โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (พฤศจิกายน 2020) |
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ (พห.) (อังกฤษ: Sacred Heart Convent School (S.H.C)) เป็นโรงเรียนหญิงขนาดใหญ่ แต่จะมีนักเรียนชายในระดับอนุบาลถึงประถมด้วย แบ่งเป็นแผนกอนุบาล แผนกประถม แผนกมัธยม และมีการแยก เป็นโปรแกรมสองภาษา หรือ English Program ในส่วนนี้จะเป็นโรงเรียนสหศึกษา ที่มีนักเรียนทั้งหญิงและชายตั้งแต่เกรด 1 ถึงเกรด 12
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ Sacred Heart Convent School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พห. S.H.C. |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
คำขวัญ | ริเริ่ม รอบรู้ กตัญญู สามัคคี |
สถาปนา | พ.ศ. 2477 |
สี | ขาว-แดง |
เพลง | มาร์ชพระหฤทัย |
เว็บไซต์ | http://www.shc.ac.th/ |
ภายในโรงเรียน แก้ไข
- ซุ้มการะเวก เป็นที่นั่งพักผ่อนและทำกิจกรรม (ปัจจุบันไม่มีแล้ว)
- ลานหทัยนิรมล เป็นสนามบาสขนาดใหญ่ สำหรับทำกิจกรรมมากมาย โดยปกติแล้ว ทุก ๆ เช้านักเรียนจะเข้าแถวบริเวณนั้น
- ใต้ตึกหนึ่งศตวรรษ คณะพระหฤทัย เป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และที่เข้าแถวในตอนเช้าของนักเรียนแผนก ENGLISH PROGRAM
- ทางเดินที่นักเรียนเดิน เข้า-ออก ในทุกๆวัน
- มีตึกเรียนทั้งหมด 5 อาคาร
- มีโรงอาหาร 2 ที่คือ โรงอาหารจอห์นพอล โรงอาหารเสริมสวัสดิ์
ประวัติโรงเรียน แก้ไข
เป็นโรงเรียนแห่งแรกของคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ก่อตั้งโดยอธิการิณีเซราฟิน เดอมารี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ในระยะแรกจะสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 เท่านั้น ตอนนั้นใช้อาคารที่พักของซิสเตอร์เป็นอาคารเรียน ปี พ.ศ. 2494 โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 มีการสร้างอาคารเรียนขนาด 8x88 เมตรขึ้นเป็นอาคารเรียนหลังแรก ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนไปและสร้างอาคารสิรินเทพขึ้นแทน ในปี พ.ศ. 2508 ได้มีการสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นชื่อ ตึกดวงหทัยนิรมล และตึกพระแม่เจ้าแห่งสันติภาพขึ้น
ปี พ.ศ. 2518 มีการเปิดสอนหลักสูตรอนุบาลขึ้นเป็นครั้งแรก โดนใช้อาคารเรียนเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยา 2 ชั้นเป็นอาคารเรียน
ประวัติ มนัส ปิติสานต์ แก้ไข
มนัส ปิติสานต์ เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 เป็นนักดนตรี และนักแต่งเพลง ที่มีชื่อเสียง เกิดที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายมูล และนางจำเริญ ปิติสานต์ บิดารับราชการจึงติดตามบิดามาเรียนหนังสือที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แล้วย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเนติศึกษา ย่านราชวัตร จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ย้ายไปเรียนที่กองดุริยางค์ทหารอากาศ เป็นลูกศิษย์ของพระเจนดุริยางค์ รุ่นเดียวกับสง่า อารัมภีร, ปรีชา เมตไตรย์ และชลหมู่ ชลานุเคราะห์ และเข้ารับราชการ เป็นนักดนตรีของกองดุริยางค์ทหารอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 จนเกษียณอายุราชการ
มนัส ปิติสานต์ มีโอกาสได้ร่วมงานกับสง่า อารัมภีร และปรีชา เมตไตรย์ เล่นดนตรี และแต่งเพลงร้อง เพลงละครเวที ให้กับคณะศิวารมณ์ของหม่อมหลวงทรงสอางค์ ฑิฆัมพร ต่อมาทั้งสามท่านได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรีกระชับมิตร ในปี พ.ศ. 2520
ครูมนัส ปิติสานต์ มีผลงานแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "เสน่หา" (แต่งเมื่อ พ.ศ. 2507 ขับร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง เมื่อ พ.ศ. 2509) "เหมือนคนละฟากฟ้า" (แต่งเมื่อ พ.ศ. 2503 คำร้องโดย จงรัก จันทร์คณา ขับร้องโดยธานินทร์ อินทรเทพ เมื่อ พ.ศ. 2506) "ระฆังใจ" "คืนนั้น" "ไม่มีเสียงเรียกจากใจ" "เพื่อเธอที่รัก" "เปลวไฟรัก"
ผลงานเพลงของครูมนัส ที่เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่เพลง "พิภพมัจจุราช" (ชับร้องโดย วิเชียร ภู่โชติ ) "คืนคำรัก" "หุ่นไล่กา" "เพื่อเธอที่รัก" "ปอบผีฟ้า" "แม่นาคพระโขนง" "สิงหไกรภพ" "สี่ยอดกุมาร" "เสน่หาอาลัย" "ฝนรักฝนเศร้า" "เธอก็รู้" "ดาวพระศุกร์"
