อุรัสยา เสปอร์บันด์
อุรัสยา เสปอร์บันด์ (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น ญาญ่า เป็นนักแสดงและนางแบบชาวไทย เธอเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนางแบบตั้งแต่ปี 2551 หลังจากเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เธอเริ่มมีชื่อเสียงหลังจากแสดงในละครเรื่อง ดวงใจอัคนี (2553) ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลท็อปอวอร์ดและสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ สาขาดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม และประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในละครที่ดัดแปลงจากนวนิยาย รวมถึง เกมร้ายเกมรัก (2554) และ ธรณีนี่นี้ใครครอง (2555) ที่แสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะ จากนั้นเธอได้แสดงหลากหลายบทบาทและได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี เช่น คลื่นชีวิต (2560) ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักแสดงนำหญิงดีเด่น
อุรัสยา เสปอร์บันด์ | |
---|---|
![]() อุรัสยาในเดือนตุลาคม 2565 | |
เกิด | 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | ญาญ่า |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน |
ตัวแทน | ช่อง 3 |
คู่รัก | ณเดชน์ คูกิมิยะ |
รางวัล | รายการทั้งหมด |
เว็บไซต์ | urassayaclub |
ลายมือชื่อ | |
![]() |
ชีวิตช่วงแรกแก้ไข
อุรัสยา เสปอร์บันด์ เกิดวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พ่อของเธอชื่อ ซิกู๊ด เป็นชาวนอร์เวย์ ทำงานเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ส่วนแม่ของเธอ อุไร ทำงานเป็นแม่บ้าน[1] อุรัสยามีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แคทลียา[2] อายุมากกว่าเธอสามปี[3] และมีพี่ชายชาวนอร์เวย์อีกสองคน ซึ่งเป็นลูกติดของซิกู๊ด[4] เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ในพัทยา ตั้งแต่ปี 2541[5]
เมื่ออายุ 13 ปี อุรัสยาได้พบกับโมเดลลิ่งที่สวนจตุจักรและถูกชักชวนไปทดสอบหน้ากล้องในงานโฆษณาชิ้นหนึ่ง[6] ซึ่งเธอก็ผ่านการคัดเลือก โดยได้แสดงโฆษณาระงับกลิ่นกายของจีนียังแคร์โคโลญ[7] จากนั้นมีงานติดต่อเข้ามาเรื่อย ๆ แต่ก็ต้องหยุดชะงักเพราะการเดินทางระหว่างชลบุรีไปยังกรุงเทพมหานครค่อนข้างลำบาก ซึ่งทำให้เธอหายไปจากวงการช่วงหนึ่ง[6] จนในปี 2551 อุรัสยาก็หวนกลับเข้าวงการอีกครั้งในฐานะนางแบบด้วยการเข้าร่วมโครงการโมเดลเสิร์ชของห้างสรรพสินค้าเซน[1] โดยมีสมบัษร ถิระสาโรช เป็นผู้ชักนำและรับงานต่าง ๆ ให้[6] นอกจากงานเดินแบบแล้ว เธอยังได้ถ่ายนิตยสารและมิวสิกวิดีโออีกมากมาย[8] ด้วยเหตุนี้ครอบครัวจึงย้ายไปอยู่กรุงเทพมหานครเพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางของเธอพร้อมกับย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบางกอกพัฒนา[6][9] ภายหลังเข้าสู่วงการบันเทิง เธอสอบเทียบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกภาษาอิตาลี[2] แต่ต่อมาย้ายเรียนในเอกภาษาสเปน[10] จวบจนสำเร็จการศึกษาในปี 2558[11]
วงการบันเทิงแก้ไข
2551–2554 : เริ่มต้นอาชีพนักแสดง และประสบความสำเร็จแก้ไข
ในปี 2551 รูปภาพของเธอจากนิตยสารเป็นที่เข้าตาของทางช่อง 3 จนนำไปสู่การเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงกลุ่มพาวเวอร์ทรีรุ่นที่สอง[12] เป็นระยะเวลา 3 ปี[13] ซึ่งในขณะนั้นเธอยังพูดภาษาไทยเสียงแปร่ง เนื่องจากอยู่โรงเรียนนานาชาติมาตั้งแต่ยังเด็ก[2] และใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษานอร์เวย์สื่อสารกับครอบครัวเป็นหลัก[14] ด้วยเหตุนี้ทำให้เธอเริ่มเรียนภาษาไทยควบคู่กับการแสดงก่อนรับงาน[2] บทบาทการแสดงแรกของเธอเริ่มจากบทสมทบในละครของจริยา แอนโฟเน่ เรื่อง บ้านก้านมะยม แสดงร่วมกับณัฐรัฐ โมริส เลอกรองและพัชรินทร์ ศรีวสุภิรมย์[15][16] ซึ่งใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 4 ปี แต่ไม่ได้ออกอากาศ[17][a] จากนั้นได้แสดงร่วมกับวริษฐ์ ทิพโกมุทในละครซิตคอมแนวตลกของทีวีธันเดอร์เรื่อง เพื่อนซี้ล่องหน[18][19] โดยภายหลังอุรัสยากล่าวถึงการแสดงของตนว่า "เล่นแข็งมาก พูดภาษาไทยก็ไม่ชัด"[20]
