มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว

มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว เป็นมหกรรมคอนเสิร์ตเพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของวงคาราบาว โดยทางวงร่วมกับ วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ และ เฟรชแอร์ เฟสติวัล โดยนายวินิจ เลิศรัตนชัย ร่วมกันจัด โดยมีการแถลงข่าวครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ และครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ห้องฉัตรา บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ (ด้านหลังสยามพารากอน) [1] ซึ่งในครั้งนี้ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้ประพันธ์เพลงใหม่ขึ้น 2 เพลงในโอกาสนี้คือ กำลังใจคาราบาว 30 ปี และ ผู้ปิดทองหลังพระ ซึ่งเป็นเพลงที่เอ่ยพระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบในปีเดียวกันนี้[2]

มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว
คอนเสิร์ตมหกรรมดนตรีฉลองครบรอบ 30 ปีของวงโดยคาราบาว
ไฟล์:Carabao-30th-logo.jpg
สัญลักษณ์ของมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว
สถานที่จัดทั่วประเทศ
อัลบั้มกำลังใจคาราบาว 30 ปี
วันเริ่มต้นการแสดง19 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันสิ้นสุดการแสดง26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จำนวนรอบแสดง94
โปรดิวเซอร์เฟรชแอร์ เฟสติวัล (วินิจ เลิศรัตนชัย)
ลำดับคอนเสิร์ตของคาราบาว

โดยตลอดทั้งปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นปีที่คาราบาวตั้งวงมาครบรอบ 30 ปีนั้น ทางวงจะไม่เล่นดนตรีในสถานบันเทิงทั่วไป แต่จะจัดมหกรรมคอนเสิร์ตดนตรีครั้งใหญ่ตลอดทั้งปี โดยสมาชิกคาราบาวยุคคลาสสิกไลน์อัพได้ร่วมทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย ขาดเพียงเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ

กิจกรรมหลัก

แก้

มหกรรมดังกล่าว จะจัดตลอดปี พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย

ไฟล์:Carabao velodrome return.jpg
บรรยายกาศคอนเสิร์ตในรอบแรก

คาราบาว เวโลโดรม รีเทิร์น คอนเสิร์ต (CARABAO VELODROME RETURNS CONCERT)

แก้

คอนเสิร์ตทำโดยคนไทย ครั้งที่ 2 หรือ คาราบาว เวโลโดรม รีเทิร์น คอนเสิร์ต ณ เวโลโดรม ศูนย์กีฬาหัวหมาก ในวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นครั้งแรกของคอนเสิร์ตใหญ่ของคาราบาวที่ไม่มีการเปิดขายบัตร โดยผู้ชมสามารถรับบัตรได้จากกิจกรรมของผู้สนับสนุนคอนเสิร์ต จนทำให้เกิดเสียงเรียกร้องขายบัตรจากทางแฟนเพลง จนมีการจัดตั้งกลุ่มกันทาง Facebook ทำให้ทางผู้จัดต้องเปิดรอบที่ 2 ขึ้นในวันต่อมา คือ วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม โดยจำหน่ายบัตรใบละ 1,000 บาท ทุกที่นั่ง จำนวนรอบละ 5,000 ที่นั่ง เริ่มจำหน่ายบัตรวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม ที่ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)[3] รวมรายได้ทั้งหมด 5 ล้านบาท มอบให้กับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีนายดิสธร วัชโรทัย เป็นผู้แทนพระองค์รับมอบ และแบ่งไปช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น 1 ล้านบาท

สมาชิกคาราบาวยุคคลาสสิกไลน์อัพขึ้นคอนเสิร์ตครั้งนี้ด้วย ขาดเพียงเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ คอนเสิร์ตครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนกับการแก้ตัวของคอนเสิร์ตทำโดยคนไทยที่เล่นไม่จบเมื่อต้นปี พ.ศ. 2528 ณ สถานที่เดียวกัน[4]