ผลงานเพลง "เหมือนคนละฟากฟ้า" ที่ครูมนัสแต่งทำนอง (คำร้องโดย จงรัก จันทร์คณา) ขับร้องโดยธานินทร์ อินทรเทพ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ 1 ประเภทนักร้องชายชนะเลิศ เพลงไทยสากล ประเภท ก ประจำปี พ.ศ. 2507
และยังได้เป็นผู้แต่ง เพลง มาร์ชศรีสุวิช ให้กับโรงเรียนศรีสุวิช และเพลงมาร์ชพระหฤทัย ให้กับโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ อีกด้วย
โรงเรียนในเครือ แก้ไข
ชื่อเสียงและรางวัลที่ทางโรงเรียนได้รับ แก้ไข
- ปี พ.ศ. 2531 ได้รับรางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการคือ รางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง และรางวัลจริยธรรมดีเด่น
- ปี พ.ศ. 2540 ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนาให้เป็น สถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น
- ปี พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลจากกระทรวงศึกษาธิการคือ รางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ และซิสเตอร์สมพิศ กตัญญู (ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการโรงเรียน) ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่นจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และเข็มทองคุรุสภา จากคุรุสภา
- ปี พ.ศ. 2544 ได้รับเกียรติคุณบัตรจากกรุงเทพมหานครให้เป็น สถานศึกษาน่ามอง ในโครงการหน้าบ้านน่ามอง และได้รับรางวัล สถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น ประจำปี 2544 จากกรมการศาสนา
- ปี พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนรับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ และได้รับป้ายพระราชทานโครงการพฤกษศาสตร์โรงเรียน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และได้รับรางวัลเหรียญทองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จากกรมอนามัย และได้รับรางวัลพระราชทานพฤกษานคราเหรียญเชิดชูเกียรติ รางวัลอันดับที่ 1 ระดับหน้าบ้านหน้ามอง ประเภทสวนสวยโรงเรียนงาม ในโครงการแมกไม้มิ่งเมือง
- ปี พ.ศ. 2546 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเขต ประเภทหน่วยงานเอกชน ในการประกวดประดับธงชาติจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรางวัลชนะเลิศ สาขากิจกรรมส่งเสริมยอดนักอ่านระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการรักการอ่าน สานสู่ฝัน เนื่องในปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ
- ปี พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการนิยมไทยดีเด่น จากสมาคมนิยมไทย และได้รับพระราชทานรางวัลโล่เกียรติคุณ สัญญา ธรรมศึกดิ์ ในโครงการเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่สร้างคนดีให้สังคมฯ
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้ไข
- มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช - นักแสดง/ผู้จัดละคร
- ยุวดี เรืองฉาย - นักแสดง/พิธีกร/หมอดู
- ณัฐกานต์ ประสพสายพรกุล - นักร้อง/พิธีกร/เภสัชกร
- รฐา โพธิ์งาม - นักร้อง/นักแสดง/นักแต่งเพลง
- นันทวรรณ ธรรมรักษ์ - พิธีกร
- วรรณิศา จิตร์มงคลสุข - นักร้อง เพลงวิลิศมาหรา (India) อัลบั้ม World
- อิสรีย์ นำพาเจริญ - นักร้อง
- กุศลิน โควหกุล - นักร้อง
- แซนดร้า แมฟโร - นักร้อง
- พัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์ - นางแบบ/นักแสดง
- วรรณิศร เลาหมนตรี - พิธีกร/นักแสดง ปัจจุบันเป็นแอร์โฮสเตสการบินไทย
- อริสรา ทองบริสุทธิ์ - นักแสดง/นักร้อง
- จรินทร์พร จุนเกียรติ - นักแสดง/พิธีกร
- ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ - นักแสดง/นางแบบ
- อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา - นักแสดง
- ณัฐหทัย แสงเพชร - นักร้อง วง am fine
- ลักษณ์นารา เปี้ยทา - นักแสดง
- กันยรินทร์ นิธินพรัศม์ - นักแสดง/ดีเจ
- จันษกร กิตติวัฒนากร - นักร้อง/นักแสดง/พิธีกร
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- เว็บไซต์ของโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′05″N 100°33′26″E / 13.718134°N 100.557271°E