ในปี 2553 อุรัสยาได้แสดงบทนำครั้งแรกในละครเรื่อง กุหลาบไร้หนาม ประกบกับเฌอมาลย์ บุญยศักดิ์และพัชฏะ นามปาน[20] รับบทเป็นหญิงสาวที่มองโลกในแง่ดี แต่ถูกพี่สาวกลั่นแกล้งและพยายามแย่งทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งคนรัก[21] อุรัสยามองว่า เธอยังคงวิตกกังวลในการพูดและการแสดงอยู่[22] ในวันแรกที่เข้าฉาก เธอพูดตะกุกตะกักและพูดบทผิด ผลคือไม่ผ่านและต้องถ่ายซ้ำอีกรอบ ซึ่งนั่นเป็นประสบการณ์ที่เธอไม่ชอบใจเลย เธอยังกล่าวว่า "เธอรู้สึกกลัวทุกคน" นักแสดงร่วม สาวิตรี สามิภักดิ์ จึงแนะนำให้อุรัสยาอัดเสียงพูดตัวเองแล้วฟังซ้ำไปมาเพื่อฟังว่าคำไหนพูดชัดหรือไม่ชัดและต้องได้อารมณ์ของตัวละคร[23] หลังจากออกอากาศ ละครประสบความสำเร็จและได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลคมชัดลึก อวอร์ดสาขาละครยอดเยี่ยม และอุรัสยาถูกมองว่าเป็นนางเอกมาแรง[24] ในปีเดียวกันนั้น เธอแสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะในบทคนดูแลกิจการฟาร์มโคนมที่ไม่ถูกกันตั้งแต่เด็ก แต่ความบาดหมางก็เกิดเป็นความรักต้องห้ามระหว่างสองตระกูลที่ไม่ถูกกัน[25] ในละครฉลองครบรอบ 40 ปี 4 หัวใจแห่งขุนเขา เรื่อง ดวงใจอัคนี กลายเป็นละครที่ได้รับความนิยม[26] และส่งให้เธอได้รับรางวัลท็อปอวอร์ดและสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ สาขาดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยม[27][28]
ในปี 2554 อุรัสยาได้รับคัดเลือกแสดงในละครโลดโผนเรื่อง ตะวันเดือด ของฉัตรชัย เปล่งพานิช กำกับโดย อรรถพร ธีมากร ในละครอุรัสยารับบทเป็นลูกสาวเจ้าของไร่ที่ต้องแบกรับภาระของพ่อเอาไว้ ในการปกป้องสายแร่พลอยจากกลุ่มโจร[29] ละครประสบความสำเร็จอย่างสูง[30][31][32] ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช ถึง 7 สาขา และได้เข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำถึง 4 สาขา และอีก 5 สาขาจากคมชัดลึก อวอร์ด อุรัสยาถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม แต่พ่ายให้กับอารยา เอ ฮาร์เก็ตจากละครเรื่อง ดอกส้มสีทอง[33]
หลังจากเรื่อง ตะวันเดือด ก็ได้แสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะในละครโรแมนติกดราม่าเรื่อง เกมร้ายเกมรัก ออกอากาศเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554[34] โดยเธอรับบทเป็นหญิงสาวที่สูญเสียความทรงจำ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จถึงแม้จะมีอุทกภัยในประเทศไทย[35] และถือเป็นละครที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดจากการสำรวจของเอแบคโพล[36] สำหรับการแสดงในละครเรื่องนี้ เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[37] รางวัลเมขลา และสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[38][39] หลังจบละครเธอได้เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าจำนวนมาก จนได้รับขนานนามว่าเป็น "เจ้าแม่พรีเซ็นเตอร์"[40] จากรายได้ 65 ล้านบาท เว็บไซต์สนุกดอตคอม จัดอันดับให้เธออยู่ในอันดับที่สองในหัวข้อ "ดาราสุดฮอตเจ้าพ่อเจ้าแม่พรีเซนเตอร์" ประจำปี 2554[41] และนิตยสาร โพสซิชันนิง จัดให้เธอเป็น "แบรนด์แอมบาสเดอร์ที่มาแรงที่สุดในช่วงไตรมาสที่สอง" ในปี 2555[42]
2555–2560 : ดาวเรือง และเสียงวิจารณ์แก้ไข
ในปี 2555 อุรัสยาได้แสดงคู่กับณเดชน์ คูกิมิยะในละครเรื่อง ธรณีนี่นี้ใครครอง สร้างมาจากนวนิยายของกาญจนา นาคนันทน์[43] ละครเรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งบวกและลบปนกัน[44] ส่วนคำวิจารณ์การแสดง ปิยนุช รัตนานุกูล จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วิจารณ์ว่า "ได้เผยถึงความหลากอารมณ์ มีหลายอย่างปน ๆ กันอยู่ แล้วปล่อยออกมาแบบกระตุ้นการรับรู้" (sensory stimulus)[45] การแสดงจากละครเรื่องนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลเมขลาสาขาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น[46] และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลท็อปอวอร์ดในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[47] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เธอได้ให้เสียงพากย์เป็น ฮีโร่สีชมพู ในการ์ตูนแอนิเมชันแนวครอบครัวเรื่อง ซุปเปอร์ฮีโร่ หล่อช่วยได้[48] ในเดือนพฤศจิกายน 2555 เธอแสดงมิวสิกวิดีโอเพลง "มายแบดแฮบิต" ของชินวุฒ อินทรคูสิน[49]
