โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา (หญิงล้วน) ขนาดใหญ่ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยดำริของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยซื้อที่ดินจากมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนเนื้อที่ 12 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ก่อตั้งวันที่ 20 สิงหาคม 2504 ณ เลขที่ 186 ซอยสุขุมวิท 22 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี Sai Nam Peung School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
![]() | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.น. S.N. |
ประเภท | รัฐบาล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
คำขวัญ | ปญฺญาโลกสฺมิปชฺโชโต |
สถาปนา | พ.ศ. 2504 (62 ปี) |
สี | น้ำตาล - เหลือง |
ต้นไม้ | ต้นสายน้ำผึ้ง |
เว็บไซต์ | http://www.sainampeung.ac.th |
ประวัติ แก้
- ผู้เริ่มจัดตั้ง : ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
- วันทำสัญญาซื้อที่ดิน : วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
- วันเกิดโรงเรียน ( วันวางศิลาฤกษ์อาคาร ๑ ) : วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
- วันที่เปิดทำการสอนวันแรก : วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
- ขนาดที่ดิน : 12 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา
- พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธเบญจวีสติมมหามงคล
- สัญลักษณ์โรงเรียน : ตราพระราชทานมงกุฎในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
- คติพจน์ : ปณฺญาโลกสมิปชโชโต
- ปีการศึกษา ๒๕๐๔ เป็นปีการศึกษาแรกที่รับนักเรียน โดยมี นางสาวบุญส่ง วรรธนะสาร ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง มีนักเรียนจำนวน ๘๐ คน ครู-อาจารย์ ๑๐ คน
- พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๗ ได้งบประมาณ สร้างอาคาร ๑, ๒ และโรงอาหาร
- พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้งบประมาณสร้างอาคาร ๓
- พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร ๔
- พ.ศ. ๒๕๑๕ สมเด็จเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ทรง มีพระเมตตารับโรงเรียนสายน้ำผึ้งไว้ในพระอุปถัมภ์ และเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพีธีพระราชทานประกาศนียบัตร และพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนเป็นประจำทุกปี
- พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๓๘ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง พัฒนาอาคารสถานที่ และพัฒนาการเรียนการสอนจนได้รับยกย่อง และการยอมรับจากทั้งวงการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างมาก
- พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์
- พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒ พัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมทั้งการบริหารและวิชาการ สร้างอาคารกีฬาในร่ม และโรงอาหาร
- พ.ศ. ๒๕๓๓ ปรับปรุงบริเวณหน้าเสาธง หน้าอาคารเรียน ๔ และสนามบาสเกตบอล
- พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๘ - เพิ่มจำนวนห้องเรียนเป็น ๗๘ ห้องเรียน จำนวนนักเรียน ๓,๕๑๖ คน
- สร้างอาคารเรียน ๗ ชั้น และบ้านพักภารโรง ๔ ชั้น ๒๔ หน่วย จำนวน ๑ หลัง - ปรับปรุงน้ำพุในสระหน้าพระพุทธรูปประจำหน้าโรงเรียนจัดมุมน้ำตกข้างอาคาร อเนกประสงค์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสมาคมศิษย์เก่า และมูลนิธิพลเอกวิโรจน์-คุณหญิงลักขณา แสงสนิท
- พ.ศ. ๒๕๔๓ - ปรับปรุงห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ โดยทำฝ้าเพดาน ปูพื้น พร้อมติดตั้งม่านเวทีใหม่
- ปรับปรุงบริเวณหน้าเสาธง หน้าอาคารเรียน ๔ และสนามบาสเกตบอล - จัดทำห้องศูนย์การเรียนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับได้รับเงินสนับสนุน จากคุณศรีรัตนา สิทธิโชค เป็นเงินจำนวน ๑,๐๗๐,๐๐๐.- (หนึ่งล้านเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) - ได้รับการปรับปรุงและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานของชาติ สนับสนุนโดยโครงการอาคารของรัฐ กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เดือนมกราคม ๒๕๔๔
