เกาะกง (เขมร: កោះកុង) เดิมไทยเรียก ปัจจันตคิรีเขตร[2] บ้างสะกดว่า ปัตจันตคีรีเขตร์ หรือ ประจันต์คิรีเขตต์[3] เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ทิศเหนือติดกับจังหวัดโพธิสัตว์ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดกำปงสปือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดพระสีหนุ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดตราดของประเทศไทย และทิศใต้ติดกับอ่าวไทย

จังหวัดเกาะกง

ខេត្តកោះកុង
เรือประมงในอ่าวไทย
เรือประมงในอ่าวไทย
แผนที่ของจังหวัดเกาะกง
แผนที่ของจังหวัดเกาะกง
พิกัด: 11°23′57″N 103°29′41″E / 11.39917°N 103.49472°E / 11.39917; 103.49472พิกัดภูมิศาสตร์: 11°23′57″N 103°29′41″E / 11.39917°N 103.49472°E / 11.39917; 103.49472
ประเทศธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
เมืองหลักเขมรภูมินทร์
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการมิถุนา ภู่ทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด11,160 ตร.กม. (4,310 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2551)[1]
 • ทั้งหมด139,722 คน
 • ความหนาแน่น13 คน/ตร.กม. (32 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07
รหัสโทรศัพท์+855
รหัส ISO 3166KH-9
อำเภอ8
ตำบล33
หมู่บ้าน133

จังหวัดเกาะกงมีเมืองหลักคือเมืองเขมรภูมินทร์[4] ซึ่งได้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้พระราชทานนาม[5] แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียก ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเรียกเมืองหลักนี้ว่า "กรุง (เมือง) เกาะกง"[6] (ក្រុងកោះកុង)

ประวัติ แก้

ชาวเกาะกงทั้งที่มีเชื้อสายเขมรและไทยเรียกเมืองหลักนี้ว่า เกาะกง ซึ่งทั้งคำว่าเกาะและกงมีความหมายตรงตัวว่า "เกาะ" ต่อมาเมื่อช่วงที่เกาะกงอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงสยาม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามเมืองแห่งนี้ว่า ปัจจันตคิรีเขตร[2] ซึ่งมีความหมายว่า "ปลายเขตแดนที่ภูเขา" และตั้งนามเมืองให้คล้องกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ (เดิมชื่อ บางนางรมย์) ซึ่งเมืองทั้งสองตั้งอยู่ในแนวรุ้งเดียวกัน[7] ดังปรากฏไว้ความว่า[8]

"...ขุนสารประเสริฐรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ สั่งว่า เมืองบางนางรมย์นั้นโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเมืองประจวบคีรีขันธ์ กับที่เกาะกงนั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เมืองปัจจันตคิรีเขตร ให้กรมวัง หมายไปยังกรมพระกลาโหม กรมท่า กรมพระศุภรัต สัสดีซ้ายขวา ให้เรียกชื่อเมืองทั้ง ๒ ให้ถูกตามแบบรับสั่ง"

แต่เดิมที่ทำการเมืองเกาะกงตั้งอยู่ที่เกาะเสก็ดและขึ้นต่อจังหวัดกำปอต ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการสร้างที่ทำการเมืองใหม่ที่เสาธงแล้วเสร็จ จึงได้แยกเกาะกงออกมาตั้งเป็นจังหวัดใหม่[6]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

จังหวัดเกาะกงแบ่งเป็น 7 อำเภอ (สฺรุก) 33 ตำบล และ 131 หมู่บ้าน เกาะกงถือเป็นจังหวัดขนาดเล็กที่มีประชากรอาศัยอยู่ 23,168 หลังคาเรือน และมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 132,106 คน

รหัสเมือง ชื่อเมือง
(ภาษาเขมร)
เขียนด้วยอักษรไทย เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อภาษาไทย
0901 បទុមសាគរ ปทุมสาคร Botum Sakor
0902 គីរីសាគរ คีรีสาคร Kiri Sakor
0903 កោះកុង เกาะกง Kaoh Kong
0904 ស្មាច់មានជ័យ เขมรภูมินทร์ (ชื่อเดิม สมัจเมียนเจ็ย (สมฺจมานชัย)) Khemarat Phoumin (Smach Mean Chey) เสาธง
0905 មណ្ឌលសីម៉ា มณฑลสีมา Mondol Seima ปากคลอง
0906 ស្រែអំបិល แซฺรอ็อมบิล (แสฺรอํบิล) Srae Ambel นาเกลือ[9]
0907 ថ្មបាំង ทมอบัง (ถฺมบำงฺ) Thmar Bang หินบัง[10]

ประชากร แก้

จังหวัดเกาะกงมีประชากรทั้งหมดประมาณ 132,106 คน (สถิติปี พ.ศ. 2541) ความหนาแน่นของประชากร 11.8 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยประชากรส่วนใหญ่]ร้อยละ 75 เป็นชาวเขมร ที่เหลือร้อยละ 25 เป็นชาวไทยเกาะกง สำหรับเมืองหลักที่มีชาวเกาะกงอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 22 ของประชากรทั้งหมดคือ สมัคเมียนเจย ส่วนประชากรอีกร้อยละ 75 ไม่ใช่ชาวพื้นเมืองเกาะกง แต่ย้ายมาจากจังหวัดอื่น ๆ ของกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเข้ามาหางานที่ดีกว่าทำที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

คนเชื้อสายไทยในเกาะกงส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตามคลองและลุ่มแม่น้ำ เช่น ลุ่มแม่น้ำเกาะปอ, แม่น้ำครางครืน, แม่น้ำตาไต, แม่น้ำบางกระสอบ, แม่น้ำตะปังรุง, แม่น้ำคลองพิพาท, อ่าวเกาะกะปิ, คลองแพรกกษัตริย์, อ่าวยายแสน, อ่าวพลีมาศ, อาหนี และอาจเลยไปถึงนาเกลือ[11]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง นอกจากนี้คือธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากที่ตั้งอยู่ในเกาะกงซึ่งมีสวัสดิการที่ดีและมีความมั่นคงทางอาชีพสูง[12]

อ้างอิง แก้

  1. "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning. 3 September 2008.
  2. 2.0 2.1 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ:บ้านพระอาทิตย์, 2551. หน้า 35
  3. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 37
  4. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ:บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 23
  5. นิติภูมิ นวรัตน์. เขตร์เขมรัฐภูมินทร์. ในเปิดฟ้าส่องโลก, 17 สิงหาคม 2543. เรียกดูเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556
  6. 6.0 6.1 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 86
  7. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 23
  8. ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2400. พระนคร : องค์การการค้าของคุรุสภา, 2503, หน้า 37
  9. จังหวัดเกาะกง[ลิงก์เสีย]
  10. ประโยชน์ โยธาภิรมย์. ปัตจันตคีรีเขตร์เกาะกง เมืองแห่งความหลัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551, หน้า 18
  11. สามก๊กวิว. การพลัดถิ่นของคนเชื้อสายไทยจากเกาะกงสู่ประเทศไทยในยุคเขมรแดง เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรีกยดูเมื่อ 12 มีนาคม 2556
  12. "แรงงานกัมพูชาทะลักทำงานในตราด หลังค่าแรงงานวันละ 300 บาท" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 9 มกราคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้