หลังจากเรื่อง ธรณีนี่นี้ใครครอง ก็ได้แสดงร่วมกับอธิชาติ ชุมนานนท์และศรราม เทพพิทักษ์ ในละครเรื่อง มายาตวัน หนึ่งในละครซีรีส์ชุด 3 ทหารเสือสาว เธอรับบทเป็นนักข่าวสายบันเทิงที่พยายามขอสัมภาษณ์อดีตดาราชื่อดังที่เกลียดนักข่าว[50] ในปีเดียวกัน อุรัสยาแสดงในละครตลกเรื่อง ดาวเรือง คู่กับทฤษฎี สหวงษ์[51] ในละครเธอรับบทเป็นดาวเรือง สาวห้าวประจำหมู่บ้านที่ชอบกลั่นแกล้งคนอื่น สำหรับบทนี้ อุรัสยาถูกวิจารณ์จากผู้ชมว่าเธอไม่เหมาะสมกับบทดังกล่าวเพราะภาพลักษณ์ที่ดูเป็นเด็กฝรั่งและผู้ชมบางคนยังติดตากับละครเวอร์ชันก่อนเมื่อปี 2539 ที่นำแสดงโดยจอนนี่ แอนโฟเน่และสิริยากร พุกกะเวส[52] แต่กฤษณ์ ศุกระมงคล ผู้กำกับแย้งว่า "น้องเหมาะที่สุดทั้งจากความแรงและความเป็นตัวเอง" ส่วนภาพลักษณ์ที่ดูเป็นเด็กฝรั่ง เขากล่าวว่า "มันดูท้าทาย เป็นจุดที่จะสนุก" และรู้สึกพอใจกับการแสดงของเธอ[53] อุรัสยายังให้สัมภาษณ์ว่า เธอต้องไปเรียนการแสดงเพิ่มเติม ในช่วงแรก ๆ เธอมีอาการเครียดเพราะหาคาแรกเตอร์ตัวเองไม่เจอ ด้วยความที่เป็นบทไกลตัวและภาษาของคนต่างจังหวัด[54] หลังจากละครออกอากาศก็ได้กระแสตอบรับที่ดี โดยมีเรตติงเฉลี่ยร้อยละ 8.66 ซึ่งมากเป็นอันดับ 6 ของช่องสามในปีนั้น[55] ส่วนคำวิจารณ์ สำนักข่าวอิศราเขียนว่า "เป็นละครสะท้อนสังคมไทยในปัจจุบัน หลายคำพูดล้วนถูกรังสรรค์และหยิบยกขึ้นถ่ายทอดเพื่อหวังให้คนไทยได้ฉุกคิด"[56] จากการประสบความสำเร็จของการ์ตูนแอนิเมชัน ซุปเปอร์ฮีโร่ หล่อช่วยได้ ทำให้เธอได้กลับมาพากย์เสียงต่อในภาคเริ่มต้นใหม่ ซุปเปอร์ฮีโร่ สวยช่วยได้ ซีซั่น 2 ร่วมกับคิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริและราศรี บาเล็นซิเอก้า ออกอากาศเดือนตุลาคม[57] ปีถัดมาเธอแสดงร่วมกับณเดชน์ คูกิมิยะ, มาริโอ้ เมาเร่อ และณฐพร เตมีรักษ์ในละครชุด ไรซิงซัน เรื่อง รอยฝันตะวันเดือด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 เป็นเรื่องราวความรักที่มีฉากหลังเป็นประเทศญี่ปุ่น[58] ละครไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร[59] ซีรีส์ชุดนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ทั้งดีและไม่ดี[60] และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "ละครตลกสำหรับคนที่รู้จักญี่ปุ่น"[61] แต่ถึงกระนั้นซีรีส์ชุดนี้ยังได้รับรางวัลละครยอดเยี่ยมแห่งปีจากสถานทูตและการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น[62]
ในปี 2558 อุรัสยาแสดงในละครของธิติมา สังขพิทักษ์ ร่วมกับ จิรายุ ตั้งศรีสุข เรื่อง หนึ่งในทรวง[63] เป็นละครย้อนยุคกลับไปในปี 2473[64] โดยอุรัสยารับบทเป็นหญิงสาวที่ปากแข็งในเรื่องความรัก[65] ในปี 2560 อุรัสยาได้แสดงคู่กับปริญ สุภารัตน์ในละครเรื่อง คลื่นชีวิต กำกับโดยอำไพพร จิตต์ไม่งง ได้รับบทบาทเป็นจีราวัจน์ นักแสดงดาวรุ่งที่มีปมชีวิต[66] ละครประสบความสำเร็จ ทำเรตติงได้เฉลี่ย 5.97 ซึ่งมากที่สุดของช่องสามในปี 2560[67] อุรัสยาได้รับคำวิจารณ์ตอบรับที่ดี เอเอสทีวีผู้จัดการ วิจารณ์ว่า "ไม่หลงเหลือคราบไคลของนางเอกที่น่ารัก สิ่งที่ทุกคนมองเห็นคือ รัศมีการแสดงของเธอที่นับวันก็ยิ่งเปล่งประกาย"[68] เว็บสนุกดอตคอมพูดถึงการรับบทเป็นจีราวัจน์ว่า "แสดงได้ทรงพลัง สีหน้าท่าทางทำให้คนเชื่อว่าเป็นตัวละครนี้จริง ๆ"[69] อุรัสยาได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ เป็นครั้งแรกในสาขานักแสดงนำหญิงดีเด่น และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ สาขานักแสดงหญิงแห่งปี จากการแสดงละครเรื่องนี้
เดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เธอได้ร่วมงานกับแร็ปเปอร์ ปริญญา อินทชัย สมาชิกวงไทยเทเนี่ยม ร้องเพลง "เมกอิตแฮปเพน" (Make it happen) สำหรับประกอบโฆษณา เมย์เบลลีน เพลงเป็นแนวฮิปฮอปผสมอิเล็กทรอเฮาส์ซึ่งโปรดิวเซอร์โดยยัวร์บอยทีเจ[70] เพลงได้รับการตอบรับที่ดี โดยขึ้นสูงสุดอันดับที่ 1 บนไอทูนส์ของประเทศไทย[71] และได้รับรางวัลยูทูบเดย์สาขาสุดยอดโฆษณาที่คนไทยชมมากที่สุด[72] ในปีเดียวกัน อุรัสยาแสดงในละครรัก-ตลกเรื่อง เล่ห์ลับสลับร่าง ดัดแปลงมาจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของนรอินทร์เมื่อปี 2545 กำกับโดยกฤษณ์ ศุกระมงคล
