มีชัย กิจบุญชู
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ป.ภ. | |
---|---|
![]() | |
อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 | |
ก่อนหน้า | ยวง นิตโย |
ถัดไป | เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู 25 มกราคม พ.ศ. 2472 จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม |
เชื้อชาติ | ไทย |
บิดา | ยอแซฟ ยู่ฮง กิจบุญชู |
มารดา | มารีอา เคลือบ กิจบุญชู |
ที่อยู่ | บ้านฮับราฮัม (สามพราน) |
ศาสนา | คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก |
พื้นเพแก้ไข
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกิดวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ณ หมู่บ้านโบสถ์นักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเป็นบุตรของ ยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู มีพี่น้องทั้งหมดแปดคน เป็น ชายเจ็ดคน เป็นหญิงหนึ่งคน ตนเป็นบุตรคนที่ห้าของครอบครัว
การศึกษาแก้ไข
- พ.ศ. 2478 ถึง พ.ศ. 2483 — เรียนที่โรงเรียนนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จบชั้นประถมปีที่ 4
- พ.ศ. 2483 — เรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร (เซมินารีพระหฤทัย) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ชั้นมัธยมปีที่ 1 (เรียนไม่จบ เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน จึงย้ายไปเรียนที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง)
- พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2487 — เรียนที่เซมินารีพระหฤทัยบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเวลา 4 ปี จบชั้นมัธยมปีที่ 4
- พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2490 — เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี จบชั้นมัธยมปีที่ 6
- พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2496 — เป็นครูที่เซมินารีพระหฤทัย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สอนเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับตำแหน่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร
- พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2502 — เรียนที่วิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม จบปริญญาโท สาขาปรัชญาและเทววิทยา ได้รับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่เซมินารีโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม โดยพระคาร์ดินัลเกรโกรีโอ ปีเอโตร อากาจาเนียน
ตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆแก้ไข
เขตมิสซังกรุงเทพฯแก้ไข
- วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2505 — ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการโบสถ์พระนามกรเยซู ตำบลโรงช้าง อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2505 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 — ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการโบสถ์นักบุญลูกา ตำบลบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
- เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2508 — ได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
- วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 — ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาอัครมุขนายกเขตมิสซังกรุงเทพฯ
- เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2508 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2516 — ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการเซมินารีนักบุญยอแซฟ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยแก้ไข
- พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
- พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
- นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภาประมุขบาทหลวงฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน
กรุงโรมแก้ไข
- ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวงประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical Missionary Societies for the Propagation of the Faith )
- นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล พระคุณเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ
- วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงิน และเศรษฐกิจของสันตะสำนัก 4”
เหตุการณ์สำคัญในชีวิตแก้ไข
- 3 มีนาคม ค.ศ.1973
ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
- 3 มิถุนายน ค.ศ.1973
ได้รับการอภิเษกเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ได้รับการอภิเษกที่เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย เป็นผู้อภิเษก
- ค.ศ.1979 - 2001
เป็นประธานสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพอินโดจีน เช่น เขมร เวียดนาม ซึ่งเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนหลายแสนคน จนกระทั่งปัจจุบัน ยังช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้อยู่ และได้ขยายความช่วยเหลือไปยังประเทศกัมพูชา
- ค.ศ.1982
ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดประชุมสหพันธ์สภามุขนายกแห่งเอเชีย (เอฟเอบีซี) ครั้งที่ 4 ที่เซมินารีแสงธรรม สามพราน นครปฐม ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก มีพิธีสหบูชามิสซา ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ด้วย
