สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)

สถานีรถโดยสารทางไกลสายตะวันออก

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 บนที่ดินของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกเอกมัยใต้ (ปากซอยสุขุมวิท 63) ซึ่งเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่มีการย้ายสถานีขนส่ง และตั้งอยู่ภายในตัวเมือง

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นเอกมัย
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท, แขวงคลองตัน, เขตคลองเตย, กรุงเทพมหานคร ไทย
พิกัด13°43′09″N 100°35′02″E / 13.719142°N 100.583985°E / 13.719142; 100.583985
เจ้าของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
รัฐวิสาหกิจในกำกับของ
กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงคมนาคม
สายรถโดยสารประจำทางสายตะวันออกเลียบชายทะเล
ป้ายรถโดยสารประจำทาง26 ชานชลา
ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
การเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าบีทีเอส:
สายสุขุมวิท ที่สถานีเอกมัย
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ:
สาย 2, 25, 26ก, 72, 501, 508, 511
รถโดยสารประจำทาง รถเอกชน:
สาย 2 (3-1), 26A (1-77), 38 (3-8), 40 (4-39), 48 (3-11), 71 (1-39), 149 (4-53), 3-44, 38, 98
โครงสร้าง
ที่จอดรถมีแต่ไม่มากนัก
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมี
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2503; 64 ปีก่อน (2503-01-01)
ที่ตั้ง
แผนที่

ประวัติ

แก้

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2502 นั้น การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางนั้นไม่มีการควบคุมอย่างเป็นระบบมากนัก หากผู้ประกอบการรายได้มีเงินทุนมากพอก็สามารถนำรถยนต์โดยสารมาวิ่งให้บริการได้ อาจจะวิ่งในนามบุคคลหรือในนามบริษัท และไม่มีสัมปทานจากรัฐมาควบคุมการเดินรถ ท่ารถในขณะนั้นภาคตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเลมีจุดจอดรถบริเวณวงเวียน 22 กรกฎา โดยผู้โดยสารต้องนั่งรอบนรถหรืออาศัยร้านกาแฟบริเวณใกล้เคียงสำหรับพักคอยก่อนรถออก[1]

กระทั่งในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลได้มีการประการควบคุมเส้นทางเดินรถโดยสารที่เชื่อมโยงจากกรุงเทพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยประกาศเส้นทางระยะไกลในเขต 30 จังหวัด แบ่งออกเป็น 5 สาย ประกอบไปด้วย สายใต้ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และสายตะวันออกเลียบชายทะเล และเพิ่มจังหวัดในแต่ละสายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2503 มีเพียงสายตะวันออกและสายตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเลที่ไปจรดจนสุดเส้นทางคือจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด[2]

ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการเปิดให้บริการสถานีขนส่งที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารในระดับประเทศในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 จำนวน 3 แห่ง ซึ่งสถานีขนส่งเอกมัยเป็น 1 ใน 3 สถานีขนส่งสำหรับเป็นสถานีต้นทางรถโดยสารประจำทางสายตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเล ตั้งอยู่ที่ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงในขณะนั้น[2]

ลักษณะอาคารสถานีขนส่ง

แก้
 
ส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารในปี พ.ศ. 2555

เป็นอาคารเดี่ยว ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารจะอยู่ด้านหน้าของสถานีขนส่ง มีทางเดินไปชานชาลาด้านหลัง โดยชานชาลาแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศขั้น 1 และอีกด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศชั้น 2

เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสาร

แก้

เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสาร จะมีราคาค่าตั๋วโดยสารปรากฏอยู่บนแผ่นป้ายอย่างชัดเจน ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบราคาค่าบริการและประเภทรถที่ให้บริการได้อย่างง่ายดายในแต่ละบริษัททั้ง บขส. เองและบริษัทที่ได้รับสัมปทานเดินรถมาจาก บขส.[3]

พื้นที่พักรอ

แก้

บริเวณพื้นที่นั่งรอโดยสารเป็นรูปแบบเปิด มีพัดลมสำหรับระบายอากาศและให้ความเย็นจากอากาศที่ถ่ายเทและมีโทรทัศน์ให้รับชม รวมถึงยังมีร้านสะดวกซื้อภายในบริเวณสถานี และห้องน้ำให้บริการฟรี แต่ไม่มีกระดาษชำระ ซึ่งหากต้องการใช้สามารถซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อ[3]