2561–ปัจจุบัน : น้องพี่ที่รัก และหลังจากนั้นแก้ไข
อุรัสยาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกใน น้อง.พี่.ที่รัก ออกฉายในเดือนพฤษภาคม 2561 เป็นภาพยนตร์ครอบครัวที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องที่ไม่ถูกกัน[73] ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้สูงสุดของปี 2561 ที่อันดับสอง[74] การแสดงของอุรัสยาได้รับเสียงชื่นชม หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เขียนว่า "บทอารมณ์ที่ส่งออกมาไม่ติดขัดอะไรเลย"[75] ขณะที่ บูมแชนแนล มองว่าการแสดงของเธอนั้น "สะกดคนดูอยู่และรู้สึกร่วมไปกับการแสดงได้จนจบเรื่อง"[76] อุรัสยาได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ และรางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[77] และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง และรางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มอะวอดส์[78] ในเดือนตุลาคม อุรัสยารับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง นาคี ๒ กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เป็นภาคต่อของละครเรื่อง นาคี ที่ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อปี 2559 โดยรับบทเป็นหญิงสาวที่เติบโตมาพร้อมกับความเชื่อและศรัทธาต่อเจ้าแม่นาคี ภาพยนตร์ทำรายได้ 73 ล้านบาทในสัปดาห์เปิดตัว[79] และทำรายได้รวม 417 ล้านบาททั่วประเทศ[80] กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในประเทศไทยที่อันดับ 10[81] ในปี 2562 อุรัสยาแสดงในละครเรื่อง กลิ่นกาสะลอง รับบทตัวละคร 4 ตัวละคร ทั้งบทข้ามชาติ และฝาแฝด[82] เดอะสแตนดาร์ด วิจารณ์การแสดงว่า "แม้จะรับบทหนักทั้งหมด 4 บท แต่เธอก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์และแยกความเป็นตัวละครนั้น ๆ ออกมาได้อย่างชัดเจน จนคนดูเชื่อว่าเธอแสดงเป็นคนละคนจริง ๆ"[83] บทบาทนี้ทำให้อุรัสยาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลโทรทัศน์ทองคำ, คมชัดลึก อวอร์ด และรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[84]
ในปี 2564 อุรัสยาพากย์เสียงเป็นรายา ฉบับภาษาไทย ในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง รายากับมังกรตัวสุดท้าย[85] ปีถัดมา อุรัสยาได้แสดงร่วมกับณัฏฐ์ กิจจริต ในภาพยนตร์เรื่อง เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ กำกับโดยนวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ออกฉายในเดือนเมษายน 2565[86] ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้[87] และได้รับคำวิจารณ์แบบคละกัน หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ตำหนิภาพยนตร์โดยเฉพาะการดำเนินเรื่องผ่านกีฬาสแต็กที่ค่อนข้างน่าเบื่อ แต่ชื่นชมการแสดงของอุรัสยา โดยกล่าวว่า "เล่นนิ่ง ๆ เล่นเรื่อย ๆ แทบจะเป็นคนเดียวที่เด่นด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมาเป็นทีม"[88] เช่นเดียวกับ วาดฝัน คุณาวงศ์ จาก เวิร์คพอยท์ทูเดย์ ที่เขียนไว้ว่า "เป็นการแสดงที่ดีที่สุดของเธอ"[89] ในงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก ครั้งที่ 21 อุรัสยาได้รับรางวัลดาวรุ่งแห่งเอเชีย จากการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้[90] ในปีเดียวกัน เธอยังแสดงละครเรื่อง คือเธอ[91] ที่สามารถทำเรตติงได้เฉลี่ย 3.05 ซึ่งมากที่สุดของช่องสามในปีนั้น[92] นอกจากนี้เธอยังรับบทเป็นวิศวกรด้านอุทกวิทยา ในละครชุด ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง ซึ่งดัดแปลงจากปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ออกฉายในเดือนกันยายนทางเน็ตฟลิกซ์[93]
ชีวิตส่วนตัวแก้ไข
อุรัสยาสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนระดับพื้นฐานได้[94] รวมทั้งสามารถเล่นเปียโนและไวโอลินได้ระดับหนึ่ง[95] และยังชื่นชอบการขี่ม้าตั้งแต่อายุราว 7 ปี เธอเคยเข้าร่วมการแข่งขันที่ฮอร์สชูพอยต์อยู่หลายครา[96] ด้วยความชื่นชอบนี้เธอจึงชอบสะสมตุ๊กตามายลิตเติลโพนีด้วย[2]
