดับ ต่อมาได้เปิดสาขาพัฒนาการ ซึ่งเป็นโรดไซด์สโตร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2561 ได้แต่งตั้ง อุรัสยา เสปอร์บันด์ เป็นแบรนด์พรีเซนเตอร์คนแรกของเมืองไทย ในปี 2563 รวมไปถึงการเปิดร้านยูนิโคล่ในแต่ละภาคทั่วประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ "UNIQLO โด่งดังไปทั่วโลกได้อย่างไร โคอิจิโร่ ทานากะ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมือทอง ผู้อยู่เบื้องหลัง". มติชน. 14 กันยายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2016.
- ↑ 寫錯公司名 將錯就錯作品牌. mpfinance.com. 26 เมษายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2016.
- ↑ "เปิดตำนานUNIQLO เสื้อผ้าแบรนด์ดังอันดับ 1 ของญี่ปุ่น". ไทยรัฐ. 7 สิงหาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2024.