ท่าเรือกรุงเทพ

ท่าเรือขนส่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย

ท่าเรือคลองเตย หรือ ท่าเรือกรุงเทพ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2480[1] เป็นท่าเรือสำคัญของกรุงเทพมหานคร อยู่ในความดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคลองเตย ในอนาคตมีโครงการจะทำเป็น Docklands[ต้องการอ้างอิง] เพื่อพัฒนาท่าเรือกรุงเทพทั้งหมด ที่มีภูมิประเทศคล้ายกันที่ Docklands มีแม่น้ำเทมส์ไหลผ่าน และท่าเรือกรุงเทพมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านด้วยรูปลักษณ์เหมือนมังกร โค้งเว้าเป็นท้องมังกรเช่นเดียวกัน ในอดีต Docklands คือท่าเรือขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว

ท่าเรือกรุงเทพ
Bangkok Port
ท่าเรือกรุงเทพ มุมมองจากฝั่งบางกะเจ้า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศไทย
ที่ตั้งเขตคลองเตย, กรุงเทพมหานคร
รายละเอียด
เจ้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ชนิดอ่าวธรรมชาติ
พื้นที่ของที่ดินประมาณ 2,353 ไร่
เว็บไซต์
laemchabangport.com

เหตุที่มาของคำว่าท่าเรือคลองเตยมาจากสถานที่ตั้งอยู่ในย่านคลองเตยซึ่งชิปปิ้งจะเรียกกันว่าท่าเรือคลองเตย และ ชื่อที่ต่างประเทศเรียกก็คือ Bangkok Port หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า PAT (Port Authority of Thailand) ในช่วงการก่อสร้างท่าเรือพิ้นที่ละแวกใกล้เคียง มีวัดจำนวน 4 วัด คือ วัดหน้าพระธาตุ วัดทอง วัดไก่เตี้ย และวัดเงิน ต่อมาคณะกรรมการมีมติให้สร้างวัดเพิ่มบนพื้นที่คลองบ้านกล้วย โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ประทานนามว่า "วัดธาตุทอง" [2] โดยนำชื่อวัดทองกับวันหนัาพระธาตุมารวมกัน[3]

ในปี พ.ศ. 2567 ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดตัวโครงการ ดินแดนสรวงสวรรค์แห่งพระราชา (The Royal Siam Haven) โดยเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะสร้างบนพื้นที่เดิมของท่าเรือกรุงเทพและชุมชนแออัดคลองเตย[4]

ท่าเรือกรุงเทพ

อ้างอิง

แก้
  1. "กำเนิด "ท่าเรือคลองเตย" บนพื้นที่เมืองพระประแดงเก่าสมัยอยุธยา และวัดโบราณทั้งสี่". ศิลปวัฒนธรรม. 2021-12-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. https://www.silpa-mag.com/history/article_70982
  3. https://www.silpa-mag.com/history/article_55527
  4. "เปิดแผน Royal Siam Haven เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ สนามม้านางเลิ้งริมเจ้าพระยา". ไทยรัฐ. 26 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°42′13″N 100°34′32″E / 13.7037346°N 100.5754479°E / 13.7037346; 100.5754479