ในเวลาว่าง อุรัสยาเป็นหนอนหนังสือ เธอชื่นชอบงานเขียนของเม็ก แคบอต, นิโคลัส สปากส์, โซฟี คินเซลลา และเซซีเลีย อะเฮิร์น[97] ส่วนแนววรรณกรรมที่ชื่นชอบคือ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์โรมานซ์[98] เธอยังชอบอ่านหนังสือ สาวทรงเสน่ห์ ของเจน ออสเตน[99] และ ลิขิตรักต่างมิติ ของอะเฮิร์น[97]
ความสัมพันธ์ของอุรัสยากับณเดชน์ คูกิมิยะ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนนับตั้งแต่ละครเรื่อง ดวงใจอัคนี (2553) โดยสื่อได้คาดการณ์ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นานา แต่ทั้งคู่ปฏิเสธมาโดยตลอด[100] จนในปี 2565 ทั้งคู่ยอมรับว่าความสัมพันธ์ถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2555 และได้ตกลงคบหากันในภายหลัง[101] ต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ทั้งคู่หมั้นหมายกันที่ประเทศอิตาลี[102]
ผลงานการแสดงแก้ไข
ละครโทรทัศน์
|
ภาพยนตร์
|
รางวัลแก้ไข
เชิงอรรถแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 ญาญ่า อุรัสยา น้องนุช นางเอกใสซื่อป้ายแดง. ฉบับที่ 131: นิตยสารอินแมกกาซีน. 2010. p. 68. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "เปิดดวงใจ 'ยัยจี๊ด'". ผู้จัดการออนไลน์. 2010-11-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "ส่องภาพ!! "แคท แคทรียา" พี่สาวแท้ๆ "ญาญ่า" บอกเลยว่าหน้าตาดีกันทั้งบ้านจริงๆ!". ทีวีพูล. 2017-03-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-22. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ ""ญาญ่า" ปัดซ่อนแฟนนอร์เวย์ คนที่เห็นเป็นพี่ชายแท้ ๆ ยันหัวใจยังว่าง". ผู้จัดการออนไลน์. 2011-11-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "ญาญ่าร่วมงานเปิดกล้องภาพยนตร์เรื่อง "Girl Rising"". สนุก.คอม. 2013-05-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 สวย ใส ไร้จริต ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์. ฉบับที่ 21: นิตยสารคอสเมติกส์. 2010. p. 48. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ Young Blood หมาก - ญาญ่า. ปีที่ 27 ฉบับที่ 606: นิตยสารเธอกับฉัน. 2010. p. 95. สืบค้นเมื่อ 2022-12-30.
- ↑ ""ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์" นางเอกดาวรุ่ง..อนาคตไกล แจ้งเกิดชั่วข้ามคืน..จากละคร..กุหลาบไร้หนาม". ชีวิตต้องสู้. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-10. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ นางเอกละคร ดวงใจอัคนี". กระปุก.คอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-31. สืบค้นเมื่อ 2022-01-04.
- ↑ "ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ สาวน้อยขี้เล่นผู้เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่น". ผู้จัดการออนไลน์. 2011-11-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2015-04-27.
- ↑ "รวมดารา ร่วมยินดี "ญาญ่า" รับปริญญา จุฬาฯ". ทีวีพูล. 2015-10-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ ญาญ่า สวย สะดุดตา เริงร่า ต้อนรับปี 2559. ฉบับที่ 18: นิตยสารครัวคุณต๋อย. 2016. p. 64. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "คุยกับนางเอกเจ้าน้ำตา'ญาญ่า'อุรัสยา". คมชัดลึก. 2010-08-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
- ↑ "ญาญ่า สาวคิวทอง ครองพรีเซ็นเตอร์สุดฮอต!". กระปุก.คอม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-13. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
- ↑ "แทบไม่เชื่อหู !! นางเอกตัวท็อป " ญาญ่า อุรัสยา " เคยถูกดองละคร ไม่ให้ออกอากาศ !!?". ทีนิวส์. 2017-11-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-25. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
- ↑ "ย้อนลิสต์ละคร "ญาญ่า อุรัสยา" ครบรส เฉียบ! ทุกบทบาท". ช่องสาม. 2022-07-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-28. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
- ↑ "นก จริยา" ชี้ "บ้านก้านมะยม" รอกระแส". ปีที่ 21. ฉบับที่ 7490: ข่าวสด. 2011. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "ญาญ่า-อุรัสยา กับเพื่อนซี้ล่องหน". ที่นี่.คอม. 2009-02-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-02. สืบค้นเมื่อ 2022-12-27.