รายชื่อเพลง

แก้
  1. ผู้ปิดทองหลังพระ
  2. เมดเล่ย์ทำโดยคนไทย
    1. รอยไถแปร
    2. เมด อิน ไทยแลนด์
  3. ลูกแก้ว
  4. ลูกหิน
  5. นางงามตู้กระจก
  6. เรฟูจี
  7. เมดเล่ย์ยุคบุกเบิก
    1. มนต์เพลงคาราบาว
    2. ลุงขี้เมา
  8. หนุ่มสุพรรณ
  9. ปลาใหญ่ ปลาน้อย
  10. แป๊ะขายขวด
  11. ท.ทหารอดทน
  12. กัญชา
  13. ถนนชีวิต
  14. ขี้เมาใจดี
  15. คนนิรนาม
  16. พ่อ
  17. สัญญาหน้าฝน
  18. เฒ่าทะเล
  19. บิ๊กสุ
  20. เมดเล่ย์โฟล์ค
    1. ผู้เฒ่า
    2. ไม้ไผ่
    3. ฝ่าลมฝน
  21. คนเก็บฟืน
  22. ตุ๊กตา
  23. ทับหลัง
  24. คาราบาวเมดเล่ย์
    1. สามช่าคาราบาว
    2. วณิพก
    3. ราชาเงินผ่อน
    4. คนจนผู้ยิ่งใหญ่
    5. รักทรหด
    6. ซาอุดร
    7. เวลคัม ทู ไทยแลนด์
    8. หลวงตา
    9. ปาปาย่า ป๊อก ๆ
    10. หลวงพ่อคูณ
    11. กระถางดอกไม้ให้คุณ
    12. กำนันผู้ใหญ่บ้าน
    13. สุรชัย 3 ช่า
    14. พ่อหลี
    15. คนหนังเหนียว
    16. หลงวัฒน์
    17. สามัคคีประเทศไทย
  25. ทะเลใจ
  26. คนล่าฝัน
  27. เจ้าตาก
  28. บัวลอย
  29. ตามรอยพ่อ

คาราบาว โอพอค (CARABAO OPOC)

แก้

การจัดแสดงคอนเสิร์ตใน 76 จังหวัดของประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีแอร์โดมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งแฟนเพลงคาราบาวทั่วประเทศจะสามารถชมคอนเสิร์ตของคาราบาวในมาตรฐานเดียวกันกับคอนเสิร์ตระดับโลก และจำกัดจำนวนผู้เข้าชมไว้เพียงจังหวัดละ 5,000 คน ต่อ 1 รอบ โดยเริ่มจังหวัดแรกคือ สุพรรณบุรี ในวันที่ 1 เมษายน

คาราบาว เวิลด์ทัวร์ (CARABAO WORLD TOUR)

แก้

การทัวร์คอนเสิร์ตใน 6 ประเทศทั่วโลก เพื่อเป็นการขอบคุณแฟนเพลงของคาราบาวในต่างประเทศ รวมทั้งเผยแพร่งานเพลงที่มีความเป็นไทย และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคาราบาว ด้วยโปรดักชั่นมาตรฐานเดียวกับวงดนตรีระดับโลก โดยเริ่มในเดือนกันยายน

คาราบาว นิว เยียร์ เอกซ์โป (CARABAO NEW YEAR EXPO)

แก้

การจัดมหกรรมบันเทิงเกี่ยวกับวงดนตรีครั้งแรกของประเทศไทย โดยเป็นการบันทึกเรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของคาราบาวตลอดระยะเวลา 30 ปี และมีการแสดงคอนเสิร์ตโดยวงคาราบาวทุกวัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีรูปแบบแตกต่างกัน มีระยะเวลาการแสดงตลอดหนึ่งสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 21 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 [5]ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[6] ภายใต้คอนเซปท์ "ฟื้นฟูกายใจ ต้อนรับปีใหม่" โดยแต่ละโซนจะมีพื้นที่ที่ใช้ชื่อเพลงของคาราบาวเป็นชื่อสถานที่ และผู้เข้าชมสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู ยกเว้นคอนเสิร์ต [7]

