มิถุนา ภู่ทอง
มิถุนา ภู่ทอง (เขมร: មិថុនា ភូថង, มิถุนา ภูทง) เป็นนักการเมืองหญิงชาวกัมพูชา ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกงตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ถือเป็นผู้ราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศกัมพูชา[3][4] เธอเป็นบุตรสาวของยุทธ ภู่ทอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดไพรแวงและจังหวัดเกาะกง[6][7] และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของใส่ ภู่ทอง นักการเมือง นักการทหาร และนักปฏิวัติของกัมพูชา[3][4]
มิถุนา ภู่ทอง | |
---|---|
ผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 19 มิถุนายน 2560[3][4] | |
นายกรัฐมนตรี | ฮุน เซน |
ก่อนหน้า | บุญเลิศ พราหมณ์เกษร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
พรรคการเมือง | ประชาชนกัมพูชา |
บุพการี | |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี[2] วิทยาลัยการทัพบกสหรัฐ[6][7] |
ประวัติ แก้
มิถุนา ภู่ทอง เกิดในครอบครัวเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง[6][7] เป็นบุตรสาวจากบุตรทั้งหมดสี่คนของยุทธ ภู่ทอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดไพรแวง[8] และจังหวัดเกาะกง[6] กับสมศรี ภู่ทอง[5] และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของใส่ ภู่ทอง นักการเมือง นักการทหาร และนักปฏิวัติของกัมพูชา[3][4] มิถุนาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย[2] และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการทัพบกสหรัฐ สหรัฐ[6][7] ด้านชีวิตส่วนตัว เธอสมรสและมีบุตรแล้ว[4]
การทำงาน แก้
หลังสำเร็จการศึกษา มิถุนาได้กลับมาช่วยงานของบิดาที่เกาะกง แล้วได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาจังหวัดเกาะกง หลังจากนั้นเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกงช่วงกลาง พ.ศ. 2559[3] คู่กับไพฑูรย์ พราหมณ์เกษร ซึ่งเป็นชาวไทยเกาะกงเช่นกัน[6][7] กระทั่งการเลือกตั้งท้องถิ่นใน พ.ศ. 2560 มิถุนาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะกง ถือเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นเพศหญิงคนแรก และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งในขณะนั้นเธอมีอายุได้ 38 ปี[3][4] ชำ บุนเทต นักวิเคราะห์การเมืองชาวจังหวัดเกาะกงแสดงความเห็นว่า "[การขึ้นดำรงตำแหน่งของมิถุนา] สร้างความหวังมากมายให้กับชาวเกาะกง"[3]
ในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง มีนโยบายพัฒนาจังหวัดเกาะกง ด้วยการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการของประชาชน ได้แก่ การก่อสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ สร้างสวนสาธารณะใหม่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน และวัด เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนมาลงทุนในจังหวัดเกาะกงมากขึ้น สอดคล้องกับสมญานามของเกาะกง คือ ดวงดาวแห่งทิศหรดี[4] อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการค้าและการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน[2][9]
อ้างอิง แก้
- ↑ ปิยวิทย์ ทรัพย์ขจร และสุนทรี ทับมาโนช (3 ธันวาคม 2562). "จังหวัดตราด จังหวัดเกาะกง หารือร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกัน". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (3 สิงหาคม 2565). "ปั่นร้อยใจ ไทย-เกาะกง มิตรภาพ ผ่าน 'โลว์คาร์บอน'". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Aun Pheap (19 June 2017). "Provincial Governor Changes Draw Praise, Disappointment". The Cambodia Daily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Nov Sivutha (3 March 2022). "Koh Kong governor Mithona Phuthong on her building boom and famous grandfather". The Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 197
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "เปิดวาร์ป ผู้ว่าหญิงเขมร สายคลองใหญ่". คมชัดลึก. 13 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "ชัวร์หรือมั่ว จีนยึดเกาะกง ถาม 'มิถุนา ภูทอง'". คมชัดลึก. 13 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 193
- ↑ ปิยวิทย์ ทรัพย์ขจร และวรรณวิไล สนิทผล (8 พฤศจิกายน 2562). "จ.ตราด ประสานความร่วมมือ จ.เกาะกง พัฒนาการค้าชายแดน การท่องเที่ยว ร่วมสร้างความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ให้ก้าวหน้า ยั่งยืน". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)