- ↑ "ทีวีธันเดอร์เล็งเคเบิลปีหน้า ทุ่ม230ล.ผลิตรายการเพิ่ม". ผู้จัดการออนไลน์. 2009-07-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-12-27.
- ↑ 20.0 20.1 พุสดี สิริวัชระเมตตา (2012-05-22). "คุยนอกรอบนางเอกฮอต ญาญ่าอุรัสยา เสปอร์บันด์". โพสต์ทูเดย์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.
- ↑ "'ญาญ่า' เขินกุ๊กกิ๊ก 'โฬม-ต๊ะ' หลีก 'พลอย' ขอโกยสงสาร". ไทยรัฐ. 2010-07-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
- ↑ ""ญาญ่า"ดาวเด่นวิก3 เป็น"นางเอก"ได้เพราะ"แม่"". ข่าวสด. 2010-08-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
- ↑ "สาวนอร์เวย์หัวใจไทย !! ญาญ่า อุรัสยา". สนุก.คอม. 2010-08-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
- ↑ "ญาญ่า นางเอกมาแรง จากละคร กุหลาบไร้หนาม". เอ็มไทย. 2010-07-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
- ↑ "ฟินจิกหมอนกันถ้วนหน้า "ณเดชน์-ญาญ่า" กลับมาแล้วในซีรีส์ สี่หัวใจแห่งขุนเขา". คมชัดลึก. 2020-04-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-28. สืบค้นเมื่อ 2023-02-28.
- ↑ "ดวงใจอัคนี แรง ญาญ่า งานล้นมือ". กระปุก.คอม. 2020-11-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
- ↑ "บรรยากาศงานประกาศผลรางวัลท็อปอวอร์ดส์ ปี 2010". สยามโซน.คอม. 2011-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-03-31.
- ↑ "ผลรางวัล สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2011". กระปุก.คอม. 2011-07-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-03-31.
- ↑ "ญาญ่า" ทำการบ้านหนัก เหตุ! "ตะวันเดือด" โตกว่าวัยตัวเอง .hunsa.com
- ↑ "'ญาญ่า' โล่งอกสวยดุถูกใจคอละครตอกย้ำชัดๆ 'ณเดชน์' แค่เพื่อนสนิท?!". ไทยรัฐ. 3 กันยายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "'ตะวันเดือด'โกยเรตติ้ง-หมดลุ้นทำภาค2 จำเป็นขายหล่อ'หมาก-โป๊ป'สนองคนดู". บันเทิงดารา. 13 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รายการ เปิดกองวิก 3 ตะวันเดือด" ช่องสาม วันที่ 6 สิงหาคม 2554
- ↑ "เทปบันทึกการประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 3" วันที่ 20 พฤษภาคม 2555 ทางช่อง 7
- ↑ "ญาญ่าปลื้มแอนทองชมเล่นละครดี". เสียงใต้รายวัน. 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ณเดชน์ - ญาญ่า น่ารักซะ เม้าท์เบื้องหลังละคร เกมร้ายเกมรัก". กระปุกดอตคอม. 24 พฤศจิกายน 2554. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เอแบคโพลล์ ชี้ สุดยอดดาราชายต้อง"ณเดชน์"หญิงต้อง"แพนเค้ก-อั้ม"สุดยอดละคร"เกมร้ายเกมรัก"". เสียงใต้รายวัน. 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เปิดโผเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26". กระปุกดอตคอม. 2 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 ประจำปี 2554". สยามรัฐ. 7 มีนาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล 'สยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2012'". วอยซ์ทีวี. 16 มิถุนายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-15. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""ณเดชน์ คูกิมิยะ" กับตำแหน่งเจ้าพ่อพรีเซ็นเตอร์ และตัวเลข 100 ล้านบาท!". MGR Online. 4 เมษายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "10 ดาราสุดฮอตเจ้าพ่อ เจ้าแม่พรีเซนเตอร์". สนุกดอตคอม. 26 ธันวาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ปรากฏการณ์ "ญาญ่า"". โพสซิชั่นนิง. 8 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ปัดฝุ่นละครเก่าฉายซ้ำเอาใจคอละคร komchadluek.net
- ↑ คอลัมน์ ทีวีสีรุ้ง : ครึ่งๆ กลางๆ เก็บถาวร 2012-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน komchadluek.net
- ↑ ปิยนุช รัตนานุกูล, วิจารณ์ละครทีวี : 5 ช็อตเด่นในละครธรณีฯ กรุงเทพธุรกิจ 20 สิงหาคม 2555
- ↑ "ณเดชน์ - ญาญ่า คว้า รางวัลเมขลา 2556 เดวิด - ต่าย ซิวตุ๊กตาทอง". กระปุกดอตคอม. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""แรงเงา" ช่อง 3 กวาดเรียบ "ท็อปอวอร์ด 2012"". MGR Online. 14 กุมภาพันธ์ 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-22. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "'ญาญ่า' เป็นปลื้มพากย์การ์ตูน 'ซุปเปอร์ฮีโร่ฯ'". ไทยรัฐ. 28 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ความลับแตก! ชิน ชินวุฒ เปิดตัว ญาญ่า สาวคนใหม่". สนุกดอตคอม. 29 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "อั้ม โคจรประชัน "ญาญ่า" ครั้งแรก "หนุ่ม" ร้ายสุดขั้ว เพิ่มความแซบ - โหมโรง". เดลินิวส์. 7 เมษายน 2556. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ""ปอ-ญาญ่า" นำทีมนักแสดงเปิดตัวละคร "ดาวเรือง" เวอร์ชันล่าสุด". ดาราเดลี. 1 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เธอทำได้ "ญาญ่า" เปรี้ยง". ดาราเดลี. 17 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ญาญ่า" เหมาะทโมน โปรยเสน่ห์ "ดาวเรือง" หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 6 กรกฎาคม 2556
