ประทีป ม. โกมลมาศ

ภราดา ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ เป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีคุณธรรม อุทิศตนทำงานด้านการบริหารการศึกษา จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ[1]

ภราดา ดร.

ประทีป ม. โกมลมาศ

ภราดา ดร. ประทีป ม. โกมลมาศ
เกิด18 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักบริหารการศึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวัติ แก้

วัยเยาว์ แก้

ภราดา ดร. ประทีป ม. โกมลมาศ เป็นบุตรคนเดียวของนายสวัสดิ์ กับนางสังเวียน(สกุลเดิม สุขชัยศรี) ชมจินดา ท่านเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เวลาบ่ายสามโมง แต่ครูที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลลงวันที่ผิดเป็นวันที่ 22 ธันวาคม จึงได้ใช้วันนี้เป็นวันเกิดทางการจนถึงปัจจุบัน

เนื่องจากบิดาของท่านต้องไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัด จึงฝากย่าของท่านคือนางสร้อย ชมจินดา เป็นผู้เลี้ยงดู ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ย่าของท่านเป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก จึงได้ปลูกฝังคำสอนคาทอลิกให้ท่านประจำ และพาท่านไปโบสถ์ทุกเช้า อ่านคัมภีร์ไบเบิลให้ฟัง เมื่ออายุได้ 13 ปีเศษ ระหว่างศึกษาอยู่ชั้น ป. 7 ท่านจึงได้รับศีลล้างบาป มีศาสนนามว่า "มาร์ติน เดอ ตูร์"

ประสบการณ์ทำงาน แก้

ภราดา ประทีป ม. โกมลมาศ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แล้วได้ตัดสินใจสมัครเป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ทางคณะได้ส่งท่านไปศึกษาอบรมที่นวกสถานของคณะในเมืองกุนนูรและเมืองอุทคมันทลัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย จนได้ปฏิณาณตนเป็นนักบวชเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2497[2] จากนั้นท่านได้เข้าศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่วิทยาลัยโลโยลา มหาวิทยาลัยมัทราส จบการศึกษาแล้วกลับมาประเทศไทย ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา แล้วย้ายไปโรงเรียนเซนต์หลุยส์ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และเป็นอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (พ.ศ. 2511-2517) ตามลำดับ แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการเจ้าคณะแขวงในปี พ.ศ. 2517[3]

เมื่อตำแหน่งเจ้าคณะหมดวาระ ท่านได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ใน 2 สาขา คือ International Development Education และ Social Sciences in Education แล้วศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ Southeast Asia Interdisciplinary Development Institute ประเทศฟิลิปปินส์ ในสาขา Organization Development จนจบปริญญาเอกเมื่ออายุ 50 ปี

ต่อมาภราดา ดร. ประทีป ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญอีกหลายตำแหน่ง เช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (พ.ศ. 2521-2545) นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2538–2540) เป็นต้น

ตำแหน่งปัจจุบัน แก้

  • อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • นายกสมาคมสภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

  •   เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2536 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 3
  •   ฝรั่งเศส :
    • พ.ศ. 2548 –   เครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มวิชาการ ชั้นที่ 1

อ้างอิง แก้

  1. "คำสดุดีเกียรติคุณ ภราดา ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ ในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-13.
  2. ประวัติส่วนตัว, มูลนิธิโกมลมาศ
  3. "20 Unknown stories about Brother Martin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2015-01-13.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๙, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๔๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