  • โซน EXHIBITION
    • ตามรอยพ่อ : นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยนิทรรศการศิลปะยาตรา "ภาพพระภูมิฟ้า น้อมโน้มโลมดิน" โดย ธีระพันธุ์ ลอไพบูลย์(อ.กวง) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    • ผู้ปิดทองหลังพระ : การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานร่วมบริจาคทุนทรัพย์เป็นของขวัญผ่าน 9 มูลนิธิในโครงการตามพระราชดำริ
    • นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ : การแสดงประวัติและผลงานเพลงของวงคาราบาว จากจุดเริ่มต้นก่อนจะก้าวสู่ตำนานของวงดนตรีเพื่อชีวิตตลอดกาล
    • มนต์เพลงคาราบาว : การแสดงภาพถ่ายในอดีตของสมาชิกวงคาราบาวที่สะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่น และนวัตกรรมต่างๆ
  • โซน CONTEST
    • คนล่าฝัน : กิจกรรมการประกวด Chang Iconic Contest
  • โซน ACTIVITY
    • สามัคคีประเทศไทย : เกมลุ้นรับของรางวัลมากมายจากไทยประกันชีวิต
    • มหา'ลัย : การเปิดเส้นทางลัดให้กับผู้ที่สนใจในการพัฒนาฝีมือดนตรี และเติมแรงบันดาลใจจากสมาชิกวงคาราบาวที่มาแนะนำเทคนิคการเล่นดนตรีอย่างมืออาชีพ
    • คนหนังเหนียว : การฉายภาพยนตร์ที่สมาชิกวงคาราบาวได้ฝากบทบาทการแสดง อันได้แก่ เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ, เสียงเท่าฟ้าหน้าเท่ากลอง, หยุดหัวใจไว้ที่รัก และ โอ้..กุ๊กไก่
    • กระถางดอกไม้ให้คุณ : การเปิดโอกาสให้แฟนเพลงเต็มที่กับการร้องเพลงของคาราบาวแบบคาราโอเกะท่ามกลางบรรยากาศชีวิตกลางคืน
  • โซน EXPO FUN STREET
    • เวลคัมทูไทยแลนด์ : การเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกคาราบาวตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก
    • เมด อิน ไทยแลนด์ : การจำหน่ายสินค้าแฮนด์เมดและของที่ระลึกในวาระครบรอบ 30 ปี คาราบาว
  • คอนเสิร์ต

เป็นการแสดงสดของวงคาราบาวในแบบ 7 วัน 7 รูปแบบ โดยแต่ละวันจะแตกต่างกันทั้งรูปแบบเรื่องราวและเพลงที่แสดง โดยเริ่มแสดงเวลา 19.00 น. ผู้ชมสามารถเข้าชมคอนเสิร์ตโดยการร่วมสนุกจากผู้สนับสนุนต่างๆ ทุกรายเพื่อชิงบัตรชมคอนเสิร์ต หรือการซื้อบัตรชมคอนเสิร์ตราคาใบละ 1,000 บาท เพียงรอบละ 300 ใบ โดยรายได้จากการจำหน่ายบัตรมอบให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย และประโยชน์อื่นๆ

นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 24 และอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้จัดแสดงรอบพิเศษสำหรับทหารและตำรวจ เพื่อเป็นการขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ได้ช่วยเหลือประชาชนจากวิกฤติอุทกภัยอีกด้วย

คาราบาว ไฟนอล ฟินาเล (CARABAO FINAL FINALE)

แก้

เป็นคอนเสิร์ตปิดมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว และอัลบั้มกำลังใจคาราบาว 30 ปีสนามเสือป่า พระราชวังดุสิต โดยมีการเลื่อนการจัดคอนเสิร์ตถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกกำหนดจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แต่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง จึงได้เลื่อนออกไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[8] แต่ทางสำนักพระราชวังได้แจ้งผ่านบริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ว่าขอให้เลื่อนการจัดคอนเสิร์ตไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เนื่องจากทางสำนักพระราชวังต้องใช้สนามเสือป่าในการจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[9]

ก่อนแสดง ได้มีการแถลงข่าวความสำเร็จของมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว โดยมีคุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง และ ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และวินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ขึ้นกล่าวต้อนรับผู้สนับสนุน และสื่อมวลชนที่เข้าร่วมงาน พร้อมด้วยสมาชิกทั้งหมดของวงคาราบาว มาพูดถึงความประทับใจต่อมหกรรมดนตรีครั้งนี้ ในการแสดงมีสายฝนตกลงมาเป็นระยะ ๆ แต่แฟนเพลงไม่สะทกสะท้าน ในที่สุด คาราบาวก็ได้ใช้ความมันส์และความตั้งใจในการแสดงต่อสู้จนฝนหยุดตก และการแสดงก็ได้จบลงอย่างอลังการ[10]

รายชื่อเพลง [11]

  1. Overture
  2. กำลังใจคาราบาว 30 ปี
  3. เมดเล่ย์ยุคบุกเบิก
    1. มนต์เพลงคาราบาว
    2. ลุงขี้เมา
  4. หนุ่มสุพรรณ
  5. เมด อิน ไทยแลนด์
  6. ลูกแก้ว
  7. ลูกหิน
  8. นางงามตู้กระจก
  9. เรฟูจี
  10. เฒ่าทะเล
  11. ท.ทหารอดทน
  12. กัญชา
  13. สัญญาหน้า​ฝน
  14. บิ๊กสุ
  15. เมดเล่ย์โฟล์ค
    1. ผู้เฒ่า
    2. ไม้ไผ่
    3. ฝ่าลมฝน
  16. คนเก็บฟืน
  17. ตุ๊กตา
  18. ทับหลัง
  19. คาราบาวเมดเล่ย์
    1. สามช่าคาราบาว
    2. วณิพก
    3. ราชาเงินผ่อน
    4. คนจนผู้ยิ่งใหญ่
    5. รักทรหด
    6. ซาอุดร
    7. เวลคัม ทู ไทยแลนด์
    8. หลวงตา
    9. ปาปาย่า ป๊อกๆ
    10. หลวงพ่อคูณ
    11. กระถางดอกไม้ให้คุณ
    12. กำนันผู้ใหญ่บ้าน
    13. สุรชัยสามช่า
    14. พ่อหลี
    15. คนหนังเหนียว
    16. หลงวัฒน์
    17. สามัคคีประเทศไทย
  20. ทะเลใจ
  21. คนล่าฝัน
  22. เจ้า​ตาก
  23. บัวลอย
  24. ผู้ปิดทองหลังพระ
  25. ตามรอยพ่อ

หลังเสร็จมหกรรม

แก้

หลังเสร็จสิ้นการจัดมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาวไปแล้ว วงคาราบาวมีคอนเสิร์ตใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ชื่อว่า กินลม ชมบาว ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่บ้านของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยคอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม สวัสดีประเทศไทย ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดล่าสุดของวงคาราบาว จัดขึ้นในวันเกิดของแอ๊ด และเป็นครั้งแรกที่วงคาราบาวได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินตำนานร็อค­เมืองไทยที่มีฝีมือประจักษ์แก่สายตาชาวโลก­มาแล้วมากมาย เช่น แหลม มอริสัน, กิตติ กีตาร์ปืน, โอ้ - โอฬาร พรหมใจ และ ช.อ้น ณ บางช้าง โดยมีแขกรับเชิญพิเศษ คือ เสก โลโซ และโก๊ะตี๋ อารามบอย

สื่อประชาสัมพันธ์

แก้

THE JOURNEY PHENOMENON ปรากฏการณ์ 30 ปี คาราบาว

แก้

ในมหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว ยังได้มีการจัดทำรายการโทรทัศน์ "THE JOURNEY PHENOMENON ปรากฏการณ์ 30 ปี คาราบาว" โดยเป็นรายการเดินทางย้อนอดีตสู่ปัจจุบันของวงคาราบาว ในรูปแบบของการตามรอยทัวร์คอนเสิร์ตฉลอง 30 ปี เพื่อพิสูจน์ความเป็นขวัญใจตลอดกาล โดยมี นักแสดง นักร้อง พิธีกร ดีเจ ที่มีชื่อเสียง และมีความชื่นชอบวงคาราบาว มาทำหน้าที่พิธีกรนำชมในแต่ละสถานที่ เริ่มออกอากาศวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยออกอากาศในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ช่วงเวลา 15.00 - 16.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี[12]

รายชื่อตอน

ตอนที่ วันที่ออกอากาศ สถานที่ พิธีกร หมายเหตุ
1 6 เมษายน 2554 เวโลโดรม หัวหมาก ลีโอ พุฒ เบื้องหลังคอนเสิร์ตฉลอง 30 ปี
2 13 เมษายน 2554 เวโลโดรม หัวหมาก สุวิกรม อัมระนันทน์
3 14 เมษายน 2554 เวโลโดรม หัวหมาก ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม (ดีเจ เชา เชา)
4 15 เมษายน 2554 เวโลโดรม หัวหมาก ทองภูมิ สิริพิพัฒน์
5 2 พฤษภาคม 2554 จังหวัดสุพรรณบุรี นพชัย ชัยนาม เยี่ยมบ้านเกิดของ แอ๊ด คาราบาว
6 5 พฤษภาคม 2554 จังหวัดกาญจนบุรี ทราย เจริญปุระ รวมเพลงรัก
7 13 พฤษภาคม 2554 จังหวัดนครราชสีมา พลอย หอวัง สัมภาษณ์สมาชิกคาราบาวรุ่นหลัง
8 16 พฤษภาคม 2554 จังหวัดอุบลราชธานี วรฐก์ ปิฏากานนท์ (ดีเจปอ แฉแต่เช้า) สัมภาษณ์สมาชิกคาราบาวรุ่นบุกเบิก
อ.ธนิสร์ และ อ๊อด
9 17 พฤษภาคม 2554 - แมทธิว ดีน แนะนำ 5 อัลบั้มยอดเยี่ยม ยุคบุกเบิก โดย 4 นักวิจารณ์ชื่อดัง
10 15 กรกฎาคม 2554 เวโลโดรม หัวหมาก - เทปบันทึกภาพการแสดงสด คอนเสิร์ต เวโลโดรม รีเทิร์นส์
11 18 กรกฎาคม 2554 จังหวัดเพชรบุรี จิดาภา นิยมศรีสกุล รวมสุดยอดเพลงประกอบภาพยนตร์
12 12 สิงหาคม 2554 จังหวัดสงขลา กัญดา ศรีธรรมูปถัมภ์ คาราบาว เซเลเบลท
13 24 ตุลาคม 2554 ประเทศออสเตรเลีย - บรรยากาศการแสดงสด คาราบาว เวิลด์ทัวร์ และอุ่นเครื่อง คาราบาว เอกซ์โป
14 5 ธันวาคม 2554 กรุงเทพมหานคร พัสกร พลบูรณ์ เปิดใจทายาทสมาชิกคาราบาว และบทเพลงเทิดพระเกียรติ ผู้ปิดทองหลังพระ (ออกอากาศเวลา 15.00-15.30 น.)
15 12 ธันวาคม 2554 กรุงเทพมหานคร อริสรา กำธรเจริญ คุยข่าวคาราบาว 30 ปี
16 2 มกราคม 2555 กรุงเทพมหานคร แม็พ ควันธรรม บรรยากาศงาน คาราบาว นิว เยียร์ เอกซ์โป
17 3 มกราคม 2555 กรุงเทพมหานคร ไดอาน่า จงจินตนาการ สรุปมหกรรมดนตรี 30 ปีคาราบาว

อ้างอิง

แก้
  1. "เฟรชแอร์ เฟสติวัล จัดงานแถลงข่าว "เปิดตัวมหกรรมดนตรี 30 ปีคาราบาว"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-08. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  2. ประมวลภาพ...บรรยายกาศคอนเสิร์ต 30 ปี 'คาราบาว' ไทยรัฐ
  3. คาราบาว เปิดรอบพิเศษ เวโลโดรม รีเทิร์น[ลิงก์เสีย]
  4. คาราบาว เวโลโดรม รีเทิร์นส์ รอบแรกสุดประทับใจ
  5. "Event Calendar : Carabao Expo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
  6. มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว ตลอดปี 2554
  7. "30 ปี คาราบาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-15. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  8. ฉลองมหกรรมดนตรี 30 ปี คารบาว The Final Finale
  9. ขอเลื่อนการจัดงานคาราบาว The Final Finale จากสำนักพระราชวัง
  10. ปิดฉาก 30 ปี คาราบาว The Final Finale
  11. ใน DVD ยังมีอีก 11 เพลง ค​ือ ประชาธิปไตย, ควายกว่า, หัวใจบ้าบิ่น, รักต้องสู้, ลมพัดใจเพ, คนไร้ค่า, ใจไม่ด้านพอ, คนขี้โกง, หนุ่มลำมูล, พ่อ, บาปบริสุทธิ์ คาดว่าน่าจะอยู่หลังเพลงประชาธิปไตย
  12. THE JOURNEY PHENOMENON ปรากฏการณ์ 30 ปี คาราบาว[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้