ชานชาลาโดยสาร

แก้

บริเวณชานชาลาโดยสารประกอบด้วยชานสำหรับเทียบรถจำนวน 26 ชานชาลา และพื้นที่นั่งรอภายในอาคารแบบเปิดโล่ง

บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก

แก้
  • ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ : มีร้านอาหารหลากหลายประเภทและร้านสะดวกซื้อสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการซื้ออาหารและของใช้ส่วนตัวระหว่างรอรถโดยสาร
  • ห้องน้ำ : มีห้องน้ำให้บริการสำหรับผู้โดยสารภายในสถานี ที่สะอาดและมีบริการเพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสาร[4]

เส้นทางเดินรถ

แก้
 
รถโดยสารประจำทางสายที่ 52 กรุงเทพฯ - พนัสนิคม
 
รถโดยสารประจำทางสายที่ 48 กรุงเทพฯ - เอกมัย - เมืองพัทยา
 
รถโดยสารประจำทางสายที่ 36 กรุงเทพฯ - บ้านมาบตาพุด

สามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค

เส้นทางเดินรถสายตะวันออกเลียบชายทะเล
สายที่ ชื่อเส้นทางเดินรถ หมายเหตุ
35 กรุงเทพฯ - ระยอง - บ้านมาบตาพุด [5]
36 กรุงเทพฯ - บ้านมาบตาพุด
37 กรุงเทพฯ - ศรีราชา (ข)
38 กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข)
39 กรุงเทพฯ - บางคล้า
40 กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา (ข)
41 กรุงเทพฯ - ตราด (ก)
42 กรุงเทพฯ - จันทบุรี (ก)
43 กรุงเทพฯ - แกลง
44 กรุงเทพฯ - ประแสร์
45 กรุงเทพฯ - บ้านค่าย
46 กรุงเทพฯ - ระยอง (ก)
48 กรุงเทพฯ - เอกมัย - เมืองพัทยา
49 กรุงเทพฯ - บางแสน
50 กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ก)
51 กรุงเทพฯ - บ้านบึง
52 กรุงเทพฯ - พนัสนิคม
53 กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา (ก)
55 กรุงเทพฯ - บางคล้า (ก)
56 กรุงเทพฯ - พนมสารคาม
914 กรุงเทพฯ - จันทบุรี (ค)
915 กรุงเทพฯ - บ้านค่าย - แหลมแม่พิมพ์
916 กรุงเทพฯ - แกลง - บ้านแหลมแม่พิมพ์
917 กรุงเทพฯ - ตราด (ค)
969 กรุงเทพฯ - แกลง - ประแสร์
970 กรุงเทพฯ - แหลมฉบัง
9961 กรุงเทพฯ - พนมสารคาม - ศรีมหาโพธิ - นิคม 304 [6]

ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานี

แก้
 
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีเอกมัย (E7)

ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานี ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถโดยสารประจำทางท้องถิ่นที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รับส่งและเชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย

รถไฟฟ้าบีทีเอส

แก้

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท บริเวณสถานีเอกมัย (E7) โดยสามารถเดินเท้าจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปยังทางทางออก 2 ของสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย เพื่อเดินทางเข้าไปยังกรุงเทพชั้นในหรือไปยังจังหวัดสมุทรปราการ[7]

รถประจำทางหน้าสถานีขนส่ง

แก้
  •   เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

แก้
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 3
(กปด.13)
สำโรง สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
2 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2 3
(กปด.33)
  เมกาบางนา ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ส่วนใหญ่ หมดระยะ BTS อุดมสุข
25   อู่แพรกษาบ่อดิน สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
25 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
26ก 2
(กปด.12)
  อู่มีนบุรี เอกมัย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
72 4
(กปด.14)
คลองเตย เทเวศร์ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ผ่านเฉพาะ ขากลับคลองเตย
72 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
501 2
(กปด.12)
  อู่มีนบุรี   สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
501 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
508 3
(กปด.23)
  อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ สนามหลวง (ท่าราชวรดิฐ) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
511   รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน)
511 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