- 30 ธันวาคม ค.ศ.1982
สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 มีพระสมณสาส์นแจ้งเป็นการภายในให้ทราบว่าจะทรงแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของคณะพระคาร์ดินัลแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983
- 5 มกราคม ค.ศ. 1983
มีประกาศอย่างเป็นทางการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล (นับเป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกของประเทศไทย)
- 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983
พิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม นครรัฐวาติกัน ท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสต์ศาสนิกชน โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงประจำโบสถ์นักบุญลอเรนซ์ในปานิสแปร์นา (Cardinal-Priest of San Lorenzo in Panisperna)[1]
- 10-11 พฤษภาคม ค.ศ.1984
เป็นประธานคณะกรรมการจัดการพิธีรับเสด็จ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายรัฐบาล
- 20 ธันวาคม ค.ศ.1984
ฉลองครบรอบ 25 ปีแห่งการบวชเป็นบาทหลวง (หิรัญสมโภช)
- 3 มิถุนายน ค.ศ.1998
ฉลองครบรอบ 25 ปีในการดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
- 3-12 มกราคม ค.ศ. 2000
ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดประชุมสหพันธ์สภามุขนายกแห่งเอเชีย (เอฟเอบีซี) ในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 3-12 มกราคม ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน นครปฐม
- 9 มกราคม ค.ศ. 2000
ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดงานฉลองฝ่ายศาสนจักรคาทอลิกในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระชนมายุครบ 72 พรรษา และโอกาสฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ ณ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
- มกราคม ค.ศ.2000
โอกาสครบรอบ 100 ปี โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ พระคาร์ดินัลได้พัฒนาปรับปรุงโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ให้ทันสมัยและสามารถให้บริการผู้ป่วยให้ มีคุณภาพยิ่งขึ้น และวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2000 เวลา 14.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอาคารร้อยปีบารมีบุญซึ่งเป็นอาคารสูง 24 ชั้น
- 5 มีนาคม ค.ศ. 2000
ร่วมพิธีสถาปนาบาทหลวงนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน ท่านในฐานะเป็นผู้เสนอเรื่องนี้เป็นผู้กล่าวรายงานต่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 นับเป็นความภาคภูมิใจและเกียรติสำหรับคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เขตมิสซังกรุงเทพฯ และโบสถ์นักบุญเปโตร สามพราน
- 15 กันยายน ค.ศ. 2001
เสกอาคารร้อยปีบารมีบุญ (ตึกใหม่ 24 ชั้น) โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
- 8 มิถุนายน ค.ศ.2003
เปิดสักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง และบวชบาทหลวง
- 5-25 เมษายน ค.ศ. 2005
ร่วมพิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 และในฐานะพระคาร์ดินัล ได้เข้าร่วมการเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ (สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16) ประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตรเป็นลำดับที่ 265
- 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008
ฉลองครบรอบ 25 ปีแห่งสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน
- 16 พฤษภาคม ค.ศ.2008
เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 “อัล ลิมินา” (ad Limina Apostolorum) ร่วมกับสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย (10 เขตมิสซังในประเทศไทย)
- 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2009
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้อนุมัติการลาเกษียณของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
- 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016
เมื่อพระคาร์ดินัลเปาลู เอวาริสตู อาร์นส์ มรณภาพ พระคาร์ดินัลมีชัยจึงกลายเป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงที่อาวุโสที่สุด (Cardinal Protopriest)[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Michael Michai Cardinal Kitbunchu". Catholic-Hierarchy. 11 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "A new protopriest as Paul VI has one cardinal left". In Caelo et in Terra. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒๓ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑ ลำดับ ๖
ก่อนหน้า | มีชัย กิจบุญชู | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล | ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ((สมัยที่ 1) พ.ศ. 2522 — พ.ศ. 2525 (สมัยที่ 2) พ.ศ. 2528 — พ.ศ. 2534 (สมัยที่ 3) พ.ศ. 2537 —พ.ศ. 2540 (สมัยที่ 4) พ.ศ. 2543 — พ.ศ. 2549) |
ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค (หลังสมัยที่ 1) ยอร์ช ยอด พิมพิสาร (หลังสมัยที่ 2-4) | ||
ยอแซฟ ยวง นิตโย | อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2552) |
ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช |