โอฬาร พรหมใจ (ชื่อเล่น: โอ้; เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักดนตรีและมือกีตาร์ หัวหน้าวงดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ได้รับการยอมรับให้เป็นมือกีตาร์ฝีมือดีและมีชื่อเสียงในระดับแถวหน้าคนหนึ่งของประเทศไทย

โอฬาร พรหมใจ
ชื่อเกิดโอฬาร พรหมใจ
รู้จักในชื่อโอ้
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
ที่เกิดไทย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล
เครื่องดนตรีกีตาร์
ค่ายเพลงแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ไมล์ สโตน เรคคอร์ด
เพอร์เฟกต์ เรคคอร์ด
อดีตสมาชิกโซดา

โดยโอฬาร พรหมใจ เริ่มเล่นดนตรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 และเคยร่วมงานกับวง วีไอพี ของแหลม มอริสันในช่วงที่วง วีไอพี กลับมาจากการทัวร์คอนเสิร์ตในกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

หลังจากที่วง วีไอพี ได้ยุบตัวลง โอฬาร พรหมใจ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงดนตรีในแนวเฮฟวี่เมทัลชื่อ โซดา โดยมี ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ เป็นนักร้องนำ และมีผลงานเพลงกับค่ายแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 1 ชุด ต่อมาได้ชักชวนโป่ง ปฐมพงศ์ มาเป็นนักร้องนำวงดนตรีของตัวเองในชื่อ ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ และนับเป็นวงที่ทำให้โอฬาร พรหมใจ ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงมากที่สุด เมื่อโอฬาร หยุดวงThe O-larn Project ด้วยเหตุผลเพื่อความเหมาะสม...โป่ง ปฐมพงศ์ ไปก่อตั้งวงหิน เหล็ก ไฟ

โอฬาร พรหมใจ ได้รับการยกย่องให้เป็นนักกีตาร์ฝีมือระดับชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของไทย เช่นเดียวกับแหลม มอริสัน, กิตติ กีตาร์ปืน, ช.อ้น ณ บางช้าง, ป๊อบ - จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย, หมู คาไลโดสโคป, ชัคกี้ ธัญญรัตน์, เล็ก คาราบาว, โอม - ชาตรี คงสุวรรณ เป็นผู้ที่เล่นดนตรีด้วยการพยายามเข้าใจถึงเนื้อหาและสาระของเพลงที่จะเล่น ด้วยการตีความของตัวเอง[1]

นอกจากนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โอฬาร พรหมใจ ก็ได้แต่งเพลงบรรเลงเนื่องในวโรกาสนี้ ชื่อ พลังและความตั้งใจ ถวายแด่พระองค์ท่าน เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ซึ่งต่อมาเพลงนี้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม ประจำปีอีกด้วย

โอฬาร พรหมใจ ได้รับเกียรติ ในการเป็นผู้รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้แก่ Squier ยี่ห้อของกีตาร์ไฟฟ้าในเครือของเฟนเดอร์ของสหรัฐอเมริกาอยู่หลายปีก่อนที่จะได้รับการผลิตกีตาร์รุ่นลายเซ็น ของตัวเอง ซึ่งมีวางจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งโอฬาร พรหมใจ ยังถือว่าเป็นมือกีตาร์คนแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน ในการผลิตกีตาร์รุ่นลายเซ็นของ Squier อีกด้วยและในปี2560 ทางFender Coporation ได้ผลิตกีตาร์Fender Stratocaster O-larn Signature ถือเป็นเกียรติประวัติของคนไทยและโอฬาร [2]

ประวัติ

แก้

โอฬาร พรหมใจ เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนพานพิทยาคม และได้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะที่เพาะช่าง,โรงเรียนอาชีวศิลป์ ก่อนจะมาศึกษาต่ออีก2ครั้งที่วิทยาลัยเพาะช่าง

ในช่วงวัยเด็กโอฬาร พรหมใจ มีความสนใจทางด้านงานศิลปะและดนตรี โดยชื่นชอบเสียงเพลงที่มีท่วงทำนองที่ถูกบรรเลงด้วยเสียงกีตาร์และมีศิลปินที่ชื่นชอบคือวงดนตรีแนวบรรเลง (Instrumental) อย่างวง เดอะ ชาโดวส์ (The Shadows) โดยโอฬารเริ่มหัดเล่นกีตาร์ตั้งแต่เด็ก และได้เป็นมือกีตาร์ในคณะรำวง ออกแสดงตามสถานที่ต่างๆในขณะที่ยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยม จนเมื่อเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพและจบจากวิทยาลัยเพาะช่าง ก็ได้เข้าร่วมวง Epitaph ตระเวนเล่นคอนเสิร์ตทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด จนมีชื่อเสียงในหมู่นักดนตรีในฐานะมือกีตาร์ฝีมือดีคนหนึ่ง

ต่อมาเมื่อวง VIP ของ Lam Morrison กลับมาจากการทัวร์คอนเสิร์ตที่กลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย จึงได้ชักชวนให้โอฬาร เข้ามาเล่นกีตาร์ร่วมกับทางวง จนเมื่อสมาชิกของ VIP ต่างแยกย้ายกันออกไป โอฬาร พรหมใจ จึงได้ชักชวนเพื่อนนักดนตรีจากวง Jonathan Blues ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมาใหม่เพื่อทำเพลงไทยเป็นของตนเอง แต่เพื่อนๆบอกว่าให้มาเล่นด้วบกันก่อน โดยวงที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า Sapphire

หลังจากที่ก่อตั้งวงขึ้นใหม่ ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา ได้นำเดโมเพลงไปเสนอกับทางค่ายเพลง จนทางวงได้เซ็นสัญญากับบริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ และมีการเปลี่ยนชื่อวงเป็น โซดา (Soda) โดยมี โป่ง-ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ เป็นนักร้องนำ

วงโซดามีผลงานสตูดิโออัลบั้ม เป็นครั้งแรกชื่ออัลบั้ม คำก้อน ในปี พ.ศ. 2527 โดยมีเรวัต พุทธินันทน์ เป็นโปรดิวเซอร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย

คอนเสิร์ต

แก้
  • คอนเสิร์ต Ohm Chatree Kongsuwan & Friends : Live! Into The Light (2551)
  • คอนเสิร์ต รำลีก ชักกี้ ธัญญรัตน์ (2551)
  • คอนเสิร์ต The Memory Night Concert (2553)
  • คอนเสิร์ต พันธุ์เล (2553)
  • คอนเสิร์ต 35 ปี จรัล มโนเพ็ชร (2555)
  • คอนเสิร์ต Ohm Chatree Live 2013 The Director's Cut (2556)
  • คอนเสิร์ต กินลม ชมบาว (2556)
  • คอนเสิร์ต Music For Friend (2558)
  • คอนเสิร์ต รวมใจราชาแห่งร็อค (2562)

อ้างอิง

แก้
  1. บทสัมภาษณ์จากรายการ 108 Music ทางทีวีไทย: 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
  2. Fender Coporation