แก้
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1)   ปากน้ำ   สะพานพุทธ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
26A (1-77)   มีนบุรี คลองเตย ผ่านเฉพาะ ขาไปคลองเตย
38 (3-8)   ม.รามคำแหง 2   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
40 (4-39)     BTS เอกมัย   สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) ผ่านเฉพาะ ขากลับสายใต้ (ตลิ่งชัน)
48 (3-11)   ม.รามคำแหง 2 วัดโพธิ์
71 (1-39)   สวนสยาม คลองเตย บจก.ไทยสมายล์บัส
149 (4-53)     BTS เอกมัย พุทธมณฑลสาย 2 ผ่านเฉพาะ ขากลับพุทธมณฑลสาย 2
3-44   ท่าเรือคลองเตย   อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านเฉพาะ ขากลับท่าเรือคลองเตย
38 ม.รามคำแหง 2 แยกอโศกมนตรี รถโดยสารประจำทางสีขาว-น้ำเงิน บจก.ไพศิริเดินรถ
38 รถโดยสารประจำทางสีชมพู
98 อโศก   BTS อุดมสุข รถโดยสารประจำทางสีขาว-น้ำเงิน บจก.สหศรีสุพรรณยานยนต์

แผนในอนาคต

แก้

ในปี พ.ศ. 2560 หลังการเปิดตัวของโครงการ แบงค็อก มอลล์ ในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา บริษัท ขนส่ง จำกัด มีแผนก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออกแห่งใหม่ภายในโครงการนี้ โดยเป็นการขอใช้พื้นที่บางส่วนในโครงการจำนวน 5 ไร่ จากที่กลุ่มเดอะมอลล์เป็นเจ้าของที่อยู่ 100 ไร่ มาพัฒนาเป็นชานชาลาสำหรับจอดรถรับส่ง และจะพัฒนาศูนย์บริการลูกค้าภายในอาคารศูนย์การค้า โดยแนวคิดดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติและถูกให้นำกลับไปทบทวนใหม่[8]

ในปี พ.ศ. 2565 นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้ออกมาระบุถึงแผนการพัฒนาพื้นที่พาณิชย์บริเวณที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีทำเลดี เหมาะกับการลงทุนของภาคเอกชน และปัจจุบันเกิดปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากรถโดยสารประจำทางมีขนาดใหญ่ จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายสถานีขนส่งไปตั้งในพื้นที่ใหม่ มีการพิจารณาในพื้นที่บางนา เช่น ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เนื่องจากมีพื้นที่ที่กว้างขวางเพียงพอสามารถรองรับรถโดยสารประจำทางได้ ซึ่งอาจจะเข้าดำเนินการในรูปแบบของการบันทึกข้อตกลงร่วมในการแบ่งผลประโยชน์ส่วนของค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งจะศึกษาเสร็จในปี พ.ศ. 2566 และประกาศให้เอกชนร่วมลงทุนในปี พ.ศ. 2567[9]

อ้างอิง

แก้
  1. ผลานุรักษา, เมธี (2523). การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดแล้อม สำหรับสถานีเดินรถปรับอากาศสายเหนือ วิทยานิพนธ์ ภาคเอกสาร (PDF). คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  2. 2.0 2.1 "จุดกำเนิดเครือข่ายการเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง และสถานีขนส่งในกรุงเทพฯ". www.silpa-mag.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "กำลังแก้ไข สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) - วิกิพีเดีย". th.wikipedia.org.
  4. "สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) Bus Terminal Eastern (Ekkamai) | บริษัท ขนส่ง จำกัด". busticket.in.th.
  5. "หมายเลขเส้นทางเดินรถ - บขส". home.transport.co.th.
  6. Nakorn, Khon-it. "รวมข้อมูลรถตู้โดยสารประจำทางทั่วประเทศ: รถตู้และมินิบัสที่จอดสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย)". รวมข้อมูลรถตู้โดยสารประจำทางทั่วประเทศ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "BTS เอกมัย : ทำเลที่เชื่อมต่อทุกการเดินทาง และความสะดวกสบายใจกลางเมือง". DotProperty.co.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ข่าวอสังหาริมทรัพย์ | Bangkok Citismart". www.bkkcitismart.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-20. สืบค้นเมื่อ 2023-12-31.
  9. ก้อง (2022-08-24). "บขส. วางเป้าย้ายสถานีเอกมัย".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′09″N 100°35′02″E / 13.719142°N 100.583985°E / 13.719142; 100.583985