- ↑ "'ญาญ่า' แก่นแสบป่วนจอจับคู่'ปอ'ได้บทแนวถนัด - โหมโรง". นิวพลัส. 21 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "10 อันดับละครไทย เรตติ้งสูงสุดประจำปี 56". Postjung. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ดาวเรือง' ละครน้ำดีช่อง 3 สะท้อนอะไรสังคมไทย???". มีเดียมอนิเตอร์. 14 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""แอน" ผุดแอนิเมชั่น "เตือนภัยหญิง" ดึง 3 นางเอกลง "ซุปเปอร์ฮีโร่ สวยช่วยได้"". นิวพลัส. 16 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ซีรีส์ฟอร์มยักษ์แห่งปี ไรซิ่งซัน รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน และ รอยฝันตะวันเดือด" รายการโต๊ะข่าวบันเทิง วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ↑ ""จ๋า" เครียดละครเรตติ้งฟุบ". ดาราเดลี่. 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ไรซิงซัน ASTV ผู้จัดการออนไลน์". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 14 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รอยรักหักเหลี่ยมตะวัน ละครตลกสำหรับคนที่รู้จักญี่ปุ่นจริง ๆ". Marumura. 11 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "สถานทูตญี่ปุ่นยก "The Rising Sun Series" เป็นละครยอดเยี่ยมแห่งปี 2014". ดาราเดลี่. 22 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เจมส์จิ - ญาญ่า คู่จิ้นใหม่ "หนึ่งในทรวง"". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 17 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""ป้าแจ๋ว" เคลียร์ ดราม่า! หนึ่งในทรวง "คุณหนึ่ง" ทำไมกลับจากฝรั่งเศสโดยรถไฟ??". ทีนิวส์. 6 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เจมส์ ประกบ ญาญ่า ประชันฝีมือครั้งแรกกับละครพีเรียดย้อนยุคใน หนึ่งในทรวง". Thaiticketmajor. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิดกล้อง! ละครชีวิตเข้มข้นเรื่อง "คลื่นชีวิต" ญาญ่า-หมาก ปริญ จับคู่แสดงนำ". มติชน. 7 เมษายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "สงครามทีวีลุกเป็นไฟ มาลีนนท์ - โมโน รุมเขย่าบัลลังค์ เสี่ยปัญญา". ทีนิวส์. 9 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เลิกแบ๊ว-แซบเวอร์ "คลื่นชีวิต" ของ "ญาญ่า" ในวันที่ก้าวข้าม Comfort Zone". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 4 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ญาญ่า ใน คลื่นชีวิต พลิกบทสุดปัง ร้ายมาร้ายกลับไม่โกง!". สนุกดอตคอม. 24 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ญาญ่า โชว์ฮิปฮอป! ควง เวย์ Thaitanium ปล่อยเพลง "Make it Happen"". sanook. 22 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ชาร์ตเพลง "เมกอิตแฮปเพน"". 23 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศรางวัลสุดยอดโฆษณายอดนิยมบนเวที Youtube Day 2018". thumbsup. 20 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "น้อง.พี่.ที่รัก". มติชน. 2018-05-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "5 อันดับหนังไทยทำรายได้สูงสุดประจำปี 2561". นิวทีวี. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "รีวิว น้อง.พี่.ที่รัก : เตรียมตัวมาฮา..แต่กลับต้องเสียน้ำตาซะงั้น". โพสต์ทูเดย์. 2018-05-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "น้อง.พี่.ที่รัก หนังที่คุณห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง". บูมแชนแนล. 2018-05-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "ผลรางวัล "สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 28" มะลิลา คว้า 7 สาขา, เวียร์-ญาญ่า ได้นักแสดงนำ". สนุกดอตคอม. 2019-03-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
"ผลงานประกาศรางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 9 ประจำปี 2562". ทรูไอดี. 2019-04-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24. - ↑ "สรุปผลรางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 27 ประจำปี 2561". Nangdee. 2019-04-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
"มาทำความรู้จักรางวัลเพื่อหนังไทย STARPICS THAI FILM AWARDS". Plotter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24. - ↑ "นาคี ๒ สร้างปรากฏการณ์ 4 วันรายได้ทะลุ 218 ล้านบาท!". เดอะสแตนดาร์ด. 2018-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-05. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "หนังไทยจากเรื่องละ 10 ล้านบาท มาเป็น 44 ล้านบาทได้อย่างไร?". มาร์เกตเทียร์. 2019-01-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "รู้หรือไม่? 20 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลมีเรื่องอะไรบ้าง". แบไต๋. 2020-06-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-12. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "'ญาญ่า'ท้าฝีมือ3ตัวละคร 'กลิ่นกาสะลอง'ประชัน'เจมส์'". ข่าวสด. 2019-06-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "ถอด 4 คาแรกเตอร์ใน 'กลิ่นกาสะลอง' ญาญ่าแสดงเป็นใคร ทำไมคนชมกันทั่วบ้านทั่วเมือง". เดอะสแตนดาร์ด. 2019-07-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
- ↑ "สรุปรายชื่อผู้เข้าชิงนาฏราช ครั้งที่ 11 กรงกรรม-รักฉุดใจนายฉุกเฉิน เข้าชิงสูงสุด ไร้ชื่อเบลล่า-ใหม่ เจริญปุระ". เดอะสแตนดาร์ด. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-21. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
"โผเข้าชิง 'คมชัดลึก อวอร์ดครั้งที่ 16' เพลงไทยสากล-หนัง-ละคร". คมชัดลึก. 2020-02-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24.
