สถานีสายลวด (อังกฤษ: Sai Luat station; รหัส: E22) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทส่วนต่อขยายแบริ่ง–สมุทรปราการ[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกโค้งโพธิ์ ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[2][3]

สายลวด
E22

Sai Luat
ชานชาลาสถานีฯ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสุขุมวิท อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
พิกัด13°34′39″N 100°36′19″E / 13.57750°N 100.60528°E / 13.57750; 100.60528
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีE22
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ6 ธันวาคม พ.ศ. 2561; 5 ปีก่อน (2561-12-06)
ผู้โดยสาร
2564280,772
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
แพรกษา
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท เคหะฯ
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

ที่ตั้ง

แก้

ถนนสุขุมวิท บริเวณปากซอยเทศบาลบางปู 43 ใกล้ทางแยกสายลวด ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

แผนผังของสถานี

แก้
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สถานีปลายทาง)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (แพรกษา)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยเทศบาลบางปู 43

รูปแบบสถานี

แก้

กว้าง 22.6 เมตร ยาว 150 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า-ออก

แก้
  • 1 ซอยเทศบาลบางปู 43 (ลิฟต์)
  • 2 บริษัท ศิริวัฒนา มอเตอร์ไบค์ จำกัด, ที่ทำการไปรษณีย์ (ลิฟต์)
  • 3 ซอยเทศบาลบางปู 43 (บันไดเลื่อน)
  • 4 ถนนสายลวด, สถานีบริการน้ำมันบางจาก (บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 และทางออก 4 บริเวณสถานีบริการน้ำมันบางจาก

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

ลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

เวลาให้บริการ

แก้
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[4]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.29 00.46
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.17 23.17
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 23.32
E15 สำโรง 00.02

รถโดยสารประจำทาง

แก้

หมายเหตุ ไม่มีป้ายรถโดยสารประจำทางหยุดรับ-ส่ง ที่อยู่ใกล้บริเวณสถานี ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย 25 145

สัญลักษณ์ของสถานี

แก้

เดิมกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเสาโทรเลข สื่อถึงถนนที่มีงานโทรเลขเกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดสมุทรปราการ[5][6] แต่ปัจจุบันเน้นใช้สีเขียวอ่อน ตกแต่งรั้วและเสา บริเวณสถานี ชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายบอกทางและทางเข้าออกสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีด้านตะวันออก

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Green Line route opens Dec 6". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  2. "BTS Green Line's nine new stations to Samut Prakan now open to public". bk.asia-city.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  3. "BTS skytrain extension to open Thursday, free rides through new stations for 4 months | Coconuts Bangkok". 3 December 2018.
  4. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  5. เอกสารประกอบการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชน ครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียดโครงการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมแกรนด์ อินคำ จ.สมุทรปราการ
  6. สัญลักษณ์ประจำสถานี ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ , สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562