- พ.ศ. ๒๕๔๗-ปัจจุบัน - ปรับปรุงห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ทำเพดานหลังคาและติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ทั้งหมด
- ปรับปรุงยกพื้นภายในโรงเรียน - จัดทำหน้าประตูโรงเรียนใหม่ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ปีการศึกษา ๒๕๔๗) ร่วมกับโรงเรียน - ปรับปรุงพื้นห้องประชุมโสตทัศนศึกษาและห้องน้ำหน้าห้องประชุมและห้องน้ำที่อาคาร ๔ - จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรียนให้สวยงามโดยจัดทำสวนหย่อมรอบๆ บริเวณโรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหาร แก้
ลำดับที่ | ชื่อ-นามสกุล | ระยะเวลา |
---|---|---|
๑ | นางสาวบุญส่ง วรรธนะสาร | พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๒๐ |
๒ | นางเยาวรินทร์ จันทนมัฏฐะ | พ.ศ. ๒๕๒๐- ๒๕๒๗ |
๓ | นางอาภรณ์ สาครินทร์ | พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ |
๔ | คุณหญิงลักขณา แสงสนิท | พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๓ |
๕ | นางเพ็ญศรี ไพรินทร์ | พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๖ |
๖ | นางสุมาลี รัตนปราการ | พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๙ |
๗ | นางหัทยา คงกะพัน | พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๒ |
๘ | นางกรองทอง ด้วงสงค์ | พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๔ |
๙ | นางสาาวอรุณี นาคทัต | พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๗ |
๑๐ | นางรัชนี ตั๊นประเสริฐ | พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๙ |
๑๑ | นางฎาทกาญจน์ อุสตัส | พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓ |
๑๒ | นางวรรณดี นาคสุขปาน | พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๙ |
๑๓ | ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ | พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๒ |
๑๔ | นายณรงค์ศักดิ์ รักพร้า | พ.ศ. ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน |
ดารานักแสดงที่จบจากสายน้ำผึ้ง แก้
- พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย (ติ๋ม ทีวีพูล) นักธุรกิจชาวไทย ผู้จัดรายการข่าวบันเทิง ทางช่อง YouTube:TVPOOL OFFICIAL
- สโรชา วาทิตตพันธ์ (เต๋า) นักแสดง นางแบบชาวไทย
- พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร (พิม) ปี 2553 รางวัลดาราสนับสนุนหญิงดีเด่นจากละครเรื่องชิงชัง จากงานรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 24
- สิริยากร พุกกะเวส (อุ้ม) รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 10 สาขา นักแสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละครเรื่อง ร่มฉัตร (ช่อง 3)(2538)
- ศิรินทิพย์ หาญประดิษฐ์ (โรส) โรสได้รับรางวัลร้องเพลงรางวัลประกวดชนะเลิศ การประกวดร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสประจำปีที่เซนต์จอห์น (St. John) จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในตอนมัธยมปลาย และเคยได้รับรางวัลสีสันอวอร์ดสครั้งที่ 17 ในสาขาศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม Time Machine ปี 2548 นอกจากนั้นโรสยังทำหน้าที่เป็นคอรัสและไกด์เพลงให้กับศิลปินคนอื่นๆ ในวงการดนตรีอีกมากมาย และโรสยังสามรถเล่นกีตาร์ เปียโน เบส และกลอง
- สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์ (ปีใหม่) นักแสดง นางแบบ
- มชณต สุวรรณมาศ (หลิน) นางแบบ
- พรรณปพร ศรีดุรงคธรรมพ์ (สแพน) ถ่ายแบบ โฆษณา
- กชกร ส่งแสงเติม (กุ๊กกิ๊ก) นักแสดงช่อง 7
- ภัณฑิลา ฟูกลิ่น <ชื่อเดิม หทัยรัตน์ ฟูกลิ่น> (แอร์) ดารานักแสดง พิธีกร
- เบญญาภา อุ่นจิตร (ตาออม) ศิลปิน วง โฟร์อีฟ ค่าย เอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์
- อิสรีย์ อิสระวรางกูร (แพนเค้ก) ศิลปิน นักร้องนำวง Yes indeed
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′38″N 100°33′53″E / 13.727246°N 100.564663°E