"เปิดโผผู้เข้าชิง โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 34 รางวัลนักแสดงนำหญิงดีเด่น พร้อมฟาดทุกคน!". เดอะบางกอกอินไซด์. 2020-02-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-11-24. - ↑ สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2021-02-25). "ญาญ่า อุรัสยา รับบทเจ้าหญิงดิสนีย์คนใหม่ใน Raya and The Last Dragon ฉบับพากย์ไทย พร้อมออกตามหามังกรตัวสุดท้าย 4 มีนาคมนี้". เดอะสแตนดาร์ด. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "GDH แถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์ 'FAST & FEEL LOVE เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ'". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-03-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-18. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "ส่องรายได้เปิดตัววันแรก หนังจีดีเอช "Fast and Feel Love" บอกเลยว่า..อาการหนัก". ทรูไอดี. 2022-04-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "'โอ๊ยเล่าเรื่อง'เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ(Fast & Feel Love)". แนวหน้า. 2022-04-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-22. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "รีวิว 'Fast and Feel Love เร็วโหดเหมือนโกรธเธอ' หนังแอ็กชั่นที่บอกว่าเป็นผู้ใหญ่ชีวิตต้องสู้". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 2022-04-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "NEWS NYAFF reveals opening film, Urassaya 'Yaya' Sperbund named Rising Star (exclusive)". สกรีนเดลี. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ ""คือเธอ" ละครใหม่ของผู้จัด "แอน ทองประสม" จับคู่ "มาริโอ้-ญาญ่า" ประเดิมเคมีใหม่". สนุกดอตคอม. 2020-06-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ "มาริโอ้-ญาญ่า พาละคร คือเธอ ครองอันดับ 1 เรตติ้งตอนจบ 4.1 สูงสุดของช่อง 3 ในปีนี้". เดอะสแตนดาร์ด. 2022-09-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ ""ญาญ่า-โดนัท" กู้ชีพทีมหมูป่าในซีรีส์ "ถ้ำหลวง: ภารกิจแห่งความหวัง"". เดลินิวส์. 2022-07-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-28. สืบค้นเมื่อ 2022-11-25.
- ↑ 5 ภาษาที่ญาญ่ารัก. ฉบับที่ 43: นิตยสารไอเก็ตอิงลิช. 2012. p. 40 สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ รายการ 3 แซ่บ ช่อง 3 วันที่ 4 กันยายน 2556
- ↑ บัวขาว+ญาญ่า นำทัพคนไทยส่งใจเชียร์โอลิมปิก. ฉบับที่ 707: นิตยสารสุดสัปดาห์. 2012. p. 113. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ 97.0 97.1 หนังสือในตู้เย็นของญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์. ฉบับที่ 972: นิตยสารขวัญเรือน. 2012. p. 162. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ An Open Book of Urassaya. ฉบับเดือนมีนาคม: นิตยสารแอลเกิร์ล. 2016. p. 16. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ ญาญ่า บอกว่าสาว ๆ 20's ใช้ชีวิตแบบนี้. ฉบับที่ 223: นิตยสารคลีโอ. 2015. p. 162 สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
- ↑ "9 ปี "ณเดชน์ -ญาญ่า" กำเนิดคู่จิ้น NY ในละคร สู่ความรักในชีวิตจริง". WorkpointTODAY. 2019-11-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-24.
- ↑ "ณเดชน์ คูกิมิยะ และ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ เปิดเผยเรื่องราวความสัมพันธ์และมุมมองความรักในรายการ On That Day EP.23". เดอะสแตนดาร์ด. 2022-11-04. สืบค้นเมื่อ 2023-06-06.
- ↑ "กรี๊ด! "ณเดชน์" สวมแหวนขอ "ญาญ่า" แต่งงานแล้ว โรแมนติกมาก". สนุก.คอม. 2023-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-06-05.
- ↑ "บ้านก้านมะยม". ช่อง 3. 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-24.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อุรัสยา เสปอร์บันด์ |